วันอังคารที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2556

รู้จักพื้นฐานอะไรกำหนดมูลค่าของหุ้น พฤติกรรม ของราคากับมูลค่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร


รู้จักพื้นฐานอะไรกำหนดมูลค่าของหุ้น พฤติกรรม ของราคากับมูลค่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร

ว่าจะเขียนเรื่องการวิเคราะห์พื้นฐานมาหลายวันแล้วยังไม่มีเวลาทำรูปทำโพสดีๆลงในบล๊อกเลย ทิ้งไว้นานเห็นจะไม่ได้เขียนสักทีวันนี้เลยมาเขียนลงในนี้ก่อน มีเวลาค่อยรวบรวมลงบล๊อกไว้เป็นบทๆอีกทีครับ

ในการจะพูดถึงพื้นฐานของหุ้น ขอตัดตัวแปลยิบย่อยมากมายอื่นๆออกให้หมดก่อนเพื่อให้เกิดความง่ายในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐานของหุ้นเบื้องต้นกันก่อนนะครับ ตัวแปลหลักๆของวงจร มูลค่าหุ้น มีอยู่ 4 ตัวหลักคือ

1 ราคาพาร์
2 มูลค่าตามบัญชี
3 มูลค่าที่แท้จริงในอนาคต
4 ราคาตลาด

   
ทั้ง 4 ตัวนี้มันเกี่ยวข้องสัมพันกันอย่างไร ผมจะอธิบายพอสังเขปนะครับเริ่มที่ตัวแรก

1 ราคาพาร์ เป็นราคาหุ้นตอนที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาด ว่าจะให้มูลค่าเท่าไหร่ พาร์ 100บาท พาร์ 10บาท หรือพาร์ บาทเดียวเป็นต้น พอเอาเข้ามาขายจะขายได้เท่าไหร่อันนั้นก็แล้วแต่อีกที เช่น ถ้าพาร์ 1 บาท ถ้าเอาเข้ามาขายในตลาด อาจจะได้3 บาทซึ่งก็แล้วแต่ว่าเห็นว่าเป็นหุ้นน่าสนใจแค่ไหนเป็นต้น และเงินที่ได้จากส่วนนี้ จะไปรวมกันเป็น ส่วนที่ 2 มูลค่าตามบัญชี

2 มูลค่าตามบัญชี นี้สำคัญยังไง คำตอบก็คือ มันจะถูก ceo นำไปใช้ในการดำเนินกิจการของบริษัท เช่นไปสร้างโรงงานใหม่ จ้างคนเพิ่ม หรือแม้แต่เอาไปซื้อบริษัทอื่น ตรงส่วนนี้ ถ้าคนบริหารจัดการมีฝีมือ เขาก็จะทำให้บริษัทมีกำไร พอบริษัท มีกำไร(net profit) เขาก็จะเอาไปจ่ายปันผล หรือลงทุนขยายงานเพิ่ม (ซึ่งมีผลต่อมูลค่าในอนาคตของบริษัท) เมื่อจ่ายปันผลหรือขยายงานเพิ่ม แล้วเงินยังเหลือ ก็จะเอาไปรวมเก็บไว้ที่ มูลค่าตามบัญชีนี้เพิ่ม เมื่อมูลค่าตามบัญชีเพิ่ม ก็แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการดำเนินงานของบริษัทนั้นเอง ยิ่งเงินส่วนนี้เพิ่ม มูลค่าที่แท้จริงของบริษัทก็จะเพิ่มไปด้วย เห็นความสัมพันธ์กันแล้วใช่ไหมครับ

3 มูลค่าที่แท้จริง ตัวเลขนี้อย่างที่บอกในข้อ 2 ว่าเป็นผลลัพธ์ มาจากการดำเนินงานของบริษัท ceo เก่ง มูลค่าตรงนี้ก็จะเพิ่มได้มากตามข้อ 2 มูลค่าที่แท้จริงในอนคตนี้ จะเพิ่มมากเพิ่มน้อย มันต้องใช้การคำนวนที่ซับซ้อนขึ้น ซึ่งผมจะว่าต่อไปในโพสหน้า ตัวเลขมูลค่าที่แท้จริงนี้ แต่ละท่านจะคำนวนได้ไม่เท่ากัน เพราะมันมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับการคาดหวังของนักลงทุนแต่ละคน ซึ่งไม่มีทางที่จะเท่ากัน เช่น บางท่านอาจจะเห็นว่าควรให้การเติบโต เป็น7 % จากปีก่อน บางท่านเห็นว่าควรให้เป็น 10 % ดังนั้นมูลค่าจริงในอนคตที่ได้จึงไม่เท่ากัน ของใครถูกต้องใกล้เคียง อันนี้แล้วแต่กึ๋น ทางธุรกิจ การอ่านเกม การมีข้อมูลว่าใครลึกกว่ากัน ในการหามูลค่าที่แท้จริงนี้จะมีตัวเลขอีกหลายตัวที่เราหาได้จากในงบการเงิน เอามาประกอบ เอาไว้ว่ากันคราวหน้านะครับ

4 สุดท้ายก็คือ ราคาตลาดก็คือราคาหุ้นที่วิ่งขึ้นวิ่งลงทุกวันนี้ ที่เราเคาะซื้อขายกันนี่แหละครับ ราคาตลาดมักจะผันผวนขึ้นลงตามอารมณ์ วันนี้ตลาดกลัว ราคาอาจจะลงต่ำ วันต่อมาตลาดกล้า ราคาอาจจะขึ้นสูง แต่ตามที่โคตรเซียนทานว่าไว้ ราคาในข้อ 4 นี้ สุดท้ายยังไงมันก็จะวิ่งไปหา มูลค่าในข้อ 3 แล้วมันก็เกิดจริงอย่างงั้นมาตลอดครับ ราคาข้อ 4 บางท่านบอกว่าไม่ต้องไปแตะ หรือไม่ต้องไปสนมัน แต่ส่วนนี้ผมกล้าบอกว่า เราใช้เทคนิคในการจัดการมันได้ ใช้ในการจัดการนะครับเน้นว่าไม่ได้ใช้ในการคาดการณ์ จนถึงตอนนี้ผมยังไม่เชื่อว่ามีเทคนิคไหนคาดการณ์ ราคาตลาดได้(เสียดายโพสในนี้ไม่มีให้ทำตัวหนา)

จะเห็นความสัมพันธ์ ของตัวแปรทั้ง 4 ตัวแล้วนะครับ 2 ข้อแรกเป็นตัวเลขที่เห็นจริงๆชัดๆได้ ซึ่งก็คือต้นทุนที่ให้ CEO นำไปบริหารจัดการ เมื่อ ceo จัดการได้ดี มูลค่าที่แท้จริงในอนาคตของบริษัทจะออกมา มูลค่าที่แท้จริงในอนาคตเราพอจะคาดการณ์ได้ ทั้งนี้ตัวแปลที่ทำให้เกิดความผิดพลาดในการคาดการณ์มูลค่าในอนาคตมันมี ตัวแปลหลักๆคือ สภาพเศรษฐกิจ หรือ ความสามารถของ CEO เองเป็นต้น

ส่วนตัวสุดท้ายคือราคาตลาดเราแทบเข้าไปคาดการณ์อะไรมันไม่ได้เลย(แต่อย่างที่บอกว่าเรามีวิธีการจัดการมันด้วยเทคนิคคอล) ทางเดี๋ยวที่ทำได้และมันก็ได้ผลมาตลอดคือ รอให้ราคาตลาด มันวิ่งเข้าหามูลค่าที่แท้จริงเท่านั้น

สรุปในโพสนี้จะชี้ให้เห็นว่าสิ่งที่เราจะมานั่งหากันในโพสต่อไปคือ มูลค่าที่แท้จริงในอนาคต มูลค่าที่แท้จริงในอนาคตนี้มีได้หลายตัวเลข อาจจะตามจำนวนปี และความคาดหวังในแต่ละปีนั้นๆ เราคิดตัวเลขออกมาแล้วมานั่งเช็คว่าเมื่อเวลานั้นมาถึง(การประกาศผลประกอบการแต่ละไตรมาส) CEO เขาทำได้ตามเป้าไหม ถ้าทำได้ตามเป้า หัวเด็ดตีนขาดยังไง ราคาตลาดก็จะวิ่งเข้าหามูลค่าที่แท้จริงเอง ในทางตรงกันข้าม ถ้าทำไม่ได้ตามเป้า มูลค่าที่แท้จริงก็จะเปลี่ยน ลดลง ราคาตลาดก็จะวิ่งไปหาเหมือนเดิมเช่นกัน

ในส่วนของบทต่อไป เราจะมาแกะ ว่าจะใช้ p/e ,p/bv ,กำไรต่อหุ้น หรือแม้แต่ใครจะหาราคาจากการปันผล เป็นมูลค่า ใน 3 ปี 5 ปี ข้างหน้าได้อย่างไร รวมถึงมาว่ากันว่า เมื่อมีข่าวว่าบริษัท ได้รับงานใหม่ มีกำไรเพิ่มเข้ามา กำไรที่ว่านั้นจะกระทบกับราคาหุ้นได้กี่บาทกี่สตางค์กันครับ

ไอเดียในการหามูลค่านี้ผมได้มาจากหนังสือ คำภีร์หุ้น ห่านทองคำ ของ อ เทพ , และ One Up On Wall Street ของ Peter Lynch เอามาย่อยรวมกัน ผมชื่นชอบในมุมมองของทั้งสองท่านในแง่การหามูลค่าหุ้น (แต่แอบค้อนที่ทั้งสองค่อนข้างปิดในเรื่องเทคนิคคอล โดยเฉพาะ ลุงลิน)

แนะนำหนังสือสำหรับคนเล่นหุ้น จากแมงเม่าใต่เต้าสู่เซียนหุ้น

ปกติผมจะไปเดินร้านหนังสือทบทุกอาทิตย์ เป็นสมาชิกร้านหลายๆที่ ทั้งที่หนังสือก็เหมือนๆกัน
หมด

วันนี้มีหนังสือที่ดูเผินๆ เหมือนเป็นหนังสือเกรียนหุ้ ที่วางขายกันเกลื่อนทั่วไป ผมเดินผ่านเล่มนี้หลายรอบแล้ว เห็นหน้าปกก็ได้แต่คิดว่าใครมันออกแบบปกได้เกรียนขนาดนี้

เนื่องจากมีหนังสือในสต๊อคที่อ่านจนถึงปีหน้าก็ยังไม่หมดเลยไม่ได้หยิบมาดูสักที วันนี้เนื่องจากต้องยืนรอนานเลยได้มีโอกาสหยิบมาเปิดอ่านเล่น ในร้านหนังสือนั้นเอง

 จากแมงเม่าใต่เต้าสู่เซียนหุ้น แวบแรกกวาดตาไปเห็นชื่อ "เสี่ยยักษ์" ชื่อนี้ได้ยินมานาน เปรียบว่าถ้าคุณเป็นนักเลงต้องเคยได้ยินชื่อ "กำนันเปาะ" ถ้าคุณสนใจหุ้นน่าจะเคยได้ยินชื่อเสี่ยยักษ์นี้บ้าง เปิดดูคร่าวๆ หนังสือพูดถึงประสพการณ์ของ เสี่ยยักษ์ในตลาดหุ้นไทย ที่เริ่มจากเงิน 2 ล้าน เล่นหุ้นปั่นเป็นหลัก จนเริ่มปรับตัวด้วยกลยุทธ์แบบ ที่ผมขอตั้งชื่อว่า "กลยุทธ์แบบกำนัน"

ด้วยการหาก๊วน สังเกตุพฤติกรรมตลาด หาข่าว วิเคราะห์พื้นฐานแบบเกาะติด รวมถึงใช้เทคนิคช่วยในการซื้อขาย พอร์ทแกเพิ่มจากน้อยกว่าสองล้าน (เพราะเคยเจ๊งกับหุ้นปั่นจากทุน 2ล้านสมัยเข้ามาเล่นใหม่ๆ) มาเป็นหุ้นพันล้านในปัจจุบั

   

คุณจะได้แรงบันดาลใจ ได้เรียนรู้ตลาดแบบพื้นบ้านไทยๆ ที่หาไม่ได้จากหนังสือเลือกข้างอื่นๆ(ผมถือว่าหนังสือที่บอกว่าตัวเองเป็นเทคนิคคอล ตัวเองเป็นวีไอ เป็นหนังสือเลือกข้าง และถ้าอ่านไม่ระวัง มันจะปิดปุ่มเรียนรู้ของเรา เราจะกลายเป็นเชื่อข้างที่อ่านซะจนยังไม่ทันศึกษาอีกด้านก็ตัดสินว่ามันกาก ไปแล้ว)

ผมจึงเอามาแนะนำใครที่ยังไม่ได้อ่าน มีเวลาลองไปเดินหยิบกลับบ้านมาสักเล่ม หนังสือเล่มนี้ขายหน้าละไม่ถึงบาท ถ้าตั้งใจอ่านดีๆ มูลค่าพื้นฐานมันสูงกว่านั้นเยอะ

ส่งท้าย ฝากไว้นิดหนึ่ง ว่าศาสตราจารย์ หรือ กำนัน ไม่ว่าเราจะมองเขาด้านไหน ประสบการณ์ของเขาเหล่านั้นที่ผ่านมามีประโยชน์หมด อย่าให้อคติ มาขวางกั้นเรากับความรู้เหล่านั้นครับ