วันศุกร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

มาทำไดอารี่การลงทุน ไดอารี่ กราฟหุ้น กันเถอะ

การทำกราฟเก็บเป็นไดอารี่ มันเป็นการช่วยในการพัฒนาตัวเองนะครับ ไม่ว่าจะเป็นการได้เช็คว่าเราเคยพลาดเพราะอะไร วันหลังได้กลับมาดูจะเห็นว่า ตอนนั้นๆเราคิดยังไง วันนี้ผลออกมาเป็นเหมือนที่คิดไหม

ระบบที่เราวางไว้ มันได้ผลหรือต้องปรับ ถ้าต้องปรับ เราจะมีข้อมูลและหลักฐานที่ผ่านมาไว้เช็คแก้ปัญหา ซึ่งถ้าเราไม่ทำไดอารี่ไว้ มันแก้ปัญหายาก เพราะอารมณ์หรือความรู้สึกต่อราคาปัจจุบัน จะทำให้เราไม่ซื่อสัตย์ 
   

ถ้าเราทำรูปเป็นไดอารี่แบบที่ว่านี้ อีกหน่อยเรามาคลิกเปิดรูปไปเรื่อยๆ เราจะจับ นิสัยของหุ้นแต่ละตัวได้ด้ว

ดังนั้น ถ้าใครอยากฝึกอยากดูเทคนิคให้เก่งให้ดีขึ้น ผมแนะนำว่าควรเริ่มทำไดอารี่เลย ตัวอย่างไดอารี่ของผม จะทำไว้แบบนี้ แยกเป็น folder แยกตามวัน เขียนความรู้สึกของเราต่อ ราคา ต่อหุ้น ต่อ indicator วันไหนเสียเงินมาก็อาจจะเขียนคำด่าใส่กราฟไปบ้าง เพื่อระบายอารม เพลินๆ แถมมีประโยชน์ ลองทำกันดูครับ


ตัวอย่างไดอารี่กราฟของผม

มาลองทำแผนที่กราฟหุ้นส่วนตัวไว้ใช้กันเองดีกว่าครับ

มาลองทำแผนที่หุ้นส่วนตัวไว้ใช้กันเองดีกว่าครับ

ลองเอาไปปรับใช้เพื่อศึกษาหุ้นรายตัวดู กันบ้างครับ เริ่มจาก อย่างที่บอกทุกครั้ง เราไม่ควรฟันธงว่าราคามันจะขึ้นไปถึงไหนถึงจะกลับลง หรือจะลงไปถึงไหนถึงจะกลับเป็นขึ้น

ขอให้รู้ว่าถ้ามันขึ้น ขั้นต่อไปจะไปไหน ถ้าลงจะลงไปไหนแบบนั้นมีประโยชน์กว่า แล้ววางกฏของตัวเองเอาว่าถ้าลง ผ่านจุดไหนเราถือว่ามันคอนเฟิร์มว่าลง อันนี้รายละเอียดของใครของมันตามความเหมาะสมต่อสไตล์ตัวเอง

มาดูจากกราฟที่ตีมาไปเริ่มที่

หมายเลข 0 ตรงนั้นถือว่าเป็นเวฟ ที่ 1 
   
ของรอบใหญ่นี้ เวฟ 1 เตี้ยตามสไตล์เมื่อจบรอบพักตัวก็เริ่มเข้าสูเวฟ 3

หมายเลข 1,4 เป็นสองจุดสังเกตุ ดูยอดคลื่นของเวฟ 3 จะมีขนาดเป็น 161.8% ของเวฟ 1 ใหญ่นะครับ แล้วนอกจากนั้นยังมีขนาดเหป็น 161.8% (อีกแล้ว) ของเวฟ 1 ย่อยของมันเอง

หมายเลข 5 เป็นจุดที่เราต้องระวัง ถ้าราคามันไปถึงตรงนี้ 361.8% ของเวฟ 1 ใหญ่ และมีตำแหน่งใกล้เคียงกันคือเป็น 161.8% ของเวฟ 1 ย่อยของมันเอง

จะเห็นว่าตัวเลขFIBO ที่เรามักใช่มันวนอยู่แค่นี้ ตั้งค่าเครื่องมือให้มันนับ % เพิ่มไปตามที่เคยโพสในบล๊อกให้อ่าน หลังจากนั้นวัดขนาดของเวฟ 1 หรือเวฟ 3 แล้วแต่ถนัด เพื่อหาขนาดคาดการณ์ของเวฟ ถัดไป

ที่จุดที่ตำแหน่งของเวฟได้เลขที่มีนัยยะสำคัญใกล้กัน เราต้องระวัง เมื่อราคาไปถึง คอยจับตาสัญญาน

ไดเวอร์เจนซ์หรือยัง มีพลังหายไปจากกราฟไหม ตามแต่ว่าใครชอบใช้ INDICATOR อะไรจับ

พอทำอย่างนี้แล้ว เราก็จะได้แผนที่ส่วนตัวของหุ้นตัวนั้นๆไว้ใช้ เดินไปใกล้หน้าผาใกล้ดอยจะได้ระวัง

ลองเอาไปฝึกทำเองรับรองมีประโยชน์แน่นอน

เรื่องฟิโบการวัดเวฟ ผมเขียนไว้ในบลีอกถ้าใครสนใจลองหาอ่านเพิ่มได้ครับ ใช้ Fibonacci Retracement ร่วมในการนับเวฟ

เมื่อพ่อรวยสอนลูก ปะทะ กับ ยายจนสอนหลาน อะไรจะเกิดขึ้น

พ่อรวยสอนลูกว่า เงินมีสี่ด้าน มี ESBI หาดูกันได้
ด้านที่ 1 e ลูกจ้าง ทำงานรับเงินเดือน
ด้านที่ 2 s ธุรกิจส่วนตัว ทำธุรกิจบริหารของตัวเอง
ด้านที่ 3 b เป็นเจ้าของธุรกิจ จ้างคนเก่งๆเทพๆมาดูแลธุรกิจของเรา
ด้านที่ 4 i เป็นนักลงทุน ซื้อหุ้นซื้ออะไรหากินกับปันผล
แต่ละส่วนมีข้อดีข้อเสียต่างๆกันไป เป็นสิ่งที่นักเขียนนักพูด แกสอนไว้ว่าอยากรวยก็ทำตามพ่อรว
------------------------------
   
------------------------------------------
ส่วน ยายจนสอนผม เรื่องเงิน 3 ด้าน
ด้านที่ 1 เงินประเภทที่หามาได้แถมคนจ่ายให้เรา อวยพรขอบคุณไหว้ด้วยความเต็มใจ เป็นเงินมงคล เป็นเงินที่หาได้มาแล้ว และเจริญ จ่ายให้ลูกให้หลานเอาไปเรียน(ลูกหลานตั้งใจเรียน แกว่างั้น 5555 )ตัวอย่างก็เช่น หมอ ครู เป็นต้น

ด้านที่ 2 เป็นเงินแบบกลางๆ ทำงานหรือขายของให้เขาเขารับไปจบกันพอใจทั้งสองฝ่าย ถือเป็นการหาเงินที่ดี เพราะเราไม่ไปเบียดเบียนใครหามาได้รู้จักเก็บก็รวย แต่ถ้าเทียบกับข้อที่ 1 แบบแรกจะมีพรรคพวก มีคนรัก มากกว่าเรียกได้ว่าถ้าลูกบวช คนแบบข้อ 1 มีคนมางานเยอะแยะ

ด้านที่ 3 ด้านสุดท้าย หาเงินมาได้มีแต่คนด่าคนแช่งตามหลัง เขาเอาเงินให้เราแล้วแถมคำด่าแช่ง งานประเภทนี้ มักไม่ได้ ไดกูด(ตายดี) ยิ่งหาเงินได้เยอะ ความอัปมงคลจากคำด่าคำแช่ง ก็ยิ่งเยอะตาม อย่าไปถามหาความจริงใจจากคนที่รัก หมดวาสนาเมื่อไหร่ คนจ้องเหยียบเต็มไปหมด งานบวชไม่ต้องถามหาคนจะมาร่วม เอาเป็นว่างานศพ หาคนมาจูงขึ้นเผาให้ได้เถอะ

ตอนนี้ ที่ได้ข่าวล่าสุด พ่อรวยยื่นขอล้มละลายไปเมื่อปีก่อน ส่วนยายจน ลูกหลานเต็มบ้าน คอยดูแลปรนณิบัติ

ที่ต้องการชี้ให้เห็นไม่ใช่ว่าจะเปรียบเทียบว่าอันไหนดีอันไหนไม่ได้เรื่อง ทั้งสองอย่างมีข้อดีของตัวเอง แต่ในสิ่งที่เราคิดว่าเทพ มันก็พลาดได้นะ สำคัญเราอย่าลืมพื้นฐานรากเหง้าความเป็นเราแต่เดิมมา สเนห์ของคนไทยเรามีศาสนา ประเพณี ดีงาม ความกตัญญู ล้วนแต่สำคัญ ตั้งหน้าหาเงินแต่อย่าลืมเรื่องพวกนี้

วันหนึ่งมีเงินพันล้าน แต่ตายอยู่ในบ้านไม่มีคนรู้ จะพูดว่า "ไม่คุ้มเลยกู" วันนั้นก็อาจจะสายไปแล้ว ครับ

ความสำพันธุ์ระหว่างหุ้น เงิน ทอง ฝรั่งเข้าแล้วทำไมถึงออก ออกแล้วฝรั่งจะไปไหนมาดูกัน

เปลี่ยนรสชาติมาดูกราฟเงินบาทเทียบกับ usd กันบ้าง จุดแรกที่จะสังเกตุคือที่กราฟช่วงเดือน 12 ปี 2008 เป็นช่วง แฮมเบอร์เกอร์นั้นเอง 

ตอนนั้นราคาทองอยู่ที่ 680-700 หุ้นไทยอยู่ที่ 400 จุด ค่าเงินบาทอยู่แถวๆ 36 บาท สมมุติฝรั่งคนนึงชื่อ ตาริชาร์ด แล้วแกมีเงินสดอยู่ 10 ล้าน $ แล้วที่บ้านดันมีวิกฤติเศรษฐกิจ จะเอาไปลงทุนอะไรก็น่ากลัว 

เลยมานั่งคิดดูเอาไปเล่นทองดีไหม เออดีว่ะทองมีช่องไปเอาไปลงตรงนี้สักครึ่งนึงละกัน 5ล้านเอาไปซื้อทอง ได้มาที่ราคาสูงสุดของวัน 700$

เหลืออีก 5 ล้านต้องคิดหาที่ลงต่อ ไม่มีใครอยากปล่อยเงินไว้กับธุรกิจที่กำลังไม่ดี ในตอนนี้ (แล้วยิ่งแย่กว่านั้นถ้าเอาเงินเก็บไว้เฉยๆ)

ว่าแล้วตาริชาร์ด เลยคิดเอาง่ายๆว่าประเทศทางเอเชีย หรือชี้เข้าไปอีกพวก อาเซียน มีข้อดีหลายอย่าง น่าเข้าไปลงทุน

หันไปดู pe ก็พอได้นะ หุ้นตอนนี้แค่ 400 จุด แถมบังเอิญชอบพัทยา มาดูโชว์บ่อยๆ เอาเงินดอลเราเข้าไปลงซะเลยดีกว่า ว่าแล้วก็เอา 5ล้านที่มีไปแลกเงินบาท ได้ประมาน 180 ล้านบาท

เอามากระจายซื้อหุ้นเฉลี่ยใน set 50 ละกัน ช่วงที่ซื้อได้คือแถวๆ260-350 จุดของเซท 50 ในช่วง สิ้นปี 2008

ซื้อทอง กับหุ้นอย่างละครึ่งเสร็จแล้ว ตาริชาร์ดก็ ไปนอนอาบแดดตั้งแต่ ภูเก็ต ยันเชียงราย มาวันนี้ 4 ปีผ่านไปไวเหมือน ละครหลังข่าว ริชาร์ดเริ่มเบื่อเที่ยว แล้วเลยเปิดคอมดูพอร์ทที่ตัวเองลงทุนไว้ดีกว่า

เริ่มเช็คทองซื้อไว้ที่ราคา

   
แถวๆ 700 $ ราคาตอนนี้ 1400 ประมานนั้น ตาริชาร์ด เขกหัวตัวเองหนึ่งที่ เพราะมัวแต่เที่ยว น่าจะขายตั้งแต่ที่ ปลายปี 2012 ตอนนั้นลงมาจาก1900 ไปแตะ 1500 กว่าแล้วเด้งขึ้นมาไม่ผ่าน 61.8% หรือแถวๆ 1700 กว่าไปได้ ตรงนั้นเป็นสัญญานขาลง ถ้าไม่มัวแต่เที่ยว ไม่ได้ดู เสียโอกาสไปเลยชิบ

แต่ตาริชาร์ดคิดไปคิดมา เออไม่เป็นไรหรอก ยังไงเราก็ได้เที่ยวตั้งสามสี่ปี ขายตอนนี้ก็ได้ว่ะ 1400 ซัดกำไรไปเท่าหนึ่ง ได้เงินมา 10 ล้าน $ เท่าทุนที่มีแล้ว ที่เหลือในตลาดหุ้น SET กำไรล้วนๆเฟ้ย

ทีนี้ลองหันมาดูหุ้นที่ซื้อ set50 ไว้แถวๆ 300 จุด ก่อนออกไปเที่ยว เวลาผ่านไป 3 ปีกว่า ไม่รู้ไอ้บ้าที่ไหนมาลากไปตอนนี้ก็อยู๋ที่ 1044 จุด โอ้ยกำไรเกิน 3 เด้ง(แบบเฉลี่ย) เงิน 180 ล้านที่แลกมาตอนนี้ โตขึ้นไป เป็น 640 ล้าน

ตาริชาร์ดมานั่งคิดดูว่า จะกลับบ้านตอนนี้ หรือจะอยู่ต่อดี

ถ้าขายหุ้นแล้ว ตรูคงไม่เอาเงินบาท ไปซื้อ เบอร์เกอร์ที่อเมริกา กินแน่ๆ ต้องแลกเป็น $ กลับบ้านดิ เลยเปิดดูกราฟ บาท/$ หน่อยแล้วกัน สายตาเจ้าเล่ห์บ่งบอกว่า อาจได้อีกเด้งจากที่นั้น

โอ้ไอ้บ้าที่ลากเซทขึ้นมามันทำให้เงินบาทแข็งขึ้นด้วยเว้ย สงสัยเป็นเพื่อนฉันที่โน้นมาเที่ยวพัทยาด้วยเหมือนกันแน่เลย

ดูกราฟค่าเงินแล้วตอนนี้มันอยู่ในช่วงเวฟสุดท้ายของขาลงของ $ macd ไดเวอร์เจนซ์มาเรื่อยๆตั้งแต่เวฟ 3 แถมช่วงนี้ยังมีข่าวมาอีกหึ้มๆ ว่า รมต กับ ผู้ว่า หึ้มๆใส่กันเรื่องควบคุมค่าเงินไม่ให้แข็งเกินไป ถ้าโดนแทรกแซงเมื่อไหร่ เพื่อนๆจากที่บ้านคนอื่นๆจะ panic ขนเงินหนีกลับไหมนะ สมมุติว่าขนเงินหนีกลับ ก็ต้องขายหุ้น หุ้นก็ตก แลกเงินกลับบ้านพร้อมๆกัน ก็เท่ากับว่าช่วงนั้นจะมีคนต้องการเงิน $ เงิน $ ก็จะกลายเป็นแข็งค่าได้

เมื่อนั่งคิด 20 นาที พร้อมกับเบีย 2 ป๋อง แล้ว เห็นว่า ทางเทคนิคบอกว่าใกล้กลับตัว รัฐก็เริ่มจับตา แถมตาริชาร์ด ก็คิดถึงลูกถึงเมียไม่ได้เจอหน้ากันมาจะสี่ปีแล้ว

ว่าแล้วก็ตัดสินใจกลับบ้านดีกว่า ขายหุ้นของตัวเองเสร็จ ได้เงินมา 640 ล้าน เอาเงินที่ได้ไปแลกเป็น $ ได้มา 22 ล้าน $

ตั้งแต่หายหน้าหายตาจากลูกเมียมาตั้งแต่วิกฤติ แฮมเบอร์เกอร์ ตาริชาร์ด หอบเงินมาด้วย 10 ล้าน $ เที่ยวทั่วไทยสบายใจเฉิบอยู

่ 4 ปี หอบเงินกลับบ้านไปทั้งหมด 32 ล้าน $ ทีแรกเมียจะฟ้องหย่า แต่พอเห็นตัวเลข เลยหายโกรธ

กลับถึงบ้านที่นิวยอร์กเรียบร้อย ตาริชาร์ด ก็นึกขึ้นได้อีกรอบว่า ชิบหายละไม่อยากถือเงินสด จะต้องหาที่เอาเงินไปลงทุนเหมือนเดิม

แล้วที่ไหนดีน้าที่จะไปเที่ยวอีกรอบ ว่าแล้วตาริชาร์ดก็คิดได้ว่า ขออยู่กับลูกกับเมียสักปี รอดูสถานการณ์ แล้วหาที่พักร้อนรอบต่อไป ไปในตัว หลังจากนั้นพี่แก ก็ย้อนกลับขึ้นไปทำเหมือนเดิม ตั้งแต่ ย่อหน้าที่ 2 เป็นต้นไป

หมายเหตุ ในนักลงทุนจริงคงไม่มีขายทิ้งเพราะคิดถึงเมียจริงๆ แต่มีอะไรที่เหมือนเมียของพวกเขา ก็คือข้อมูล ต่างๆ ที่ชี้ทิศทางได้เหมือนเมีย เปี๊ยบ

ถ้าทางนี้คุ้มกว่าทางนั้นปุ๊บ ก็กลับบ้านหาเมียได้ทันที

ตัวเลข ที่ใช้เขียนในนี้ อาจจะไม่ใช่ว่าทุกคนทำได้แบบนั้นหมด จำนวนกำไรที่ได้ จะไม่เหมือนกันแต่ เงิน 10 ล้าน เพิ่มเป็น 32 ล้านได้ในเทรนด์สินค้า ตั้งแต่ช่วงแฮมเบอร์เกอร์ มาจนถึงวันนี้

สุดท้าย ถ้าคุณเป็นตาริชาร์ด คุณจะกลับ หรือว่าจะอยู่ต่อละ

วันจันทร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ว่าด้วยการซื้อถัว part 1 bad ถัว


หลายๆท่านพอถือหุ้นแล้วผิดทาง ไม่สามารถทำใจยอมตัด cut lost ได้ แต่กลับใช้วิธีการซื้อถัวแทน ซึ่งส่วนตัวผมคิดว่ามันเป็นวิธีการเพิ่มการขาดทุนทั้งทางด้านมิติ ของเงินทุน และมิติของโอกาส ยิ่งไปกว่านั้น เวลาก็จะเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ด้วย มาดูกันว่าทำไมจึงคิดแบบนั้น

1 ในส่วนของเงินทุน ถ้าคุณต้องการเฉลี่ยเพื่อนให้ต้นทุนในการซื้อต่ำลง คุณต้องใช้เงินมากขึ้นเรื่อยๆตลอดช่วงที่ราคายังไม่กลับตัวจริงๆ เช่นถ้าคุณซื้อ หุ้น a ที่ราคา 10 บาท 1000 หุ้นเป็นเงิน 10000 หลังจากนั้นหุ้นตัวเดียวกันนี้ ตกลงมาที่ 9 บาท ถ้าคุณเข้าซื้ออีก 1000 หุ้น 9000 บาท ต้นทุนของคุณจะ เหลือ 9.5 มันฟังดูเหมือนว่าจะดีใช่ไหม จากขาดทุน 1 บาท เหลือขาดทุน 50 ตังค์ 

แต่ที่จริงแล้วคุณไม่สามารถรู้ได้เลยว่าหุ้นมันจะหยุดลงจริงๆเมื่อไหร่ คุณมั้นใจแค่ไหนว่า จุดที่ถัวเป็นจุดต่ำสุดแล้ว ผมยืนยันได้เลย ไม่เคยมีวิธีไหนไม่ว่าจะเทคนิคคอลหรือพื้นฐานบอกจุดต่ำสุดสูงสุดของราคาได้ 100% ในทางเทคนิคคอล มันบอกได้แค่ถ้าลงหรือถ้าขึ้น มันจะไปที่จุดไหนแค่นั้น ส่วนสัญญานการกลับตัวเป็นแค่การบอกว่า มันมีโอกาส(เน้นตัวหนาที่นี่เลย)แค่นั้น มันเป็นเหตุให้มีคำพูดที่ว่า "ไม่มีใครซื้อที่ราคาต่ำสุด แล้วขายที่ราคาสูงสุดได้หรอก" ยกเว้นฟลุ๊ค 

ทีนี้ถ้าจุดที่คุณเข้าซื้อไม่ใช่จุดต่ำสุด จากหุ้นตัวเดิม ลองคิดว่าทีนี้ถ้ามันหล่นไป 8 บาท สิ่งที่คุณจะทำให้ดูเหมือนเป็นการแก้ปัญหานี้ คือ ซื้อถัวเพิ่มอีกสัก 1000 หุ้น รวมเป็นเงินตั้งแต่ไม้แรก 27000 ตกต้นทุน หุ้นละ 9 บาท ขาดทุนอยู่ 1 บาท เหมือนเดิม(ต้องซื้อหุ้นจำนวนมากกว่านั้นถ้าจะให้ต้นทุนต่ำลงอีก) แต่เอาเงินไปจมเพิ่มขึ้นอีกเกือบ 3 เท่า โดยที่ไม่เห็นโอกาสว่า เมื่อไหร่จะได้เอาเงินส่วนนั้นไปหมุนต่อ

การถัวขาลงแบบนี้ มันก็เหมือนกับลิงแก้แห ยิ่งถัวยิ่งถลำลึก ยิ่งถัวยิ่งต้องใช้เงินเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพื่อ รักษา ตัวเลขการขาดทุน ที่จะเพิ่มขึ้น(ยิ่งถัวบ่อย ถ้าคุณใช้เงินในการถัวเท่าๆเดิม ตัวเลขเปอร์เซนต์การขาดทุนของคุณจะยิ่งเพิ่ม แต่ถึงใช้เงินถัวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตัวเงินการขาดทุนของคุณก็จะเพิ่มขึ้นอยู่ดี)


รู้ตัวอีกที อาจจะขาดทุน เกินเงินไม้แรกไปแล้ว


หุ้นไม่ใช่ข้าว เราไม่จำเป็นต้องเก็บไว้เพื่อกิน ลองคิดเปรียบเทียบกันถ้าคุณไปห้างอยากได้ของสักชิ้นที่ไม่ได้จำเป็นต้องใช้แบบขาดไม่ได้เลย ไปวันนี้ราคาลงมา 5% แล้วเจ้าของห้างติดป้ายบอกแล้วว่า ระหว่างนี้ต่อไป จะลดราคาอีก(แต่เมื่อไหร่ ถึงไหนไม่ได้บอกนะ) คุณจะรีบซื้อเลย หรือ รอจนกว่าจะไม่ลดอีกไหม

   
2 ขณะที่คุณกำลังมั่วแก้แหด้วยการถัว ถ้าเกิดถัวจนเงินหมด ซื้อหุ้นตัวใหม่ก็ไม่ได้ เพราะไม่มีเงิน ไอ้จะให้ขายตัดตอนนี้ ก็ไม่ไหว มานั่งนับเป็นตัวเงิน แม่งมันเยอะกว่าหุ้นไม้แรกที่ไม่ยอมตัดขาดทุนทั้งหมดเสียอีก สิ่งที่ต้องทำคือ ถือต่อเป็น vi จำเป็น จนกว่าราคาจะกลับขึ้นมาให้ลง 

แล้วผมขอเอาคอเป็นประกัน ถ้าคุณเข้าทีแรก ไม่ใช่เพราะว่าจะถือยาว แต่ถือยาวเพราะผิดทางผิดวิธีนะ บอกได้เลยคุณจะโดนพอร์ทสีแดงหลอน จะเป็นคนจิตตกหน่อยๆขาดความมั่นใจ แล้วถ้าถึงเวลาหุ้นจะขึ้นจริง พอราคามาถึงทุนนะ คุณจะรีบกระโดดลง ด้วยความโล่งใจ ไม่ได้มีกระจิตกระใจ ตามไปเก็บกำไรได้ง่ายดอก

ถ้าคุณคัทลอส แล้วไปมองหาโอกาสใหม่ เงิน 10 เปอเซนต์ จาก 10000 ที่เสียไปจากคัทลอสที่หุ้น a ที่ว่า อาจจะได้คืนจากหุ้น b ตัวใหม่พร้อมกำไรไปแล้ว ในการลงทุน 1เวลา 2โอกาส(เมื่อเจอสัญญานซื้อ) เป็นสิ่งที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าเงินที่ใช้ในการลงทุน ลองคิดดู เมื่อถัวจนไม่กล้าตัดทิ้ง ติดหุ้นอยู่สองปี สมมุติว่า ราคาเด้งขึ้นมาให้ขายแล้ว คุณขายไปเรียบร้อยเพราะติดมานานรีบออก 

พอร์ทคุณโดนแช่แข็งอยู่ 2 ปี 2 ปีที่ว่า เพื่อนคนอื่นๆ เขาเอาไปทำกำไรได้ตั้งเท่าไหร่ไม่รู้แล้ว คุณอาจจะบอกว่า 2 ปีที่ผ่านมาได้ปันผลมา ตั้ง 4 เปอร์เซนต์ ก็คงต้องให้ถามตัวเองอีกที ว่าพอใจผลตอบแทนเท่านั้นจริงไหมครับ

สรุปการถัวขาลงไม่ว่าอะไรมันคือลิงแก้แห ยิ่งถัวยิ่งเพิ่มเวลาเจ็บ ถ้าคุณเข้าเพื่อถือยาวไม่สนราคาอันนั้นอีกเรื่อง แต่ถ้าเข้าเพื่อต้องการจะขายในราคาที่แพงขึ้น ไม่ว่าจะระยะสั้นจะระยะยาว การถัวไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ถูกต้อง

เป็นนักลงทุนที่เยี่ยมจะรักษาแต่ทุนอย่างเดียวเห็นจะไม่พอ ต้องรักษาจัดการเวลาและโอกาสด้วย จะเอาเวลาและโอกาสไปทิ้งกับหุ้นขาลงตัวเดียวมันไม่เมกเซนส์เลย

ถ้ารักหุ้นตัวนี้ทิ้งไม่ไหวจริงๆ คัทลอสแล้วไปรอเข้าเมื่อสัญญานมาจะดีกว่า การคัทลอสมันไม่ได้แค่หยุดการขาดทุนนะครับ มันหยุดสภาพจิตตกด้วย สติจะได้กลับคืนมาเร็วๆ ความซื่อสัตย์ต่อระบบจะได้ไม่หายไปกับจิตที่ตก พร้อมกับหุ้นนั้น คอนเซปป์การ Cut Lost เคยเขียนไว้เมื่อไม่กี่วันก่อนลองตามไปอ่านครับ

การคัทแล้วไปรอรับมันคล้ายกับการถัวมาก แต่ที่ต่างกัน คือจิตของคุณจะไม่ไปผูกกับ ต้นทุนเดิมที่ติดดอยอยู่ คุณจะทำตามระบบได้ดีกว่ามาก พร้อมกันนั้น ระหว่างที่ลง ถ้าเจอโอกาส ก็จะได้ไม่เป็นการปล่อยให้หลุดหลอยไปด้วย เมื่อเวลาหุ้นตัวเดิมเรามาถึง เราจะกลับมาพร้อมกับสภาพจิต และกระเป๋าที่ดีเต็มเปี่ยม ทำกำไรกับมันได้เต็มที่

แต่ทั้งนี้ไม่ใช่ว่าการถัวจะไม่ดีเสียทีเดียว การถัวขาขั้นนั้นมีข้อดีมากมาย แล้วจะมาเล่าต่ออีกทีครับ

Cut lost คืออะไร การ cut lost ของเราทำถูกหรือยัง ลองมาดูที่นี่ครับ

Cut lostเวลาคนพูดถึง คัทลอส มักจะพูดกันเรื่อยเปื่อยว่าผิดทางราคาลงก็ต้องคัทลอส คัทลอส คัทลอส ซ้ำไปซ้ำมาเหมือนแกะร้องตามกัน แล้วไม่สนใจรายละเอียดของมันเลย

คัทลอสมันมีรายละเอียดของมัน องค์ประกอบที่จะเรียกว่าคุณกำลังคัทลอสได้มีอะไรบ้าง วันนี้ขอยกตัวอย่างสักนิดนึงนะครับ
   


การที่จะเกิด good cut lost นั้น คุณต้องรู้แนวรับแนวต้าน เมื่อคุณเข้าที่เหนือแนวรับแล้ว ถ้าราคาเกิดเบรกลงต่ำกว่าแนวรับ คุณจะยอมให้มันลงต่ำได้กี่เปอร์เซนต์ ถึงจะคัทลอส จะให้กี่เปอร์เซนต์ดีมีองค์ประกอบหลายอย่าง

เช่น แนวรับต่อไปอยู่ไกลแค่ไหน คุณภาพของสินค้าที่คุณซื้อนั้นคุณให้ราคาในใจมันมากไหม เป็นต้น ถ้าแนวรับต่อไปอยู่ไกล พอคัทลอสแล้ว เรามีช่องให้ไปรอรับใหม่ได้ แบบนี้ถึงเรียกว่า good cut lost

ซึ่งบางคนที่ไม่ได้ดูแนวรับแนวต้านนะครับ วันดีคืนดีนึกอยากจะซื้อก็เข้าซื้อ แล้วทึกทักเอาเองว่า ถ้าลงต่ำกว่าราคาที่ซื้อสัก 7 % จะ cut lost พอลงต่ำกว่า7% ก็มีวินัยจริงๆทำตามที่ว่า ขายทิ้งไปเรียบร้อย หลังจากนั้นเกิดอะไรขึ้นรู้ไหมครับ

ราคาดันไปแตะแนวรับแล้ววิ้งกลับขึ้นทันที อันนี้เป็นต้นตอของคำว่า "พอกุขายแล้วขึ้นทันที" แบบนี้ต้องเรียกว่า bad cut lost นะ

ไว้ต่อไปจะมาเล่าถึงปัญหาของชาวดอยที่เข้าซื้อไม่ดูตามาตาเรือ พอผิดทางก็พูดว่า กุไม่คัทเว้ย "กุจะถัว" ผมก็คงต้องบอกว่า ถัวแบบไม่ดูตาม้าตาเรือ ระวัง "มือจะขาดนะเพื่อนเอ้ย" วิธี กู้ดถัว กับ แบดถัว เป็นยังไงไว้มาว่ากันครับ