วันอังคารที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2556

สรุปความจากหนังเรื่องข้างล่าง inside job part 2



จาก  สรุปความ inside job part 1 เราจะเห็นแล้วว่าอนุพันธ์หนี้ เกิดได้ยังไง ต่อไปนี้เรามาดูว่าสินค้าตัวนี้มีองค์ประกอบและคนเกี่ยวข้องคือใครบ้าง แล้วไอ้มาม่าซองนี้ทำไมคุณภาพมันตกต่ำลง จนคนซื้อกินขี้แตกกันเป็นแถว

   
ก่อนอื่นตามความคิดส่วนตัวของผม หนี้มันไม่ใช่เรื่องเลวร้ายนะ หนี้มันคือโอกาสถ้าใช้ให้ถูกที่ ให้ยืมถูกคนมันก็สร้างกำไรได้

ยกตัวอย่างในสังคมไทย ถ้าผมจะให้ใครกู้ยืมรายย่อยๆ ผมเลือกให้ข้าราชการกู้ได้เลย หักจากบัญชีเงินเดือนที่รัฐบาลจ่ายให้ ซึ่งเสมือนว่ารัฐบาล เป็นคนค้ำประกันให้

จึงไม่แปลกว่าคนกลุ่มนี้ บางทีถ้าเทียบในระดับเดียวกัน เขามีอำนาจการกู้ได้สูงกว่า เจ้าของธุรกิจ SME เล็กๆอีกนะ คิดง่ายๆ ครูคนหนึ่ง แค่ไปทำประกันชีวิตเสร็จแล้ว เขามีอำนาจการกู้ได้ถึง 3-5 ล้านง่ายๆเลยไม่ต้องมีไรค้ำประกันด้วย นอกจากเพื่อนๆเขามาเซ็นกริ๊กเดียว โอกาสเบี้ยวแทบไม่มี จะจ่ายหนี้ขั้นต่ำ หรือโป๊ะก็ไม่ว่ากัน แต่อัตราผลตอบแทนจาก ดอกเบี้ยให้ผู้ให้กู้ แทบจะเชื่อขนมกินได้ คือมีความแน่นอนสูง

แบบนี้ถือว่าเป็นผู้กู้ชั้นดี ในอเมริกาเรียกผู้กู้แบบนี้ว่า ผู้กู้กลุ่ม Prime กลุ่มนี้จึงถือว่าเป็นวัตถุดิบชั้นดีของ อนุพันธ์หนี้ คือถ้าเอาเฉพาะลูกนี้ กลุ่ม Prime ไปทำอนุพันธ์ ปัญหาคงไม่เกิด

ละกลุ่มผู้กู้ไว้ก่อน ไปดูว่า พวก ธนาคาร กับ พวกวานิชธนกิจ มีรายได้จาก อนุพันธ์หนี้ นี้ยังไง ง่ายๆรายได้ขั้นแรกก็คือ

ค่าคอมมิสชั่นในการขายสินค้า ยิ่งมีอนุพันธ์หนี้ มาขายให้ประชาชนมากๆพวกวานิชธนกิจยิ่งมีรายได้เยอะ โบนัสไม่ต้องพูดถึง เรียกว่าเงินทองไหลมาเทมา เสพยา ซื้อบริการ กันเป็นเรื่องปกติ มีเรื่องเล่าในสารคดี บอกว่าค่าตัวโสเภณีถูกเขียนลงบิลของบริษัทว่าเป็น ค่าคอมพิวเตอร์ด้วยซ้ำ นั้นแสดงให้เห็นความมันส์ ของการใช้เงินที่ได้จากการขาย อนุพันธ์หนี้ มันสูงแค่ไหน

ส่วนธนาคารก็ยิ่งชอบ เอาง่ายๆเมื่อเอา อนุพันธ์หนี้ไปขายให้นักลงทุน ก็เท่ากับว่า ธนาคารไม่ต้องแบกรับความเสี่ยงการเบี้ยวหนี้ของผู้ขอกู้ เอาเป็นว่าตรูมีหน้าที่ให้กู้ ส่วนคนกู้จะจ่ายคืนหรือไม่จะสนทำไม เพราะคนรับความเสี่ยงคือนักลงทุนที่มาซื้อ CDO ถ้าเขาไม่จ่ายธนาคารก็ไม่ได้ซวยอะไร

เมื่อเป็นเช่นนี้ ธนาคาร เลยไม่ไตร่ตรองผู้ขอกู้ให้ดี ใครขอกู้มาตรูจัดให้ นั้นเป็นที่มาของลูกนี้กลุ่ม SUB Prime

SUB Prime คือลูกนี้กลุ่มที่กู้แล้วใช้คืนบ้าง ไม่ใช้คืนบ้าง มีประวัติการชำระหนี้ไม่ดี โดยปกติ กลุ่มนี้จะกู้ซื้อบ้านซื้อรถ ยากมาก เพราะเครดิตไม่ดี วินัยการเงินไม่ได้เรื่อง

แต่เมื่อความโลภ ครอบงำเสียแล้ว ธนาคารก็ไม่สนแล้วหล่ะว่ากรูจะให้ตาสีตาสาที่ไหนกู้ ปล่อยกู้ทำยอดสิครับ ได้รับเงินผลตอบแทนเพิ่มด้วย ธนาคารเงินไม่มีก็อย่างที่บอกใน Part ที่แล้วว่า เขาล๊อบบี้ให้รัฐบาลผ่อนปลนการกู้เงินไว้แล้ว

กู้เงินเมืองนอกเอย ธนาคารท้องถิ่นเอย เอามาปล่อยให้พวก SUB Prime เอายอดคอมมิสชั่น สบายใจเฉิบ

เมื่อกู้เงินซื้อบ้านได้ง่ายๆ ราคาอสังหาริมทรัพย์ในอเมริกา เลยพุ่งสุดขีด เพราะใครๆก็อยากได้บ้าน แล้วใครๆก็ดันกู้ได้ คนที่มีบ้านแล้วก็ยิ่งกู้อีก ใช้บ้านหลังเดิมค่ำได้อีกหลายเด้งเลย เพื่อเก็งกำไร ฟองสบู่อสังหาเลยพองเต็มที่ แล้วมันจะมีคนจุดระเบิดเมื่อบริษัท GM จะเจ้งนั้นแหละ อันนี้ว่ากันรอบต่อไปอีกที

ตรงนี้หยุดคิดเปรียบเทียบกับกรณีผลิตมาม่า ไอ้การระห่ำถึงขนาดปล่อยหนี้ให้ คนที่ไม่มีวินัยทางการเงินกู้ได้ง่ายๆ ตรงนี้ทำให้ อนุพันธ์หนี้ได้รับวัตถุดิบด้อยคุณภาพเข้าไปแล้ว

สินค้าที่เราพูดถึงมาแต่ต้นคือ อนุพันธ์หนี้ หรือ CDO ถ้าหนี้ที่เอามาทำอนุพันธ์นี้ถูกสร้างมาจากลูกหนี้ชั้นดี อันนั้นมันก็แจ่ม ถือว่าเป็นมาม่าน่าทาน แต่เมื่อมันกลายเป็นลูกหนี้ชั้นเลว ก็๋เตรียมขี้แตกกันได้เลย รอแค่เวลาที่พวกลูกหนี้ SUB Prime พวกนี้ตกงาน ไม่มีปัญญาจ่ายหนี้แค่นั้น ระเบิดก็จะลง

เราจับจุดสังเกตุ ความคลั่งในการเร่งปล่อยกู้เพื่อเอาคอมมิชชั่นตรงนี้จะเห็นว่า ในมุมมองของ นักธนาคารพวกนี้คือ มันเป็นเงินที่ได้มาง่ายมาก คุณไม่มีต้นทุน ไม่ต้องเสี่ยงอะไรเลย เงินก็กู้เขามาอีกทอดเพื่อมาปล่อยกู้ แล้วมีนักลงทุนที่มาซื้อ CDO ต่อรับความเสี่ยงต่อไปอีกทอด

นักการธนาคารที่ทำหน้าที่ปล่อยกู้นี้ก็เหมือนฝ่ายหาวัตถุดิบให้ผลิตภัณฑ์ เมื่อไม่ได้ใช้วิชาความรู้ในการคัดเลือกวัตถุดิบ แต่ดันใช้ความโลภของตัวเอง เป็นตัวทำงาน ปัญหามันก็เกิดระบบ หนี้กำลังจะเสียไป

จึงเกิดคำพูดสุดเทห์ของนักบริหารของเอเชียสองท่าน

"เมื่อคนเราสามารถสร้างอะไรขึ้นมาได้โดยไม่ต้องลงทุนอะไรเลยมันก็ยากที่จะห้ามใจ" ลี เซียน ลุง นายกสิงคโปร์

"วิศวกรจริงๆสร้างสะพานแล้วเขารับผิดชอบกับความเสี่ยงของงานที่เขาสร้าง ส่วนวิศวะกรทางการเงินสร้างผลิดภัณฑ์ทางการเงิน แล้ว คนอื่นรับผิดชอบกับมันแทน" แอนดริว เชง China banking regulatory commission

ใน PART 2 นี้เราจะเห็นแล้วว่า ปัญหามันเริ่มเกิดที่ตรงไหนแล้ว QC วัตถุดิบของสินค้า เริ่มมีปัญหาคนทุกคนมองเห็นแต่ผลประโยชน์ของตัวเองเป็นหลัก ไฟมันเริ่มใหม่ที่ห้องครัวแล้วแต่ทุกคนยังไม่สังเกตุ หรืออาจจะเห็นควันแล้ว แต่แกล้งทำเป็นไม่สน เพราะผลตอบแทนมันล่อใจ

ยิ่งธนาคารปั้มการปล่อยกู้มากเท่าไหร่ วัตถุดิบที่ใช้สร้าง อนุพันธ์หนี้ ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น ความเสียหายก็จะยิ่งขยายวงกว้างออกไปเท่านั้นเช่นกัน

เป็นการเน้นเชิงปริมาณ ไม่ได้เน้นเชิงคุณภาพ ยิ่งทำได้เร็วคนทำยิ่งได้กำไร บริษัทจัดอันดับความหน้าเชื่อถือ ที่ผมเปรียบไว้ในบทที่แล้วว่าคือ แม่ช้อยนางรำ เปิบพิศดาร พวกนี้ก็ทำหน้าที่ตัวเองได้พิศดารจริงๆ ให้เครดิต อนุพันธ์หนี้ของSUB Prime ในระดับสูง

มันคิดได้นะ ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า SUB Prime คือพวกที่จ่ายหนี้ไม่ตรง แต่มันให้เครดิตสูงลิ่ว ระดับ AA โน้นเลย

ถ้าใครไม่ส่งสัยว่าไอ้พวกแม่ช้อยนางรำพวกนี้ ได้เงินจากพวก INVESTMENT BANKER ก็ต้องถือว่าคุณมองโลกในแง่โคตรดี

เมื่อความคลั่งในทุกภาคส่วนซึ่งถูกแทรกซึมอยู่แล้วจากคนจากวอลสตรีท ไม่ว่าจะเป็นรัฐมนตรีคลัง หรือคนทำงานในระดับสูงๆในรัฐสภา ซั่งมาจาก ผู้บริหารระดับสูงของ วอลสตรีท ไม่ว่าจะเป็น goldman sachs,merrill lynch ความอยากได้อะไรก็ได้ ยิ่งกว่ารัฐสภาเมืองไทยก็เกิดขึ้น

ที่น่าเสียใจแทนก็คือลูกค้าสำคัญที่ซื้อ CDO ไปจำนวนมากเป็นพวกกองทุนเพื่อสังคม กองทุนบำเน็จบำนาญต่างๆของอเมริกาด้วยสิ

ความเชื่อว่าการเอาเงินไปลงทุนดีกว่าเอาไปฝากให้เน่าอยู่ในธนาคารกำลังจะถูกสั่นคลอนก็คราวนี้ แล้วปัญหานี้ จะตามมาหลอกหลอนสังคมมะกันอีกนาน เพราะความโลภครั้งนี้

แค่นี้ยังไม่จบต้องมี PART ต่อไปแน่นอนครับ สินค้าอีกตัวกำลังจะโผล่อออกมา นั้นคือ ประกันของอนุพันธ์หนี้ ตรงนี้ยิ่งโคตรมันส์ เพราะมันไม่ใช่ประกันธรรมดา คุณลองคิดภาพว่า

วันหนึ่งแม่ยายของคุณ ดันคิดว่าคุณใกล้จะตายแกเลยไปทำประกันชีวิตคุณโดยที่คุณไม่รู้เรื่องด้วยได้แบบถูกกฏหมาย พอคุณตายแม่ยายก็ได้เงิน

เพื่อนบ้านเห็นบ้านของคุณเก่าจริงๆเลยคาดว่าบ้านคุณจะไฟไหม้ เลยไปทำประกันภัยกับบ้านของคุณ พอบ้านคุณไฟไหม้ เขาก็ได้เงิน

ความมันส์แค่นี้ถ้าคุณยังคิดว่ามันน้อยไป มาลองดูว่า บริษัท วานิชธนกิจทำตัวเหมือน พ่อค้าขายบ้านหลังงามให้คุณโดยที่พวกเขารู้อยู่แล้วว่าปลวกกินบ้านไปทั้งหลัง อีกไม่กี่วันบ้านถล่มแน่นอน เมื่อคุณรับโอนบ้านไปเรียบร้อย เขาก็ไปซื้อประกันในบ้านของคุณอีกชั้นเพื่อกินกำไรเพิ่มจากการหลอกขายบ้านเน่า และ เงินประกันสองเด้ง

เรื่องจรรยบรรณ ธรรมาภิบง บรรษัทภิบาร อย่าไปถามหา โลกนี้มันเป็นแบบนั้น Part 3 จะมาดูความหน้าด้านของบริษัทวานิชธนกิจเหล่านี้ ว่าเขาจะทำได้ขนาดไหน เมื่อพวก subprime ไม่มีปัญญาจ่ายหนี้แล้ว

แล้วไปรู้จักกับ AIG บริษัทมหาซวยที่มารับเคราะห์ ทำประกันให้กับ CDO ทั้งมันส์ทั้งสงสาร คราวหน้ามันส์แน่นอนครับ

อย่าลืมติดตาม

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น