วันเสาร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2556

ดูตัวอย่างการใช้งาน Elliott wave ร่วมกับ MACD ที่กราฟทองคำกันครับ

จากโพสก่อนหน้า เรื่อง Elliott wave มีจริงหรือ ผมจะยกตัวอย่างที่ทอง เราจะตีความสิ่งที่ได้มาจากกราฟยังไง จะเอาเวฟ กับ macd มาใช้ร่วมกันยังไง ถ้าอ่านโพสก่อนหน้านั้น จะเห็นภาพเลยที่นี้นะครับ

เริ่มแรกเราต้องเข้าใจก่อนว่าตัวเราดูกราฟ ขนาดเท่าไหร่ อันนี้เป็นกราฟ ชั่วโมง แน่นอนว่าถ้าเราดูในไทม์เฟรมที่เร็วกว่านี้มันจะมีเทรนด์ย่อยๆอีกเยอะ ซึ่งถ้าเราเล่นไทมเฟรมนี้ เราจำเป็นต้องมีเงิน cover การแกว่ง ของเทรนด์ย่อยในนี้อีก ยิ่งถ้าใครเล่นแบบฟอร์เร็ก คุณ จะรู้ดีว่าเล่นไทม์เฟรมใหญ่เงินหน้าตักต้องกว้างกว่า ไทมเฟรมเล็ก เพราะการแกว่งของราคามันจะเยอะกว่า อาจจะโดนกระชากหลุด เงินหน้าตักหมดได้

   
เข้าเรื่องที่ทอง ตัวอย่างนี้จะเป็นส่วนที่ทำกรอบแรเงาไว้นั้นนะครับ เวฟ v นั้นคือเวฟที่ 5 จากบทความที่แล้วก็คือเวฟที่ 5 เป็นช่วงที่คนสงสัยว่ามันจะไปต่อไหม สังเกตุดู macd มันลดลงเรื่อยๆตั้งแต่ iii แล้ว นั้นคือคนเริ่มจะดูเฉยๆเป็นหลัก จะด้วยมันขึ้นมาประมานหนึ่งแล้ว หรือใกล้แนวต้านหลักๆแล้วก็แล้วแต่

ประเด็นคือให้สังเกตุ macd เจ้า macd นี้พ่อแม่ต้นกำเนิดของเขาก็คือ ค่าเฉลี่ย นั้นเอง เอาไว้ดูว่า มีการไล่ราคาขึ้นเร็ว หรือช้า แค่ไหนเมื่อเทียบกว่าช่วงอดีต

หลังจากที่ v เริ่มมีความคลุมเครือ ว่าจะขึ้นไปต่ออีกไหม มันก็จะเป็นการเริ่มทำ เวฟ 1 ของขาลง เจ้าเวฟ 1 ของขาลงลงมาถึง เส้นfibo 161.8% เส้นนี้มีประวัติยังไงลองไปดู กราฟเดิมที่ผมตีของทอง ตรงนั้นจะเขียนไว้เยอะ มันยาวเอามาว่าที่นี้ เดี๋ยวจะได้น้ำไปซะมาก

เวฟ 1 กับ v คือช่วงที่คนคลุมเครือว่ามันจะขึ้นหรือลง จุดสังเกตุ จุดวัดจะเป็นแนวรับแนวต้านสำคัญๆ พอหลุดแล้วจะเป็นการคอนเฟิร์มเทรนด์ หรือเป็นการ ชัดเจนในทิศทาง

เราจึงเห็นว่า จากที่เด้ง ไป 2 แล้วลงมา 3 ลงแรงและเร็ว พุ่ง เพราะว่ามีความชัดเจนว่าจะลงแล้ว คนไล่ซื้อในราคาที่แพงกว่านั้นไม่ได้แล้ว(ในช่วงเวลานั้นนะ)

ทีนี้ดูตรงเด้งจาก 3-4 ตรงนี้เป็นจุดที่เริ่มต้นเข้าสูความคลุมเครืออีกครั้ง คือ ไม่แน่ใจว่าจะลงไปกว่านี้อีกไหม แต่ดู macd ซึ่งแสดงถึงความอยากขายในช่วงที่ผ่านมาก่อนหน้า ถ้าไม่มีปัจจัยพิเศษ จริงๆ macd พุ่งแบบนี้ โอกาสที่คนจะมั่นใจว่า จะกลับตัวเป็นขึ้นต่อเลย มีน้อยกว่าที่ จะลงมาเพื่อเทสอย่างน้อยที่ เวฟ 3 อีกสักทีเพื่อให้มั่นใจว่า ที่ราคาต่ำกว่านี้ คนไม่ค่อยขายกันแล้ว

ในขาขึ้น ถ้าที่ยอดก่อนหน้านั้น คนซื้อแรง ราคาไล่ขึ้นไปเร็ว ทำให้ macd พุ่ง ถ้าราคาย่อลง มันมักจะเด้ง ขึ้นไปอีกครั้ง เพื่อไปทดสอบว่า ที่ราคาสูงกว่านี้ ยังมีคนอยากซื้อไหม ถ้าคนไม่อยากซื้อในราคาที่สูงกว่านี้ ราคามันก็จะขึ้นช้าๆ ไม่แรงเหมือนตอนก่อนหน้านี้ใช่ไหมครับ ความแรงที่น้อยลงนี้แหละ เป็นการส่งสัญญานการกลับตัว

ในขาลง ถ้ามีการพุ่งลงแรงๆ ราคาไล่ลงเร็วต่อเนื่อง macd ก็จะลงลึก เมื่อมีการเด้ง มันมักจะลงต่อเพื่อมาเทสว่า ที่ราคาต่ำกว่าโลว์ก่อนหน้านี้ยังมีคนอยากขายไหม เหมือนกับ ขาขึ้นแต่กลับหัวกัน

นี้เป็นตัวอย่างหนึ่งที่เราจะเอาไว้ดูว่าคนอื่นคิดกันยังไง จากข้อมูลที่ได้จากกราฟ แต่ต้องหมายเหตุตัวโตๆนะว่าดูไทม์เฟรมไหนต้องตัดสินในช่วงของไทม์เฟรมนั้น เพราะ indicator ส่วนมากมันสร้างมาจาก ค่าเฉลี่ย ของแท่งเทียนในแต่ละช่วง ซึ่งจะต้องมีจำนวนแท่งเทียนที่เหมาะสมของแต่ละไทม์เฟรม เช่น ระดับวันมี 30 แท่ง ระดับเดือนอาจจะมีแค่แท่งเดียว ซึ่ง indicator มันจะให้ค่าไม่เหมือนกันอยู่แล้ว

1 ความคิดเห็น: