วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Elliott Wave ตอนที่ 3 ฝึกนับเวฟจากกราฟจริงกันเลยที่นี่

เราผ่านการทำความรู้จัก พื้นฐาน Elliott Wave ซึ่งเป็นการพูดถึงคอนเซปคร่าวๆของ Elliott Wave และนอกจากนี้ เรายังได้รู้จักตัวเลช Fibonacci มากันแล้วจากโพส ใช้ Fibonacci Retracement ถ้าใครยังไม่ได้อ่านก็ย้อนกลับไปอ่านกันได้ครับ เพราะตอนนี้ เราจะเริ่มนับเวฟจริงกันแล้ว

ก่อนอื่นคงต้องบอกก่อนว่าหุ้นที่จะเอาเป็นตัวอย่างผมคงไม่เซนเซอร์ ตัวหุ้นอะไรให้ยุ่งยาก เพื่อนๆจะได้เปิดดูไปและทำไปด้วยกันได้ เพราะการนับเวฟนี้ต้องฝึกต้องทำบ่อยๆ ถึงจะเข้าใจและชำนาญนะครับ และสิ่งที่ผมมักเน้นตลอดคือ การวิเคราะห์กราฟราคาหุ้นไม่ใช่เป็นการดูเพื่อฟันธงว่า ราคาจะขึ้นหรือลง ดูจากบทความนี้แล้วห้ามเอาไปเป็นหลักในการซื้อขายเด็ดขาด มันคือข้อมูลของกราฟ ที่ช่วยให้เราวางแผนการเทรด และเรียนรู้ เท่านั้น ข้อมูลเหล่านี้ ต้องเอาไปผ่านกระบวนการ ของระบบการเทรด ของตัวเอง ก่อนแล้วถึง ค่อยเคาะซื้อ หรือขาย นะครับ จำไว้ กราฟไม่เคยบอกว่าราคาจะขึ้น ลง แบบชัวร์ๆ มันแค่บอกทิศทางที่เป็นไปได้ เมื่อเราได้ทิศทางเหล่านั้นแล้ว ก็จับข้อมูลที่ได้โยนเข้าระบบที่เราออกแบบไว้ ถึงซื้อขาย อย่ามองหาสิ่งที่ไม่มี ในกราฟครับ

   
เมื่อเข้าใจข้อตกลงกันแล้วเราก็มาว่ากัน ผมลองเลือกหุ้นที่มันดูเห็นภาพง่ายๆก่อนนะครับ ลองเปิดกราฟของ GRAMMY ขึ้นมาเลย เลือก TIME FRAME 120 นาที เจาะดูราคาช่วงตั้งแต่วันที่ 1 กพ 2555 ถึง 28 กพ 2555  จะได้ดังรูป

เราจะเห็นว่าราคาเริ่มขึ้นมาตั้งแต่วันสิ้้นเดือนของเดือน มค จากราคา 17.8 มาเป็น 20.5 ก่อนปิดตลาด วันที่ 5 แล้วหลังจากนั้นราคาก็ย่อลงมาเรื่อยๆตามลำดับ จนลงไปต่ำสุดแถวๆ 19.4 บาท ในช่วงจังหวะที่หุ้นเริ่มขึ้น รอบแรกนี้แหละ เป็นจังหวะสังเกตุเวฟแรก เมื่อเราลองสังเกตุ INDICATOR ที่เราใช้ ดูด้วยก็จะเห็นว่ามันเป็นไปในทิศทางเดียวกับราคา

เรื่องของ INDICATOR ผมคงพูดละเอียดในโอกาสหน้า ส่วนนี้ใครจะใช้อะไรก็ได้ตามแต่ถนัด บางคนใช้สองสามอัน ก็สุดแล้วแต่ ส่วนผม ผมชอบ RSI ที่สุด มันไม่ช้าไม่เร็วเกินไป เข้าใจง่าย ดู overbought และ oversold ได้ง่ายๆ ผมจึงใช้แต่อันนี้อันเดียว ตัวอื่นๆ ไม่ค่อยได้ใช้ บางคนอาจจะใช้ MACD เพิ่ม แต่ผมว่าผมมีวิธี มองเทรนด์ ได้ง่ายๆและได้ผล ด้วยการลากเส้น TRENDS LINE แล้ว ส่วนนี้เคยพูดไปบ้างแล้วในบทความ  ใช้เทคนิควิเคราะห์ทำยังไงลองมาดูกัน รายละเอียดมากกว่านั้นมีโอกาสจะเขียนอธิบายอีกรอบ หรือใครไม่อยากรอ ลองไปดูกราฟที่ผมเคยตีผ่านๆมาแล้วก็ได้ครับ

เมื่อเราจับจุดที่สันนิษฐานว่าจะเป็น WAVE 1 ได้แล้ว ทีนี้เราก็มาใช้เครื่องมือ Fibonacci Retracement วัดหาเป้าหมายของเวฟ 2 3 4 5 กันเลยครับ หลักการมีง่ายๆคือ ลากจากราคาต่ำสุด หรือจุดเริ่มต้นของ WAVE 1 ไปยังจุดสูงสุด หรือยอดคลื่น ของ WAVE 1 ตามรูปเลยครับ


หลังจากลากแล้วเราจะได้เส้น FIBO ที่ลากจากจุดต่ำสุดคือ 100 สูงสุดคือ 0 เส้นที่เกินจากนั้นไปข้างบน จะเป็นจุดที่เราคาดคะเน ราคาของ WAVE ต่อๆไปนะครับ

จากโพสโน้น ตรง กฏพื้นฐานของ Elliott Wave ผมจะมี ขนาดของ WAVE ต่างๆ ในอุดมคติ ของ  Elliott Wave ไว้ให้ ลอง กลับไปดู ต้องบอกว่าอุดมคติ เพราะในชีวิตจริงมันมักจะไม่ตายตัว เราต้องอาศัยประสพการณ์ของเราเองกับหุ้นตัวนั้นๆ ช่วยบอก แต่โดยส่วนมาก ในสถาณการณ์ปกติจะเป็นดังนี้
  1. เมื่อจบเวฟ 1 เวฟ 2 มักจะลง เป็นขนาด 32.8% 50% หรือ 61.8% ของขนาดของเวฟ 1 ขนาดหากันยังไง ก็ให้เอาราคาที่จบเวฟ 1 ลบด้วยราคาที่เริ่มต้นเวฟ นั้นแหละครับ อันนี้ไม่ต้องจำ เดี๋ยวพอถึง ห้วข้อการใช้เครื่องมือ Fibonacci Retracement ในการวัดขนาดเวฟ ก็จะง่ายๆเอง 
  2. เวฟ 3 มักจะมีขนาด 61.8% หรือ 161.8% ของขนาดเวฟ 1 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ว่าตลาดขึ้นแรงแค่ไหน โดยเอาเป้าราคาเวฟ 3 ที่ได้เริ่มนับตรงจุดที่เวฟ 2
  3. เวฟ 4 มักจะย่อลงมาไม่เกินยอดของเวฟ 1 ยกเว้นใน future มักจะให้ลงเยอะกว่าได้ครับ
  4. เวฟ 5 มักมีขนาด 323.6% ของเวฟ 1โดยให้เริ่มนับที่จุดสิ้นสุดเวฟ 1 หรือจุดเริ่มต้นของเวฟ 1 ก็ได้แล้วแต่สภาพความร้อนแรกงของตลาด
  5. เวฟ c มักสิ้นสุดแถวๆเวฟ 4 เวฟ a หลายๆครั้งมักใช้เวฟ 3 เป็นแนวรับ(กรณี เกิดเวฟ 5 ที่แรงน้อย double top เป็นต้น) เวฟ b อาจจะมีขนาดเท่ากับ wave a หรือ น้อยกว่าก็ได้
  6. เวฟ a b c อาจจะมีลักษณะเป็น Flats หรือ zig-zag ก็ได้ ความแตกต่างของสองตัวนี้หลักๆคือ flat มีเวฟ c ขนาดเท่าๆกับเวฟ b ส่วน zig-zag เวฟ c ยาวกว่า รายละเอียดลึกกว่านี้เดี๋ยวว่ากันโอกาสหน้าครับ
 ทีนี้จากกราฟ GRAMMY เราจะได้สิ่งที่เกิดขึ้นจริงเป็นดังนี้

จะเห็นได้ว่า จุดมันไม่เป๊ะ ตาม กฏในอุดมคติเท่าไหร่ แต่สิ่งหนึ่งที่ค่อนข้างจะเป๊ะ คือ จุดจบเวฟ 2 และ จุดจบเวฟ 4 เฉพาะ ในตลาดหุ้นค่อนข้างจะเป็นไปตามนั้นครับ ส่วนถ้าใน FUTURE มันค่อนข้างที่จะแกว่งแรง อาจจะเลยกว่าที่พูดไว้ก็เป็นได้

ส่วนในWAVE 3 5 ตรงนี้ถ้าเป็น ตลาดหุ้น มักจะมีส่วนของพื้นฐานเข้ามาเกี่ยวข้อง ถ้ามีข่าวดีเกิดขึ้น เวฟ 3 หรือ 5 อาจจะยาวมากกว่าปกติ  ซึ่งโดยปกติ ถ้าเวฟ 3 ยาวเกิน 100% ขึ้นไป เวฟ 5 มักจะไม่ยาวมาก หรือบางที กลายเป็น จุดเดียวกับเวฟ 3 เลยก็มี อันนี้เราต้องดูสถานการณ์อื่นๆประกอบไปด้วย

ในการเอาไปใช้นั้น เราก็จะเอาไปใช้ในการคาดคะเนราคา ของเวฟ ถัดไปนั้นเอง เช่น ถ้าเวฟ 1 จบเราคาดคะเนหาเวฟ 2 เมื่อเวฟ 2 จบแล้วเริ่มเวฟ 3 อาจจะเป็นจุดที่เราต้องเข้าไปซื้อ  เมื่อไปถึงเป้าหมายที่คิดไว้ในส่วนของเวฟ 3 เราก็อาจจะขาย หรือไม่ก็ได้ (ถ้าเวฟ 4 ลงไม่ลึกก็ไม่จำเป็นต้องขายให้เสียโอกาส)  และก็ทำแบบเดิมกับเวฟ 5 ต่อไปครับ

วันนี้ผมจะขอจบเรื่องนับเวฟนี้เท่านี้ก่อน
แต่ว่า มันมีเรื่องที่ค้างต้องพูดถึงเพิ่มเติมไปอีกหลายบทความแน่นอนสำหรับ เรื่องนี้
คิดว่าจะต้องมี ตอน 3.1 3.2 3.3 แน่ๆ เรายังไม่ได้พูดถึง เวฟย่อย ของเวฟ ใหญ่ และ เวฟพักตัว หลังจากจบเวฟ 5 และยังรวมไปถึงส่วนที่ไม่มีใครพูดถึงเลย Elliott Wave กับอารมณ์ของตลาด ส่วนนั้น คงต้องแยกออกไปอีกตอนเพื่อไม่ให้งง

สุดท้าย ฝากไว้ ตัวเลข มหัศจรรย์ 0.618 1.618 2.618 ... จำมันไว้ มันจะมีประโยชน์กับเราอีกมาก






1 ความคิดเห็น:

  1. อธิบายได้ละเอียด เข้าใจง่าย คลายสิ่งที่สงสัยมานาน ขอบคุณมากๆ นะคะ รอติดตาม fc ค่ะ

    ตอบลบ