วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

วิเคราะหุ้น set รายวัน ของวันที่30-07-2013

กราฟset‬ มาถึงจุดนี้ สมมุติฐาน เวฟแรกขาขึ้นเดิม เริ่มมองดูไม่สวยแล้วนะครับ ที่ว่าดูไม่สวยยังไง ไปดูกราฟเก่าที่เคยตีไว้ อันนั้นยังถือว่าเป็นสมมุติฐานหนึ่ง

กราฟมันชอบเดินไปจุดที่ต้องตัดสินใจ ว่าสมมุติฐานไหนถูก สำหรับเซท ผมขอแยกเพิ่มมาอีกสองสมมุติฐานตามนี้
   

1 โลกสวย คือยังมองว่ามันจะต้องขึ้นไปอีกเหมือนเดิม โดยให้ยอดที่ พันห้านิดๆนั้นเป็นเวฟ 1 แทนเวฟ 1 เดิม นั้นบอกอะไรได้บ้าง
- ย่อลงสบายๆได้ถึง แถวๆ 1410 หรือมากกว่านั้น
- ถ้าถูก ยอดเป้าหมายอาจอยู่แถวๆ ไฮเดิมหรือ เลยไปหน่อย

2 โลกมันโหด จากกราฟที่ตีก่อนนี้ผมแนะนำให้ระวังที่ 61.8% ของ ขาลงยาวตั้งแต่ยอดไฮเดิมลงมา 1530 ตรงนี้เป็นจุดสวยที่จะจบเวฟ b เพื่อลงเวฟ c ถ้าตรงนี้เป็นจริงจะบอกอะไรบ้าง
- มันจะลงอย่างน้อยที่โลว์เดิม 1340 แถวๆนั้น ลงต่ำกว่านั้นได้อีกด้วย ไม่แปลกอะไร
- ถ้ามันลงมาแล้วทำ new low ยิ่งดี เราอาจจะเห็น divergence ที่กว้างขึ้นกว่าเดิม(นั้นแสดงว่าต้องหาจุดวัดว่าจะคัทลอสที่ไหน )

ส่วนภาพรวมๆ ช่วงนี้โวลุ่มมันไม่ค่อยเยอะ สาเหตุก็อย่างที่บอกคราวก่อนๆ ความคลุมเครือของทางเลือกมันยังสูง คนเลยจ้องเฉยๆ หรือถ้าเล่นก็เน้นจบเร็วมากกว่า

ส่วนของฝรั่ง จะเห็นว่า ซื้อก็ซื้อไม่มาก ขายก็ขายไม่เยอะ สงสัยเห็นสถาบันรับไปเยอะช่วงก่อน คงดูว่าพี่แกจะเอายังไง

macd กราฟ day ยังโอเค ส่วน Time frame ที่ต่ำกว่านั้นพลังหดหายไปนานแล้ว

ดูแนวรับแนวต้านจาก fibo ของกราฟทั้งสอง ถ้าเหตุการณ์จริงมันเกิดกับฝั่งไหนก็เลือกตามฝั่งนั้น ไม่ต้องยืดติดว่าหุ้นเต็มพอร์ท ต้องมองเห็นว่าจะขึ้นอย่างเดียว

ถ้าหลุดแนวรับแล้วเห็นรับต่อไปอยู่ไกล ก็เซฟๆบ้างก็ดีครับ

ติดค้างเรื่องตี fibo ขอแปะไว้ก่อน ช่วงนี้ยุ่งๆนิดหน่อย แต่แนะนำคร่าวๆว่า การตี fibo หลักๆควรใช้เพื่อวัดขนาดเวฟเป้าหมาย ไม่ใช่ เห็นยอดสูงและต่ำก็ตีเลยและเอาเลขของมันมาเป็นแนวรับแนวต้าน แบบนี้อาจใช้ได้บางครั้ง สาเหตุที่ใช้ได้เพราะว่า เลข fibo ที่เรามักใช้ ไม่ว่าจะ 61.8 32.8 หรืออื่นๆ เมื่อบวกกัน(จากการต่อเวฟต่างๆ)มันได้เลขคร่าวๆใกล้ๆกับ fibo เลขต่อไปครับ นั่นทำให้ลาก ยาวจากยอดสูงยอดต่ำ ก็จะเห็นว่า มันพอจะเป็นแนวรับได้

แต่ทำแบบนั้น มักไม่ได้แนวรับแนวต้านที่สำคัญๆ การวัดแบบหาเป้าเวฟต่อไปทำยังไง ที่จริงเขียนไว้ในบล๊อกแล้ว ไว้เดี๋ยวถ้าว่างแล้วจะเอามาสรุปอีกที อันนั้นเขียนไว้นานแล้วคาดว่าจะอ่านงงๆ (555)


วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

มีคำถามมาในหน้าเพจ เรื่องเกี่ยวกับการใช้ indicators elliott wave และแนวทางการวิเคราะห์ เอามาแบ่งปันทางนี้ด้วยครับ

มีน้องถามมาในข้อความ คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ จึงนำมาโพสให้เพื่อนๆทางนี้ด้วยนะครับ

Jade Sada : 
ขอถามหน่อยนะครับ 
พี่ให้ น้ำหนัก อินดิเคเตอ ต่างๆยังไง บ้างหรอครับ ให้ความสำคัญกับอันไหนมากกว่ากัน เช่นPricePattern Candlestick EMA Volume RSI MACD SlowSto และ แนวรับแนวต้าน นี่ ดูยังไงหรอครับ เพราะมีตั้ง หลายอย่าง ที่เป็นแนวต้าน แนวรับได้ 
เช่น EMA ...วัน Trendline ตีเส้น Fibo พอผมใส่ๆมา มันก็ปนๆกัน ไม่รู้จะให้ความสำคัญอันไหนมากกว่ากันเลย ครับ อย่างผมเห็นว่าเกิด Bull Di แต่ ผมถามอีกคน เขาบอก ยังไม่ใช่ sign งงมาก ช่วยแนะนำหน่อยนะครับ
------------------------------

   
-------------------------------------------
Thai Trader :
พี่มีขั้นตอนดูแบบนี้นะ พอเริ่มเปิดกราฟมาปุ๊บ
1 ดูเทรนด์มันว่ามันขึ้นหรือลง ถ้าเป็นหุ้น ก็ดูกราฟ day ก็ได้
2 พอได้เทรนด์แล้วจะเริ่มดูว่าตอนนี้มันขึ้นหรือลงไปถึงไหนแล้ว ตรงนี้จะนับเวฟ elliott wave โดย fibo จะใช้ตรงนี้แหละ คือหาเวฟ ที่เกิดแล้ว แล้วจะวัดขนาดเวฟต่อไปเป็นเป้าหมาย
3 ตีเทรนด์ไลน์ เพื่อหาเทรนด์และ pattern ยิ่งถ้าช่วงจะจบเวฟ มันจะมี pattern เราจะไปจับตาตรงนี้แหละ
4 พอได้รูปแบบเวฟ และ pattern ที่เกิดขึ้นแล้ว จะจับตาดูกราฟราคาเทียบ กับ Macd ว่ามันมีสัญญานกลับตัวหรือไปต่อหรือยัง ถ้าเรากำลังรอมันเบรก pattern ก็ดูร่วมกับโวลุ่มประกอบด้วย

สรุปคือ บนจอมี กราฟ ราคา เวฟ เทรนด์ไลน์ macd (หรือ ema ร่วมด้วย) แล้วก็โวลุ่ม ครับ

อย่าไปใส่ไรเยอะให่้ปวดหัว indicator หลายๆตัวมันทำงานแบบเดียวกัน ดูว่ามันให้อะไรเราได้บ้าง เลือกใช้เลือกฝึกอันที่ชอบให้ถนัด ก็พอครับ

ส่วนแนวรับแนวต้าน ถ้าจะเอาง่ายสุด เอายอด หรือท้องของกราฟราคานั้นแหละ ก่อนหน้านี้ มันเคยขึ้นไปถึงไหนแล้วย่อ หรือมันเคยลงไปถึงไหนและเด้ง ก็เอาตรงนั้นเป็นหลักก่อนก็ได้ ค่อยๆตีต่อไป เดี๋ยวจะรู้เอง

และการหา divergence อย่าไปสนใจสัญญานที่เป็นคำพูดมันมากนัก ให้ดู ว่า สมมุติในขาลงนะครับ ดูลักษณะกราฟราคาเทียบกับโวลุ่ม และเลือกเอา macd rsi อะไรก็ได้สักตัวที่เราชอบที่เราศึกษามา มาจับว่าราคามันยังไปเร็วกว่าที่มันไปรอบที่แล้วไหม ถ้าไปช้าลง โวลุ่มเริ่มน้อย อันนั้นแหละ พอที่จะเรียกว่า divergence

คือคน เริ่มที่จะไม่เห็นด้วยกับเทรนด์นั้นแล้ว ซึ่งมันอาจจะลงต่ออีกสักหน่อย แต่มีนสิทธิ์กลับตัว

divergence มันอยู่ที่เรามองว่าคนอื่นคิดยังไงกับเทรนด์ของมัน ถ้าเห็น สัญญานขัดกันแบบในตำราแล้วซื้อหรือขายเลย ตลอด มันไม่ใช่ว่าจะถูกนะ สัญญาน divergence ไม่ได้หมายถึงว่า มันจะกลับตัวเลย แต่มันคือ คนเริ่มชะลอและไม่เห็นด้วยกับทิศทางหลักของมันแล้วครับ

--------------------------------------------------------------------------
Jade Sada
ครับ อันนี้พี่เล่นแบบ ถือ 3-7 วัน ประมาณนี้ใช่มั้ยครับ

---------------------------------------------------------------------------
Thai Trader
หุ่นที่ถืออยู่ตอนนี้ก็ถือเกือบเดือนแล้วครับ ตั้งแต่เห็นสัญญานก็เก็บมาเรื่อย เห็นสัญญานให้ขายทิ้งก็ค่อยขายทิ้ง

--------------------------------------------------------------------

Jade Sada
ขอบคุณครับ ผมพอ จะเข้าใจ มากขึ้นแล้ว แต่ การนับ elliot นี่ หลายคนนับ ก็นับไม่เหมือนกัน หรอครับ ผมเคยศึกษา แต่ พอเจอคำนี้ เข้าไป ก็ เลิกเลย 555 จะไม่ใช้ ได้มั้ยครับ อันนี้

-----------------------------------------------------------------------

Thai Trader
อย่าไปกลัวจะนับผิด เพราะนับไปมันผิดอยู่แล้ว ในการนับเวฟ ในจุดหัวเลี้ยวหัวต่อ อย่างเซทตอนนี้เป็นต้น มันจะมีเงื่อนไขแยกได้สอง ทาง (เพิ่มเติม หรืออาจจะมากกว่านั้น) มันก็หมายความว่าจะมีทางหนึ่งผิดจริงไหม อีกทางหนึ่งถูก คือทางที่เราจะวางแผนไปกับมัน

ใครที่ทำบอกว่านับเวฟแม่นนับถูกตลอดนี่โม้แล้ว การนับเวฟ มันให้โครงสร้าง ถ้าคนเป็นโปรแกรมเมอร์ มาก่อน จะคิดว่ามันเหมือนเป็น flow ของระบบหนะ ระหว่าง flow มันจะมีเงื่อนไขให้ตัดสินใจ อะไรเกิดขึ้นจริงก็ไปตามนั้น

ถ้าไม่เริ่มตีเวฟผิดๆ วันนี้ ก็ไม่มีทางตีถูกแล้วละ ครับ ลองดูๆ 





วันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

MACD Moving Average Convergence / Divergence พระเอกของการอ่านเทรนด์ การหาพลัง หรือ Momentum

ติดค้างเรื่อง Indicators มาหลายวัน วันนี้มาต่อที่ตัวเด่นขวัญใจผมเอง MACD Moving Average Convergence / Divergence  นั้นเอง

MACD ถูกสร้างมาจากเส้นค่าเฉลี่ย ma นิยมใช้ ema ในการคำนวน เส้น ema เป็นยังไงลองกลับไปอ่านบทความเก่าเรื่อง ma ได้นะครับ เส้นนี้เป็นการให้น้ำหนักกับ ช่วงใกล้กับวันปัจจุบันมากกว่านั้นเอง

ในการคำนวนหา MACD นั้นจะเป็นการใช้เส้น ema 2 เส้น เส้นยาวกับเส้นสั้น มาลบกัน  ถ้าได้น้อยกว่า 0 ก็คือ เส้นสั้นอยู่ใต้เส้นยาว ยิ่งมากยิ่งแสดงว่ามันเป็นขาลงมาก ในกรณีขาขึ้นก็ตรงกันข้ามกันไปครับ เส้นค่าเฉลี่ย ที่นำมาใช้หา MACD มักจะใช้ เส้น ema 12 เป็นเส้นสั้น และ ema 26 เป็นเส้นยาว (เราจำเป็นต้องปรับเป็นอย่างอื่นไหม จะปรับก็ได้แต่ใช้ที่คนอื่นเขาใช้ดีกว่า เพราะเราจะใช้ดูคนอื่นว่าเขาคิดยังไง ไม่ได้ใช้ดูความอินดี้ในใจเรา ถ้าใช้เส้นที่สั้นหรือยาวขึ้น ความเร็วของการบอกก็จะสั้นยาวตามกันไปครับ)

   
เรามาถอดความตรงนี้กันหน่อยเพื่อให้เข้าใจว่า MACD ให้อะไรกับเรา  จากวิธีการหา MACD จะเห็นว่าต้นกำเนิดของมันมาจากแท่งเทียนกราฟราคา หลังจากนั้นถูกแปลงเป็นเส้น ema แล้วนำมาลบกันเพื่อเป็น MACD

เจ้า MACD Moving Average Convergence / Divergence จึงเป็นส่วนผสมของ ราคา กับ เวลา มันจะบอกว่าราคา ในช่วง 12 แท่งเทียน ล่าสุด เทียบกับ ราคาในช่วง 26 แท่งเทียนล่าสุดนี้ มีลักษณะอย่างไร

ถ้า MACD อยู่ต่ำกว่า 0 ก็หมายความว่า ในช่วง 26 แท่งเทียนที่ผ่านมา 12 แท่งล่าสุด มันลงต่ำลงกว่า 14 แท่งก่อนหน้านั้น นั้นก็คือขาลงนั้นเอง

แล้วถ้ามากกว่า 0 ละ ก็หมายถึง 12 แท่งล่าสุด มันมีลักษณะราคาเพิ่มขึ้นมากกว่า 14 แท่งก่อนหน้านั้น มันก็คือช่วงนี้เป็นช่วงขาขึ้นนั้นเอง

ทำไมต้องมาเข้าใจตรงนี้  ก็เพื่อจะได้เห็นว่า MACD มันไมได้มีมิติเพียงแต่ ราคาหุ้นเพิ่มลดเท่านั้น มันยังรวมเอามิติของ เวลาเข้ามาด้วย โดยให้ความสำคัญ กับ ช่วงเวลาใกล้ๆ ล่าสุดมากกว่า ตรงนี้ ทำให้เราคิดได้ว่า ถ้าเราเอา MACD ของตอนนี้ ไปเปรียบเทียบกับ MACD เมื่อ3ปีก่อน ในกราฟ day ที่ ช่วงของเส้น ema ที่เอามาทำ MACD นี่ไม่ครอบคลุมมันเหมาะสมไหม หลายๆคนเอา MACD ของหลายปีก่อนโน้น ซึ่งนานมาก มาเทียบกับ MACD ปัจจุบัน ซึ่งต้นกำเนิดของข้อมูลมันคนละเรื่องกันเลย มันก็พลาด ผลที่ได้ไม่ตรง ทั้งนี้ทั้งนั้น มันขึ้นอยู่กับ Time Frame ที่เราใช้ด้วยนะครับ

ถ้า Time frame day MACD 1 ค่า อาจจะครอบคลุมเวลาแค่ 26 วันหรือ 1 เดือน แต่ถ้าเป็น Time frame week  มันก็จะครอบคลุม เวลาถึงครึ่งปี ตรงนี้ตีให้แตกจะได้เอาไปใช้ถูก เช่น ถ้าคุณ ดูที่ Time frame 120 นาที เห็น divergence จะไปหวังว่ามันจะกลับตัวทั้งเทรนด์ในรอบเป็นเดือน อันนี้ก็จะพลาดเป็นต้นครับ

เข้าใจนิยาม เรื่อง MACD แล้วว่าสร้างมาจาก ราคาบนกราฟ และเวลา สิ่งนี้แหละที่เราเรียกว่า MOMENTUM มันคือความเร่งของราคา ไอ้ความเร่งนี้ถ้าใครเรียน ฟิสิกข์มาเมื่อมอปลาย มันก็คือ เกี่ยวกับ เวลาและมวลของมัน มวลที่ว่านี้ จะไปได้เร็วแค่ไหนก็ต้องมีแรงนั้นเอง แรงในหุ้น ก็คือ ความอยากของคนดูได้จากไหน ก็จากโวลุ่มนั้นเองครับ แล้วต่อไปเรามาดูกันว่าจะใช้ MACD ยังไง

คำตอบก็คือ ใช้เพื่อเช็คการกลับตัวของหุ้น ตรงส่วนนี้ถ้าใช้ร่วมกับ Elliot wave จะยิ่งทำให้การเทรดของเรารัดกุมมากยิ่งขึ้น เพราะ ใน Elliott wave เรารู้ว่าหุ้นจะขึ้นไปเป็น wave ต่อไป แต่เราไม่รู้แน่ชัดได้ว่าเมื่อไหร่มันจะขึ้นจบ 

ให้ใช้ MACD ประกอบ จับตาเช็คเวลาที่ ราคาทำ new hi หรือ new low ดังนี้ สมมุติว่าราคาเป็นเทรนด์ขาขึ้นตามรูป 

ช่วงเวฟ 1 ที่เป็นกรอบสีเหลือง เราจะสังเกตุเห็นว่า MACD ได้พุ่งขึ้นสูงมาก เมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้าที่ขึ้นเหนือ 0 มา หลังจากนั้นราคาเริ่มหมดกำลังลง ถ้าเราดูกราฟใน Time Frame ที่สั้นลงช่วงนี้จะเห็น สัญญาน bearish divergence ระยะสั้น แน่นอนว่าเมื่อเห็น bearish divergence ระยะสั้น ก็ต้องคิดกรอบเวลาให้ถูกว่ามันจะย่อใหญ่หรือเล็ก ตามที่เขียนข้างบนนะครับ 

ในส่วนเวฟ 1 นี้ คนส่วนมากยังไม่ทันเข้าหรอก มักจะจับตาดู หลังจากราคาขึ้นไปเหนือเวฟ 1 ถึงได้เข้า ถ้าเราเจออะไรแบบเวฟ 1 นี้ก็ให้เตรียมจับตาเลย VOLUME มาเมื่อไหร่ ก็เตรียมกระโดดเข้า 

ทีนี้เรามาดูเวฟ 3 กันต่อตรงส่วนนี้ในกรอบสีเขียว จะเห็นว่าราคาขึ้นไปแบบรุนแรง  สังเกตุ MACD ก็พุ่งขึ้นเช่นกัน โดยที่พุ่งสูงกว่าเวฟ 1 อันนี้จะเป็น อาการปกติของ เวฟ3 คนจะมั่นใจมาก ราคาจะขึ้นแรง Volume มักจะเยอะ ตรงนี้เราเข้าจะถือเป็นจังหวะที่ดี เมื่อราคาไปถึงยอดเวฟ 3 แล้วในระยะสั้นจะเกิด bearish divergence เช่นเคยเป็นเหตุให้มีการย่อเพื่อทำเวฟ 4 

 แต่ระยะยาว เราจะเห็นว่าระหว่างเวฟ 1 กับ 3 MACD ยกสูงตามราคาที่ทำยอด New Hi .ใหม่นั้นบ่งบอกถึงสัญญาน Bullish Convergence ซึ่งก็คือ ลงรอบนี้ จะมีการเด้งที่ อย่างน้อยน่าจะถึง ยอด เวฟ 3 เดิม หรือทำ New Hi ใหม่นั้นเอง  

หลังจากนั้นราคาก็เดินทางไปสู่ เวฟ 5 ตรงนี้สำคัญมาก เมื่อเข้าสู่เวฟ 5 ถ้าคุณไม่มีหุ้น ก็ไม่ควรจะไปแตะมันอีกแล้ว แต่ถ้าคุณมีหุ้นที่ซื้อมาตั้งแต่เวฟ 1 3 ตอนนี้เป็นเวลาที่คุณต้องหาจังหวะ ออกของ 

ในช่วงเวฟ 5 ลองสังเกตุ ดูที่ MACD ครับ ในกรอบสีแดงที่ล้อมไว้ คุณจะเห็นว่า MACD มันจมน้ำ ลงไปพอเงยหน้าขึ้นมาหน่อยก็จมลงอีก แต่ราคา กลับวิ่งขึ้นสวน เมื่อเจอแบบนี้ ถามว่าให้ขายเลยหรือไม่ คำตอบคือไม่ แต่ต้องระวังให้หนัก ตอนนี้จะใช้เทรนด์ไลน์ หรือ ema ในการกำหนดขายก็ได้ คือถ้าหลุด ให้ขาย เพราะว่า macd ที่ ลงสวนราคาหรือที่เราเรียกว่า Bearish Divergence นี้แสดงให้เราเห็นว่า 

คนในตลาด เขาซื้อกันหมดแล้ว ไอ้ที่ขึ้นมานี่ แมงเม่าเข้าทั้งนั้น ช่วงเวลาแบบนี้แหละ ที่ใครเข้าไปรับของมา เตรียมเป็นเม่าเฝ่าดอย กำลังซื้อไม่มี แต่ดันเข้าไปไล่ราคาเอา สุดท้ายแล้วจะขายให้ใคร ในเมื่อคนซื้อไม่ค่อยมีแล้ว ต้องคิดมากๆ  หลังจากนี้ถ้าราคาถึงยอด แล้วลงมา แล้วเด้งไปไม่ถึงไฮเดิม ก็เตรียมล้างพอร์ท นั้นหมายถึง เราเข้าสู่เวฟที่ 1 ของขาลงแล้วครับ

ในทางกลับกันในขาลงเราก็ทำเช่นเดียวกันครับ เมื่อเราเจอเวฟ 1 ของขาลงแล้ว ก็ควรจะปล่อยออกหมด ระหว่างที่มันทำเวฟ 234 ก็ไปเล่นหุ้นตัวอื่นหรืออยู่เฉยๆ เมื่อราคาเข้า สู่ช่วงเวฟ 5 เราก็จะกลับมาจับตาว่า เกิดการขัดกันของราคาและ MACD หรือยัง ถ้าราคาลงเรื่อย หรือว่าเกาะเส้นแนวรับหลักสวยๆอยู่ และ MACD กลับวิ่งขึ้นสวน  อันนี้คือสัญญานให้ระวังการกลับตัวแล้ว เราต้องกลับมาจับตามองโวลุ่ม ถ้าโวลุ่มเข้าเมื่อไหร่ก็กระโดดเข้าให้ทัน นั้นเอง

MACD ถ้าฝึกใช้ให้ถนัดให้ฉมัง บางคนแทบไม่ดูราคาหุ้นเลยครับ เอา MACD อย่างเดียว ก็หากินได้แล้ว มันเป็นเครื่องมือที่ดีมากในการดูว่า MOMENTUM เมื่อใช้ร่วมกับ Volume จะเห็นได้เลยว่าคนในตลาดคิดอะไรกันอยู่ มีมือมืดแอบขาย แอบซื้อไหม หลายๆคนถามว่า ไอ้เจ้าแอบขายแอบซื้อนี้มาจากไหน ก็จากตรงนี้แหละ การขัดแย้งกันของราคาและ MACD แล้วดันแอบมีโวลุ่มดุ่มๆขึ้นมาพอให้เนียน ๆลองไปหาดูหุ้นตัวอื่นๆ ดูด้วยนะครับ ช่วงก่อนจะเห็นเยอะมาก 

หุ้นตัวไหน มีข่าวเกี่ยวกับงาน งบ หรือ ข่าวอะไรก็ตามที่มีลักษณะไม่ปัจจุบันทันด่วน คือมีคนรู้ก่อนออกแน่ๆ แล้วพอออกมาแล้วราคาพุ่ง ให้ลองไปดู MACD กับ Volume ก่อน วันพุ่งจะเห็น ชัดว่าพวกแอบซื้อแอบขาย เราจับมันได้ ไม่จำเป็นต้องไปรอฟังข่าว ที่เขา ประกาศออกมาเพื่อเชือดเราครับ

ตัวนี้ถือว่าเป็นตัวเอกที่ควรฝึกใช้ให้คล่อง ตัวเดียวก็หากินได้แล้วครับสำหรับ MACD Moving Average Convergence / Divergence


‪#‎BJC‬ ถ้าในระยะสั้น มีสัญญานเด้ง จากกราฟส่วนทางขวา ที่เป็นกราฟ day จะเห็นสัญญานการขายที่อ่อนลงเรื่อยๆ สองวันที่ผ่านมา หุ้นขึ้นโวลุ่มพุ่ง เป็นสัญญานที่ดี 
   


ในระยะยาวการเด้งรอบนี้มีสมมุติฐานที่จะเป็นเวฟ 4 คำคออยู่ เพราะงั้น จุดที่จะวัดว่าเป็นเวฟ 4 ไหมคือ ถ้าหุ้นขึ้นไปจนถึงแถวๆ 62 ถ้าไม่ผ่าน จะลงเพื่อทำเวฟ 5 แถวๆโลวเดิมหรือต่ำกว่า ทีนี้น่าจะเห็น bullish divergenceในกกราฟ week ได้ แต่ถ้าไปที่ 62 แล้วผ่านได้ ก็มีสิทธิ์สูงที่ตรงนี้ถือเป็นการขึ้นจริง

กรณีที่ไม่ผ่านแล้วลงมาทำเวฟ 5 ราคาช่วงกรอบสี่เหลี่ยมสีเขียวนั้นถือเป็นจุดลุ้นกลับตัวที่ดีครับ


หุ้นฮอท ITD จะขึ้นหรือยัง ขึ้นจริงขึ้นหรอกมาดูกัน

‪#ITD‬ ที่3.84 หรือ 61.8% ของเวฟ 1 มีไดเวอร์เจน ระยะสั้น แต่ a c เป็นคอนเวิร์เจนซ์นะต้องระวังตรงนี้
   


หลังจากยืน 4.85 ได้ ข่าวก็ออก และต้านตอนนี้อยู่ 6 บาท ถ้าเบรกตรงนี้และยืนได้ ถือว่าเป็นการลงแบบabc แต่ถ้าถ้าไปที่ต้าน 6 บาทนี้แล้วถูกตบลง ถือว่าไปเวฟ 5



มาดูหุ้น TRUE ว่าน่าสนใจไหมกันดีกว่าครับ

‪#True‬ ราคาแถวๆ 9.15-9.35 เป็นจุดสำคัญ ถ้ยืนได้เป้าต่อไปคือ 10.25 และ ไฮเดิมตามลำดับ แต่ถ้าย่อ แนวรับจะเป็น 8.4-8.6




   

วิเคราะห์หุ้น TTW

‪#‎TTW‬ เป้าคือยทน 10.6 ได้แล้วไปต้านต่อไปคือแถวๆเทรนด์ไลน์สีฟ้าหรือ 11 บาท ถ้าเบรกตรงนั้นไปไฮเดิม แต่กำลังของมันไม่ค่อยสวยเท่าไหร่ครับ




   

มาดูหุ้น HMPRO‬ กันบ้างว่าเทคนิคคอลถึงไหนแล้วควรซื้อหรือขายหรือยัง

‪#‎HMPRO‬ 12.6 เป็นแนวต้านสำคัญ ถ้าเบรกได้ จะดูเหมือนเป็นการกลับตัวจริงมากกว่าเด้งในฐานะเวฟ 4 ถ้าเบรกได้เป้าต่อไปคือ 14 บาท
   
แต่ถ้าไม่ผ่านตรงนี้ รับต่อมาคือ 11.25 ถ้าหลุดอีก อาจจะเห็นนิวโลวที่ bullish divergence ชัดๆขึ้นไปอีก ตอนนี้รอดูโวลุ่มขึ้นยืนเหนือแนวต้าน 12.6 ได้ พร้อมโวลุ่มอาจจะพรวดเพราะไร้ข้อคาใจ



วิเคราะห์หุ้น Tipco มีดีอะไรถึงขึ้นเอาๆจะหยุดหรือยังมาดูกัน

#‎Tipco‬ 11.3 เป็นแนวรับ แนวต้าน 13.1 ตอนนี้ลุ้ให้ยืน 11.3 เพราะยอดล่าสุด พลังมันไม่ค่อยเยอะ ถ้าดูกราฟใน time frame น้อยกว่านี้ มันมี divergence สั้น ครับ
   

วิเคราะห์หุ้น DEMCO มาดูกันว่าน่าเข้าหรือยังครับ

‪#‎Demco‬ ต้านคือ 10.4 แนวรับคือ 8.7 ถ้าย่อลงมาที่แนวรับไม่หลุดอาจจะถือว่าเป็นการเริ่มเวฟ 1 ของขาขึ้น ถ้าเบรกแนวต้านได้ต้านต่อไปคือแถวๆ 12.45 หรือเทรนด์ไลน์เส้นบน จุดสังเกตของตัวนี้ที่ เวฟ 3 กับ เวฟ 5 จะเห็น bullish divergence ชัดเจน มันหมายถึงว่า ช่วงราคา 10.4 ถึง 7 บาทกว่า มันลงช้าลง แถมช่วงนั้้นก็โวลุ่มลดลง เพราะคนเริ่มไม่อยากขายเท่า
   
ไหร่

แต่เหนือสิ่งอื่นใด หุ้นแทบทุกตัวในตอนนี้ มีจุดวัดที่จะลงอีกรอบทั้งนั้น (ลงเป็นเวฟ c ยาวๆ) รวมทั้ง set ด้วย เข้าตอนนี้น่าจะติดตามกราฟบ่อยๆทุกตัวครับ



วิเคราะห์กราฟ set วิเคราะหุ้นประจำวันที่ 24-7-2013

‪#‎กราฟset‬ พอราคามาเหนือ 1500 เย้วๆว่าขาขึ้นแล้ว นี่ต้องระวังหน่อย 

ตอนนี้สมมุติฐานที่สมเหตุสมผลที่สุดและอยู่ใกล้ข้อพิสูจน์ที่สุดตอนนี้คือ มันเป็นการเด้ง เพื่อทำเวฟ c โดยมีเวฟ ย่อยเป็น iii ของเวฟ 3 ของเวฟ b 

และโซนที่จะพิสูจน์สมมุติฐานนี้ โซนแรกก็ช่วงกรอบสีเหลือง ในกราฟนี้แหละ แถวๆนี้เหมาะนักถ้าจะลงเวฟ c 

แต่ถ้าผ่านไปได้ก็จะเป็นที่ไฮเดิมเป็นต้านสำคัญต่อไป เบรกไฮเดิมถือว่ามั่นใจพอจะพูดได้ว่าขาขึ้น

Thai Trader นิสัยไม่ดีชอบเบรก ตั้งแต่ขาขึ้นรอบก่อนละ แต่เบรกๆเตือนๆกันไว้นั้นแหละถือว่าเป็นเพื่อนแท้




‪#‎กราฟset‬ ทางขวาเป็นกราฟสั้น ในส่วนของเวฟที่ 3 ขึ้นไป 61.8% ของเวฟย่อยของมันแล้วลงพอดี แนวรับแรกคือ 1494

ทางซ้ายเป็นกราฟเดย์ ชนต้านที่ 32.8% ของเวฟ 1 ใหญ่พอดี แนวรับของกราฟเดย์คือยอดเวฟ 1 1475
ลุ้นกันต่อปายย

   


ก่อนจะวางแผนเกษียณอายุ มาอ่านตรงนี้ก่อนนะครับ

การที่เราจะกำหนดว่าเราต้องมีเงินเท่าไหร่ในการวางแผนเกษียณ ตัวเอง จากการทำงาน

จำนวนเงินที่เราจะคิดไว้ในใจ จะใช้แต่เพียงอัตรเงินเฟ้อปกติมาคิดนั้นไม่ได้ เงินเฟ้อที่ประกาศออกมากับเงินเฟ้อความจริงนั้นต่างกันมาก

เงินเฟ้อที่จะทำลายมูลค่าของเงินเราลงไม่ใช่แค่ 3-4% ที่ประกาศแน่นอน 

ไม่ต้องเทียบอะไรมาก เอาแค่ก๋วยเตี๊ยวสักชาม สิบปีที่แล้วจานละยี่สิบ ตอนนี้ปาไป 40 ถ้าคิดปกติ (หากินยากละนะ ถ้า 40 ปกตินี่มีแต่วิญญานถั่วงอกแล้ว) เงินเฟ้อถ้าเพิ่มขึ้นที่ปีละ 3% ราคามันควรจะแค่ประมาน 27 บาท แต่ที่จริงขึ้นไปเกือบๆปีะ 8% นะครับ

เงิน 1 ล้านในวันนี้ อีก 10 ปีข้างหน้า ค่ามันจะเหลือ 7แสน 4 ในทางอัตราเงินเฟ้อที่เขาประกาศ และถ้าเปรียบเทียบกันแบบเคสก๋วยเตี๋ยวที่ว่า มันเหลือแค่ห้าแสนเอง

ไหนจะยังไม่นับ รายจ่ายของเราที่เพิ่มขึ้นตามวัย สมมุติวันนี้เราอายุ 30 กำลังจะแต่งงาน อีกสักแปบมีบ้าน มีรถ หลังจากนั้นรายจ่ายก่อนใหญ่จะตามมาเมื่อมีลูก หาเงินอย่างหนักให้เขาได้อยู่ได้เรียนดีๆ พอเรียนจบ ปุ๊บนึกว่าจะหมดภาระ ตัวเราก็จะเริ่มเข้า โรงบาล เริ่มต้องเตรียมเงินสำหรับ สำรองไว้เผื่อสุขภาพตัวเอง โอ้ยชีวิตมันมืดมนจัง

   
มันไม่แบบนั้นทั้งหมดหรอก วิธีช่วยลดความเสี่ยงเรื่องนี้มีเยอะ

การหาสินทรัพย์ลงทุนที่เสี่ยงไม่มาก เช่น
- ประกันเป็นสิ่งหนึ่งที่สำคัญ จ่ายไม่เยอะ มากมายอะไร แต่เมื่อต้องใช้มามันก็อุ่นใจ

- ทองคำ(ในแบบซื้อเก็บ) เน้นว่าไม่ใช่การซื้อมาขายไป อันนั้นเสี่ยงกว่าหุ้น เยอะ ปันผลไม่มีถือเป็นข้อเสียของมันอย่าหนึ่ง แต่ถ้าหาจังหวะซื้อเก็บไปเรื่อย ยังไงก็คิดว่าอัตราการพิมพ์เงินเพิ่มเยอะๆ อย่างทุกวันนี้จะไม่ลดลงง่ายๆ มีเงินในตลาดเยอะเงินก็มีค่าน้อยลงเรื่อยๆตามหลักอุปสงอุปทาน ของที่เพิ่มขึ้นที่ละไม่มากอย่างทองคำ ระยะยาว มันมีเหตุผลที่ราคาจะเพิ่มเรื่อยๆ

- ซื้อที่เพื่อทำเกษตรไว้บ้าง ที่ดินเป็นอีกสิ่งที่ราคามันมักเพิ่มขึ้นเรื่อยๆระยะยาว (แน่นอนว่าคนละเรื่องกับการไปซื้อที่เก็งกำไรนะ) ลองคิดง่ายๆ คนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ความต้องการมันก็มีเพิ่ม ไอ้ที่ที่แพงๆเวอร์ๆส่วนมากมันกระจุกตัวอยู่ในเมือง
ที่ ข้างนอก ตจว พวกนี้ราคาย้งไม่แพงแต่ราคาก็กำลังไล่ขึ้น(ตอนนี้ขึ้นมาแบบน่ากลัวหลายๆจังหวัดทางเหนือทางอีสาน ยิ่งชายแดน ขึ้นโหดอันนี้ก็อย่าไปสนมัน)
ที่ดินเพื่อการเกษตรมันแจ่มกว่าทองก็ตรงที่ มันให้ปันผลนี่แหละ ซื้อแล้วปลูกอะไรไว้สักอย่างยังมีสิทธิ์ได้ เงินปันผลจากมันเรื่อยๆ (อันนี้ประสบการณ์ตรง ซื้อที่ถูกๆไว้ เมื่อหลายปีก่อน ตอนนี้ ราคาพุ่งเกิน2เท่าในแบบที่คนมาเสนอซื้อนะ เราไม่ได้ไปเสนอขาย แถมปลูกต้นไผ่ และต้นยาง หรืออื่นๆ ตามชอบ ไว้ทิ่งๆขว้างๆ กลับได้ขายผลผลิตมัน ซะงั้น เยอะกว่าปันผลจากหุ้นเทพๆเมื่อเทียบกับเงินต้นอีกจะบอกให้)

- ลงทุนกับงานที่เหมาะสมกับตัวเรายามมีอายุมากขึ้น อันนี้มุมมองในอนาคต ส่วนตัวล้วนๆ เทรนด์ของโลกนี้มันเปลี่ยนแล้ว เราไม่ได้อยู่ในยุคอุตสาหกรรมอีกต่อไป กำลังการผลิตไม่ได้มาจากการใช้คนจำนวนมากอีกแล้ว ในอนาคต คนคนเดียวอาจจะสามารถสร้างผลตอบแทนได้มากกว่าโรงงานทั้งนิคมก็ได้ สินค้าเปลี่ยนไปและความรู้มันก็ถูกปรับให้เข้าถึงง่ายมากขึ้น คนจะเกษียรอายุ ตอน 65 ปี นี่ไม่ใช่เรื่องจริงแน่นอน ไม่มีคนแก่ที่ไหนอยากนั่งกินนอนกินหรอก เขาต้องการมีอะไรทำ เมื่อไหร่อายุถึงขนาดนั้นก็จะเป็นเหมือนกันนั้นแหละครับ
จะไปหวัง ให้บริษัทหรือ หน่วยงานที่เราทำงานให้ มาเลี้ยงเราตลอดไปเหมือนยุคพ่อยุคแม่นั้นเห็นจะไม่ง่าย
เราต้องหาเวทีในฐานะปัจเจกบุคคลที่มีคุณค่า จะทำยังไงให้มีเวที เราต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญอะไรสักอย่าง

มีช่างไม้อายุมากแล้วคนนึงเปิดเว็บเกี่ยวกับงานช่างทางไม้ พี่แกทำเงินได้ปีละเป็นล้านๆเหรียญ โดยที่ไม่ต้องไปเหนื่อยสร้างเหนื่อยทำเหมือนหนุ่มๆ อันนี้มีจริงผมจำชื่อเว็บแกไม่ได้ละ

อันหลังนี้สำคัญ คุณชอบคุณถนัดอะไร อย่าเก็บมันไว้คนเดียว ถนัดเย็บผ้า ถนัดทำกับข้าว ถนัดแต่งหน้า ถนัดเชื่อมเหล็ก หามันให้เจอแล้วแสดงมันออกมา เทคโนโลยีสมัยนี้มันถูกทำมาเพื่อปัจเจกบุคคลโดยแท้จริง ให้ได้แสดงตัวตนว่ามีเราอยู่ คนอื่นๆที่สนใจเรื่องเดียวกัน เขาก็พร้อมที่จะมาหาเราอย่างง่ายและเร็ว

ใช้มันให้เป็นประโยชน์ อันนี้แหละที่จะเป็นตัวเฟืองสำคัญที่จะทำให้เราชนะเงินเฟ้อ และยังทำให้ชีวิตในวัยชราของเรามีคุณค่า มีอะไรทำ ไม่อยู่แบบเซ็งๆ แน่นอน

ปล1 ผมยังไม่แก่นะ


วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

วิเคราะห์กราฟ ราคาทองคำ กราฟทองคำประจำวันที่ 22 -7-2013

‪กราฟทองคำ‬ เข้ามาใกล้ จุดที่เป็น เวฟ{1} ที่เราตั้งเป้าหมายให้เป็นเวฟ {4} แล้ว สิ่งที่ต้องระวังต่อจากนี้ คือถ้าย่อแล้วเด้งเริ่มทำ divergence หรือกำลังตกเมื่อไหร่ ก็เตรียมเซฟ ตัวเพราะอาจจะเป็นการลงเพื่อทำเวฟ {5} ซึ่งถือเป็นการจบ {v} ไปด้วย เวฟ 4 ปกติไม่ทับซ้อนกับเวฟ 1 แต่มีข้อยกเว้นให้ทับได้ ในตลาดพวกฟิวเจอร์ หรือสินค้าที่มีการเก็งกำไร สูง เช่นทอง เพราะฉะนั้น
   




จาก {4} ถึง ตำแหน่งที่ {2} วางอยู่ ตรงนี้ ต้องจับตาให้ดี กำลังตกเมื่อไหร่ น่าจะได้เห็น {5}ซึ่งจบ {v} ด้วย

ทีนี้มาดู ‪กราฟทองคำ‬ ภาพรวมของขาลง จะเห็น วงกลมสีเหลือง 3 วง 


- วงแรกเป็น เวฟ i(a) ซึ่งหมาความว่า อาจจะเป็น ขาลงเวฟ แรกของมัน หรือ จะเป็นเวฟ a ในขาลงแบ abc
- วงที่สอง เวฟ ii(b) ซึ่งหมายความว่า อาจจะเป็นขาลงเวฟที่ 2 ของมัน หรืออาจจะเป็นเวฟ (b) ในขาลงแบบ abc
- วงที่สาม ที่มุมล่างๆ มันคือเป้า ที่จะเป็น {v} ซึ่งเป็นจุดจบของ iii(c) นั้นหมายถึงแถวๆนั้นเมื่อราคาลงไปถึงแล้วเด้ง อาจจะเป็นขาลงเวฟที่ 3 ของมัน หรือเป็นการจบขาลงรอบนี้ที่เวฟ c นั้นเอง

ถ้ามีการเด้งที่ วงกลมวงสุดท้ายหรือที่เราตั้งสมมุติฐานว่าเป็นเวฟ iii(c) จุดวัดว่าเป็น แค่เวฟที่3 หรือ iii ของขาลงใหญ่(นั้นหมายความว่าจะมีการเด้งแล้วลงใหญ่เป็นเวฟที่ 5 หรือ v ใหญ่อีกนะ) หรือว่า เป็นการจบขาลงใหญ่แค่เวฟ c ก็ดูเมื่อมัน เด้งมาที่ เวฟ i(a)ถ้าผ่านฉลุยก็มีสิทธิ์จบขาลง แต่ต้องไปวัดด่านสุดท้าย ที่ไฮเดิมแถวๆ 1912 นั้นอีกที ถึงจะกลับเป็นขาขึ้นจริง

จะเห็นว่าเส้นทางยังอีกยาวไกลถึงจะถือว่าเป็นขาขึ้นเต็มที่

ตอนนี้ที่จะดูดีที่สุด คือลุ้นให้จบแค่เวฟ c อย่ามีขาลงอีกดอก เป็นเวฟที่ 5 แล้วกันครับ

สำหรับเพื่อนๆที่สนใจศึกษาเรื่องนี้ ซึ่งผมว่าช่วงขาลงที่ผ่านมานี้มันเป็นเคสที่ค่อนข้างตรงไปตรงมา เหมาะแก่การศึกษา Elliott wave เป็นอย่างยิ่ง ไปดูกราฟเก่าๆ ในแทก ข้างบน หรือเข้าไปค้นหากราฟเก่าใน อัลบัม ได้เลยครับ

มันจะมีเวฟย่อยซ้อนๆใหนเวฟใหญ่ พยายามแยกออกเป็นส่วนๆ จะเข้าใจไม่ยากแน่นอนครับ

วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

มาอ่านใจคนในตลาดหุ้น จากกราฟหุ้นตัวอย่างกันดีกว่าครับ มาลองดูตัวนี้ IT บทที่ 2

จากบทความ อ่านใจคนในตลาดหุ้น บทที่ 1 วันนี้เรามาต่อ บทที่ 2 กันครับ

จากตอนที่แล้วเราดูว่าหุ้นตัวนี้ IT มีรอบราคาเป็นยังไงตั้งแต่เริ่มเข้าตลาด สรุปง่ายๆตอนนี้คือ มี3 รอบใหญ่ ต่ำสุดประมาน 3 บาท สูงสุดประมาน 11-12 บาท ใช้เวลาการขึ้นจากต่ำสุดไปสูงสุด ประมาน ปีหรือปีกว่า ส่วนรายละเอียดนั้นกลับไปอ่านที่บทที่ 1 กันเองนะครับ

   
ในส่วนของบทที่ 2 เรามาจับตาว่ารอบนี้ ณ ตอนนี้ ราคาเป็นยังไง คนในตลาดที่เล็งหรือถือหุ้นตัวนี้อยู่คิดยังไง ก่อนอื่นมาดูกราฟราคาของหุ้นตัวนี้ช่วงขาลงนี้กันก่อนครับ



ผมแบ่งกราฟช่วงขาลงนี้เป็น4 ช่วง (ไม่ใช่ wave นะครับ) ตรงนี้เรามาดูกันว่าแต่ละช่วงคนคิดยังไง ในแต่ละช่วงเราจะวิเคราะห์คน วางแผน และปฏิบัติยังไง

1. ช่วงที่1 ที่เป็นกรอบสีเหลือง ช่วงนี้ ตรงนี้เป็นช่วงแรกๆ ที่เริ่มของขาลงนี้ ช่วงนั้นคนยัง เชื่อกันมากว่าหุ้นยังจะขึ้นต่อ เห็นได้จาก หลังจาก ราคาลงมาแล้วเด้งขึ้นไปไม่น้อย (ถ้าหุ้นปั่นฉาบฉวย มักไม่เด้งเกิน 61.8% ) ก่อนจะลง เกิดสัญญาน divergence จาก rsi ใน Time frame week และ จาก macd ใน Time frame day ยอดตรงนั้นมีขนาด 61.8% ของเวฟ 3 (ตรงนี้ใช้เวฟ 3 วัดเป้าหมายเวฟ 5 นะครับ)

จากสัญญานที่ได้ และขนาดเวฟ ถือเป็นคำเตือนให้ระวังแล้ว (ไม่ใช่ให้ขายเลยนะครับ) หลังจากนั้น ราคาลงมาที่ส่วนที่เป็นเวฟ 4 ของขาขึ้น หรือแถวๆ 8.5 บาท เลย ซึ่งตอนหลังถือเป็นเวฟ 1 ของขาลง ตรงนี้แหละเป็นต้นเหตุให้คนมั่นใจว่าที่เด้งขึ้นนี้อาจจะเป็นการขึ้นต่อ เพราะปกติเวฟ 5 มักจบที่เวฟ 4 นี่แหละ

แต่มีข้อแม้ว่าต้องทำ new hi ถ้าไม่ทำ new hi สมมุติฐานจะกลายเป็น นั้นคือ เวฟ 2 ของขาลง และจะถูก confirm ว่าถูกต้อง เมื่อ มันเบรก ปลายยอดเวฟ 1 ตรงช่วงที่ 1 นี้ Volume ไม่ได้เยอะแยะมากมายอะไร

ช่วงนี้มันเป็นช่วงที่กำลังมีอารมณ์เพลิดเพลินกับการขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ถึง2 ปีครึ่ง เรียกได้ว่าเพลิดเพลินกับ Summer เลยไม่รู้ ว่า Winter is coming. สารพัดข่าวดี อย่างที่เพื่อนๆในเพจเรา พูดไว้ (คุณ RVSS NUI STOCKs) ช่วงนั้นวีไอที่เป็นที่นับถือเข้า ด้วย ทุกคนเลยสบายใจ (Divergence ในกราฟ week ได้นี้ถือว่าเพลินมาก เพราะมันไม่ได้บอกเราแค่สัปดาห์เดียว ลายมันเกิดเป็นเดือนๆ กว่าจะรวมแท่งมาเป็น oscillator แต่ละตัว)

พูดมายาว ไอ้เจ้า แดดอุ่นๆนี่แหละทำให้คนยังไม่เชื่อว่า มันจะลง พวกมีหุ้นส่วนมากก็เลยยังไม่ขาย อีกส่วน อยากให้เบรกทำ new hi ก่อน ค่อยเข้า action เลยเกิดไม่มากนั้ก

 ส่วนจะขายทิ้งก็คือ จุดที่ 1 ทำ new hi ไม่ได้ (ซึ่งถือว่าเป็นเวฟ 2 ของขาลง) และจุดที่2 คือ ถ้าเบรกลง ตรง 8.5 ที่คาดว่าเป็นเวฟ 1 ของขาลง เบรกตรงนั้นก็นรกแตก เพราะเป็นเวฟ 3 เต็มตัว

สรุปช่วงที่ 1 
VOLUME ช่วงนี้ไม่เยอะ เพราะ เกิดความไม่แน่ใจขึ้นของสองฝั่ง (ความไม่แน่ใจนี่แหละทำให้จะโยนทิ้งหรือซื้อเพิ่มเกิดขึ้นไม่ได้ อันนี้สำคัญเดี๋ยวสรุปตอนท้ายอีกทีครับ) แดดอุ่นๆทำให้เราลืมสัญญานหน้าหนาว ราคาลงมา คนหวังรอเทสว่าจะทำ new hi ได้ไหม (ซึ่งไม่ผิดก็ควรทำแบบนั้น แต่จะให้ดีควรเซฟกำไรบ้าง)

2. ช่วงที่ สอง ตรงเส้นทีน้ำเงินช่วงนี้จะเป็นช่วง confirm หน้าหนาวแล้ว ครับ เบรก 8.5 หรือเบรกเวฟ 1 ถือเป็นการเข้าเวฟ 3 เต็มกำลัง พวกที่ยึกยักกระจ่างชัดแล้วว่า Winter is coming จริงๆ นับตั้งแต่ จบรอบแรกของหุ้นตัวนี้มา ครั้งนี้ถือเป็นช่วงโวลุ่มสูงสุด ไม่ต้องสงสัย ว่าข่าวผลประกอบการไม่ดีเหมาะที่จะออกสุดก็ช่วงนี้แหละ(อันนี้ผมไม่ได้เช็คเวลานะ แต่ ปีนั้นกำไรหายไปเกินครึ่ง ) จากรูปจะเห็นโวลุ่ม ช่วงที่ 2 นี้พุ่งปรี๊ดเลย รวมเวลา 8 เดือน มูลค่าหายไป ประมาน 60 %

สรุปช่วงที่ 2
ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาที่คนส่วนมากรู้ชัดแล้วว่า หน้าหนาวมันมาจริง ถูก confirm ครั้งที่ 1 ไม่ทำ new hi confirm ครั้งที่ 2 คือหลุด เวฟ 1 ที่ 8.5 นั้น เมื่อตลาดมั่นใจ (ความมั่นใจไม่ได้หมายแต่มั่นใจในเรื่องดีนะครับ) ความมั่นใจ คือ การไร้ควมคลุมเครือแล้ว ไม่ต้องสงสัยอะไรแล้ว นี่แหละ เป็นช่วงเวลาของ volume มันจะพุ่งเพราะคนไม่ต้องรอเช็คอะไรอีก

3. ช่วงที่ 3 ความหวังเล็กๆของคนที่หนีไม่ทัน ก่อนเริ่ม ช่วง 3  volume เริ่มลดลง เกิด สัญญาน bullish divergence ใน Time Frame day ตรงนี้เป็นช่วงหวังเด้ง เวฟ 4 ซึ่งเป้าหมายทางทฤษฏี มันขึ้นไปได้ถึง เวฟ 1 เลย(ถึงหรือน้อยกว่านั้น)Volume จึงเข้าช่วงนั้นอีกที  แต่ Momentum ช่วงที่ลงมามันแรงมาก เวฟ 4 ที่ว่า มันเลยมีความคลุมเครือสูงว่าจะขึ้นไปได้ไกลไหม นั้นจึงทำให้เด้งตรงนั้นสั้นๆ(และในกรณีที่แย่กว่านั้น ตรงนั้นอาจจะเป็นแค่เวฟที่ 4 ย่อยของเวฟ 3 หลัก)

สรุปช่วงที่ 3
ช่วงนี้เป็นช่วง ที่มีคนสองกลุ่ม ขัดแย้งกันสูง กลุ่มแรก คือคนที่คิดว่าจุด 100% ของเวฟ 1 นี้จะเป็นเวฟ c จบการลง กลุ่มสอง คือ ไม่ทันขายรอบแรกกะขายเด้งรอบ เวฟ 4 (ส่วนกลุ่มเก็งกำไรหลักๆผมว่ามันเผ่นกันหมดแล้ว) ความโหดความแรงของ Momentum ของการหลุดทำช่วงที่ 3 ยังกดให้ 4 ไม่สามารถขึ้นไปได้สูงมากนัก

4. ช่วงที่ 4 ช่วงปัจจุบันนี้ ทิศทางยังชี้ลง แต่ โวลุ่มมันน้อยลงเรื่อยๆเช่นกัน นั่นทำให้ Momentum มันแรงน้อยลงด้วย ทำไมเป็นแบบนั้น เพราะว่า พลังมันโดนปล่อยไปมหาศาลช่วง 2-3 ราคาที่ลงมาตอนนี้ มันจึงเอื่อยๆ

จาก ช่วงที่ 1 มาถึงช่วงที่ 4 นี้ถ้าใครยังไม่ขาย เขาก็คงไม่ขายแล้วละ และราคาตรงนี้มันมาใกล้เคียงกับ ฐานของ 2 รอบที่ผ่านมา (ดูที่ บทที่ 1) ซึ่งถือเป็นแนวรับที่ดี  ที่ราคา 2บาทกว่า จะทำให้สมมุติฐานที่ว่าตรงนี้เป็นเวฟ 5 ที่มีขนาดพอๆกับเวฟ 1 เป็นจริง  และตรงนั้น pbv จะต่ำกว่า 1 เท่าด้วย

ถ้ามีการเด้งสักหน่อยก่อนทำ new low จะยิ่งทำให้เห็นภาพการ divergence ชัดขึ้น ด้วยแนวรับสำคัญๆ และ การขายจำนวนมากที่ผ่านมา มันมากพอที่จะทำให้ เกิดความคลุมเครืออีกครั้งในเรื่องของการกลับตัว (Divergence) นั้นเป็นเหตุให้ Volume ตอนนี้ลดลงอย่างต่อเนื่องเพราะคนต้องการนั่งสังเกตุการณ์ มากกว่า จะ take action อะไรสักอย่างในช่วงนี้ 

สรุปช่วงที่ 4
ช่วงนี้ ว่ากันตามอารมณ์ตลาดล้วนๆ เมื่อเทียบกับช่วง 2 กับ 4 นี้ ความอยากขายน้อยลงมาก แต่ความอยากซื้อก็ยังไม่ได้กลับมา ไอ้ความอยากที่น้อยลงมากสวนกับทิศทางนี้แหละคือความหมายที่แท้จริงของ divergence คนส่วนมากมักคิดว่า Divergence แล้ว ซื้อเลย ขายเลย กลับทิศแน่นอน ที่จริงมันคือสัญญานให้เราระวัง ให้จับตาให้ดีๆ

ถ้าเป็นการวิ่งแข่ง ตรงนี้ก็คือการ

  1. เข้าที่
  2. ระวัง
  3. ไป

ไอ้ตรงไปนี้จะไปไหนก็ดูทิศทางที่มันเบรกนั้นแหละครับ

ก่อนนี้ที่ผมเขียนโปรยที่หน้า page ว่า  Volume วันหวยออกแต่ละวันทำไมไม่เท่ากัน ก็เพื่อจะชี้ให้เห็นว่า เหตุการณ์ที่ทำให้ความคลุมเครือเหลือน้อยที่สุด นั้นแหละจะสร้าง Volume ไม่ทางไดก็ทางหนึ่ง

เราจะพูดกันในประเด็นที่ว่า ความมั่นใจ สร้าง Volume นะครับ ไม่ใช่ประเด็นว่าห้วยเด็ดหวยดังต้องถูกต้องได้เงิน

คนเล่นหวย ถ้างวดนี้ได้เลขเด็ด อาจารย์ดังมา ก็เท่ากับ กิเลศได้เบรกแนวต้านไปแล้ว อาจารย์ยิ่งดัง ความรู้สึกของเขาต่อความคลุมเครือว่าจะไม่ถูกยิ่งเหลือน้อย หลังจากความคลุมเครือทางความเชื่อเขาหมดไปเหตุการณ์ หลังจากนั้นก็คือ แห่ซื้อสิครับ หลังจากนั้น ความจริงก็ปรากฏเหมือนทุกงวด ไม่ต้องให้บอกว่าผลลัพธ์มันเป็นไง(แต่มันก็ไม่ใช่ประเด็น เพราะประเด็นของเราคือ Volume ชะลอตัวเมื่อมีความคลุมเครือ และพุ่งกระหน่ำเมื่อความคุมเครือนั้นน้อยลงไปหรือหมดลง)

อันนี้เรื่องจริงประสบการณ์ตรง จากคนใกล้ชิด(ผมไม่ได้ขายนะ 555 )ยิ่งเลขเด็ดดัง มาเจ้ามือเห็น Volume แล้วต้องกลัว กลัวหมายถึงไม่กล้ารับหมด บ้างก็ลดเงินรางวัล บ้างก็แบ่งโยกไปให้เจ้าอื่นบ้าง นั้นถือเป็นการบริหารความเสี่ยงแบบเจ้ามือหวย 5555

คุณจะมองหาอะไรจากกราฟก็ตาม สิ่งที่ง่ายสุดขอให้มองหาสิ่งที่มันมี ไปมองว่ามันจะขึ้นไปเท่านั้นเท่านี้ มันมองหาสิ่งที่มันไม่มี โอเค มันมีวิธีว่ามองว่าอาจจะขึ้นไปไหนยังไงจริง ถ้ารู้ก็ดี มันมีประโยชน์ แต่ถ้าเอาสิ่งนี้สิ่งเดียวมาเทรด ถือว่าเสี่ยงมากนะ

มองให้ออกว่าเขาคิดอะไร กันอยู่ สิ่งที่เป็นไปได้มีอะไรบ้าง แล้วเอาสิ่งที่ได้จากการตีความนั้นไปทำจัดการกับระบบเรา มันคือเอาทั้งหมดที่ได้นั้นไปวางเงื่อนไข ถ้าไปทางนี้ เราจะทำแบบนั้น ไปทางโน้นเราจะทำแบบนี้ ตอนนี้คนคิดแบบนี้โอกาสทางไหนมากน้อยกว่ากัน ระบบใครระบบมัน จัดให้ดีไม่มั่ว โอกาสต่อยถูกมากกว่าวืดแน่นอน


ระยะสั้น หุ้นกำลังก่อ pattern เพื่อเทสทิศทางสั้นอยู่  ถ้าเด้งช่วงนี้เด้งจริงเด้งหลอกดูทิศทางประกอบ แล้วอย่าไปหวังรอข่าวดี มันจะมาก็โน้นแหละ ก่อนหุ้นตกสามวัน

ผีกิเลศที่หลอก เซอร์ ไอแซ็ค นิวตั้น จนเจ็งใน วิกฤตการณ์ เซาท์ซี เมื่อหลายร้อยปีก่อน มันก็ผีตัวเดียวกับที่หลอกคนเล่นหวยโลภๆที่มั่นใจเกินเหตุในเครื่องมือของตัวเองนี่แหละ 





วันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

มาดูราคาน้ำมัน NYMEX‬ เทียบกับกราฟ หุ้น PTT กันดูครับ

‪#‎NYMEX‬ ทำท่าเบรกแล้วนะครับ ถ้ายืนได้ก้าวต่อไป 120 จับตาหุ้นน้ำมันกับรอบต่อไปนี้ไปในตัว

แล้วก็เอิ่ม แก็ซโซฮอล สี่สิบเอ็ดบาทและ




   
ดูกราฟ น้ำมันเทียบกับ ‪#‎ptt‬ ทรงเดียวกันเป๊ะ สมมุติฐานเวฟ 4 แต่ ptt ยังไม่เบรก แนวต้านเป็นเส้นเทรนด์ไลน์เป็นจุดแรก จุดต่อไปคือที่ fibo 61.8% หรือ365 บาท ถ้าเบรกได้ไปเวฟ 5 ส่วนแนวรับ325 และ เส้นเทรนด์ไลน์เส้นล่างตามลำดับ


วิเคราะห์ กราฟSET‬ ประจำวันที่ 16-7-2013

‪#‎กราฟSET‬ ต้านหลักอยู๋ที่1475 ต้านรอง 1465(ให้สมมุติฐานเป็นเวฟ I ของเวฟ 3) แนวรับแรก 1430 และ 1410 ตามลำดับ (ที่แนวรับทั้งสองให้สมมุติฐานเป็นเวฟ II ของเวฟ 3)

วันนี้โวลุ่มจุ๊บจิบเพราะราคาใกล้ EMA200 ซึ่งเป็นตัวช่วยหนุนสั้น และปิดชิดแนวต้านเทรนด์ไลน์เส้นบน ซึ่งเป็นต้านสั้น 

อยู่ในช่วงที่ต้องรอครับ จนกว่าจะเบรกตามสมมุติฐาน(ตาม) หรือ เบรกเปลี่ยนสมมุติฐาน(คัทลอส)




   

มาอ่านใจคนในตลาดหุ้น จากกราฟหุ้นตัวอย่างกันดีกว่าครับ มาลองดูตัวนี้ IT

IT หุ้นที่หลายๆคนคิดว่าโดนข่าวเรื่องกิจการย่ำแย่ พอข่าวพวกนี้ออกมา ความคิดคนเรื่องการบริการแย่ก็ออกมาอีก เรามาดูกันว่าหุ้น IT มันมีลักษณะรอบ ลักษณะนิสัยของหุ้น และนิสัยความรู้สึกของคนที่ถือตัวนี้อยู๋ในตอนนี้เป็นยังไงบ้าง

บทที่ 1 ดูมัน(IT)ตั้งแต่เริ่มเข้าตลาด
เข้าตลาดมาเมื่อแถวๆเดือน 6 ปี 2003 ราคาแถวๆ 3 บาท หลังจากนั้นก็เริ่มรอบแรกเลย


   
  • รอบที่ 1 คือราคาขึ้นไปจนถึงช่วงสูงสุดแถวๆ 11.5 เมื่อเดือน 11 ปี 2003 นั้นเลย หลังจากแตะจุดสูงสุด ได้ประมานเดือนหนึ่ง ราคาหุ้นของ IT ก็กระโดดลงมาจนถึง ราคา 3.8-3.9 ในเดือน 7 ปี 2005  สรุปรอบแรกนี้ กินเวลา 2 ปีเต็มราคาวิ่ง เกือบ 4 เด้งก่อนลงมาสูงกว่าราคาเปิดนิดหน่อย 
  • รอบที่ 2 เริ่มต้นเมื่อ เดือน 7 ปี 2005 นั้นเอง สังเกตุว่าไม่ได้ไซด์เวย์นานนะ แล้วรอบที่ 2 นี้ราคาก็ไปจบที่ 10.7 บาท เมื่อแถวๆ เดือน 5 ปี 2006  ใช้เวลาในการขึ้นมา 2 เท่ากว่า ประมาน 10 เดือนแต่ขาลงรอบนี้นานหน่อยไปจบที่ แถวๆ 3.5 บาท เมื่อ เดือน 3 ปี 2009 กินเวลา 3 ปีกว่าๆ แล้วก็เริ่มรอบต่อไปเลย
  • รอบที่ 3  รอบล่าสุดนี้เริ่มเมื่อแถวๆเดือน 4 ปี 2009  จากราคาแถวๆ 3.5 บาท ไปจบที่ 12.6 บาท ในเดือน 9 ปี 2011 กินเวลา 2 ปีกว่า ขึ้นมา อีกเกือบ 4 เท่า ก่อนที่จะกระโดดลงมาจนถึงทุกวันนี้ (16-7-2013) ที่ราคา 3.28 บาท รวมเวลาเริ่มต้นรอบนี้จนถึงตอนนี้ ใช้เวลา 4 ปีกว่าแล้ว ถือว่านานกว่าทั้งสองรอบที่ผ่านมาครับ

คำถามท้ายบท ข้อ 1 ทั้ง 3 รอบที่ผ่านมา ราคาขึ้นและลงมาพอๆกัน เป็นรอบที่เหมือนกัน คุณคิดว่า ตอนจบรอบทั้ง 3 รอบนี้ กิจการไอที ของหุ้น IT ตัวนี้มันแย่มากๆเหมือนที่เรารับรู้ในครั้งล่าสุดนี้หรือเปล่า ตอบกับตัวเองให้ซื่อสัตย์ที่สุด จะได้รู้ว่า อะไรกันแน่ที่พาหุ้นวิ่ง ข่าวกิจการแย่ หรือว่ารอบเก็งกำไรครับ

บทที่ 2 จะไปดูว่า ตอนนี้คนคิดยังไงตั้งแต่เริ่มรอบที่ 3 มาจนถึงวันนี้ ตรงนี้มีอะไรน่าสนใจเยอะแยะ รับรองว่าสนุกที่ได้อ่านใจคนอื่น และรับรองว่าสุดท้ายคุณจะได้เห็นจิตใจตัวเองด้วย ว่าที่เราคิดมันถูกมากน้อยแค่ไหน 

อย่าลืมติดตามบทที่ 2 เร็วๆนี้ครับ