วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Elliott Wave การนับเวฟโดยใช้เครื่องมือ Fibonacci Retracement ช่วย ตอนที่ 1 พื้นฐาน Elliott Wave

 ก่อนจะพูดถึง Elliott Wave เรามาเข้าใจกันก่อนว่าราคาหุ้นหรือสินค้าที่เราต้องการดูมักมีลักษณะอย่างไร ไม่ต้องคิดให้ยืดยาว ตลาดหุ้น มี 3 สถานะ
  1. ตลาดขาขึ้น หรือ Up Trend ก็คือตลาดที่ราคาปิด ของวันนี้ สูงกว่าราคาปิดของเมื่อวานนั้นเอง จะเป็นขาขึ้นกี่วันก็แล้วแต่ เดี๋ยวเราจะได้เรียนรู้การคาดการณ์กันว่า จุดราคาที่เราคาดการณ์ว่าเป็นจุดสูงสุดนั้น เขาหากันยังไง
  2. ตลาดขาลง หรือ Down Trend ก็คือตลาดที่ราคาปิดวันนี้ ต่ำกว่าราคาปิดวันก่อน จะนานแค่ไหนสำหรับเทรนด์นี้ ก็เช่นเดียวกับ ตลาดขาขึ้น เดี๋ยวเราจะว่ากันว่าดูยังไง
  3. ตลาดออกข้าง หรือ Side way ก็คือตลาดที่ราคา ปิดวันนี้กับเมื่อวานเท่ากับ หรือใกล้เคียงกันนั้นเองครับ
ทีนี้ Elliott Wave  มีอะไรที่อธิบายตลาดขาขึ้นขาลงออกข้างนี้บ้าง มาดูกันเลย ในตลาดขาขึ้นนี้ โดยทั่วไปเชื่อกันว่าจะมี 5 คลื่น ตามรูป คลื่น 1 3 5 เรียกว่า impulse wave เป็นเวฟ ที่วิ่งตามเทรนด์ของตลาด ถ้าลักษณะ ตลาดเป็นขาขึ้น 1 3 5 ก็คือเวฟที่วิ่งขึ้นตามตลาด ส่วน 2 4 เป็นเวฟ ที่คลื่นที่ตรงกันข้ามกับ 1 3 5 เราเรียกว่า corrective waves มัน corrective อะไรก็ คือ มันเป็นตัวยืนยัน เวฟ 1 3 5 นั้นแหละครับ

หลังจาก จบคลื่น 1 2 3 4 5 นี้แล้ว มักจะมีคลื่น corrective waves ใหญ่อีกชุด เป็นการชี้ว่าจบเวฟชุดนี้แล้วครับ ก็คือคลื่น A B C จากในรูปข้างบนนี่แหละครับ

ทีนี้ในเวฟ หลัก อาจจะมีเวฟย่อยอยู่ ตามรูป ข้างล่างนี้นะครับเราจะเห็นเว่าเวฟ 1 ใหญ่ จะมี 1 2 3 4 5 a b c แทรกซ่อนอยู่อีกชั้น ในเวฟ 3และ 5 ใหญ่ก็เช่นกัน รูปแบบหลักๆ ของ Elliott Wave จะเป็นแบบนี้


กฏพื้นฐานของ Elliott Wave นั้นจะเป็นดังนี้นะครับ

  1. เมื่อจบเวฟ 1 เวฟ 2 มักจะลง เป็นขนาด 32.8% 50% หรือ 61.8% ของขนาดของเวฟ 1 ขนาดหากันยังไง ก็ให้เอาราคาที่จบเวฟ 1 ลบด้วยราคาที่เริ่มต้นเวฟ นั้นแหละครับ อันนี้ไม่ต้องจำ เดี๋ยวพอถึง ห้วข้อการใช้เครื่องมือ Fibonacci Retracement ในการวัดขนาดเวฟ ก็จะง่ายๆเอง 
  2. เวฟ 3 มักจะมีขนาด 61.8% หรือ 161.8% ของขนาดเวฟ 1 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ว่าตลาดขึ้นแรงแค่ไหน โดยเอาเป้าราคาเวฟ 3 ที่ได้เริ่มนับตรงจุดที่เวฟ 2
  3. เวฟ 4 มักจะย่อลงมาไม่เกินยอดของเวฟ 1 ยกเว้นใน future มักจะให้ลงเยอะกว่าได้ครับ
  4. เวฟ 5 มักมีขนาด 323.6% ของเวฟ 1โดยให้เริ่มนับที่จุดสิ้นสุดเวฟ 1 หรือจุดเริ่มต้นของเวฟ 1 ก็ได้แล้วแต่สภาพความร้อนแรกงของตลาด
  5. เวฟ c มักสิ้นสุดแถวๆเวฟ 4 เวฟ a หลายๆครั้งมักใช้เวฟ 3 เป็นแนวรับ(กรณี เกิดเวฟ 5 ที่แรงน้อย double top เป็นต้น) เวฟ b อาจจะมีขนาดเท่ากับ wave a หรือ น้อยกว่าก็ได้
  6. เวฟ a b c อาจจะมีลักษณะเป็น Flats หรือ zig-zag ก็ได้ ความแตกต่างของสองตัวนี้หลักๆคือ flat มีเวฟ c ขนาดเท่าๆกับเวฟ b ส่วน zig-zag เวฟ c ยาวกว่า รายละเอียดลึกกว่านี้เดี๋ยวว่ากันโอกาสหน้าครับ

เราพูด ถึงรูปแบบ Elliott Wave ในอุดมคติ กันมาแล้ว แต่ในทางปฏิบัติ จริง Elliott Wave สามารถ แบ่งแยก เป็นรูปแบบต่างๆได้อีกมากมายนะครับ รวมถึงขนาดของแต่ละเวฟ มันก็ต้องปรับกันไปตามสถานการณ์ ขนาดของเวฟ 3 เวฟ 5 ไม่สามารถใช้ ตัวคูณข้างบนนั้นได้เสมอไป เราใช้วิธีการหาค่าที่มีนัยสำคัญเป็นหลักนะครับ และใช้ร่วมกับ Trend Lines และ เส้น EMA ทั้งหมดที่เขียนมาข้างต้นเพื่อให้พอจะเข้าใจคอนเซปคร่าวๆของ Elliott Wave นั้นเอง

และรอบหน้าเราจะมาพูดถึงการใช้เทคนิค  Fibonacci Retracement ในการนับเวฟ หาราคาเป้าหมาย ในตัวอย่างจริงแบบในรูปข้างล่างนี้กันครับ















1 ความคิดเห็น:

  1. Our design covers the living room, the kitchen, the bedroom, the bathroom, the terrace, the dining room, and so on. This includes the choice of finishing materials, furniture, lighting, plumbing, and more. The expert designers of the crystal room create the concept and then adapt the design of the house to your needs and requirements.
    Interior Designer

    ตอบลบ