วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

มีสิ่งหนึ่งที่คนจำนวนมากมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับ การใช้เทคนิคในการวิเคราะห์ กราฟ

มีสิ่งหนึ่งที่คนจำนวนมากมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับ การใช้เทคนิคในการวิเคราะห์กราฟหุ้น
   

มีของหลายอย่างที่ไม่ได้ถูกสร้างมาจากกฏ หรืออะไรที่เป็นสิ่งที่ถูกต้องแบบจริงๆ เราทำแค่ให้มันใกล้เคียงกับความถูกต้องที่สุด เช่นทฤษฏีสัมพันธภาพ ยังไม่ได้ถูกยอมรับว่าอธิบายความเป็นไปของเวลาได้ทั้งหมด แต่ความผิดพลาดของทฤษฏีเหล่านี้ มันถูกทำให้เล็กลงๆ จนคนเราเอาไปพัฒนานวัตกรรมต่างๆมากมายได้ เช่น ใช้ทฤษฏีนี้ในการจับเวลาของดาวเทียม เป็นต้น จะเห็นได้ว่าเราสร้างมันได้ไม่ใช่เพราะเรามีทฤษฏีที่ถูกต้อง แต่มันเป็นเพราะ การพยายามจำกัด ข้อผิดพลาดเหล่านั้นจนเราสามารถยอมรับอยู่ร่วมกับมันได้

ในการวิเคราะห์เทคนิคก็เหมือนกัน มันไม่มีเทคนิคไหนที่บริสุทธิ์ ถูกต้องจนเป็นกฏทั้งสิ้น มันไม่มีทางที่จะเป็นไปได้เลย ที่เราจะตีกราฟ แล้วได้แนวทางที่เป็นไปได้เพียงแนวทางเดียว (ถ้าไม่โกง หรือโคตรดวงดีจริงๆ)สังเกตุเวลาตีผมพยายามใส่ลูกศรทางที่เป็นไปได้ต่างๆ การที่มันมีแนวทางมากกว่าหนึ่งทางนั้นแหละเป็นตัวบอกว่ามันมีข้อผิดพลาด

ดังนั้นอย่าหลงทางในการตีกราฟ เราไม่ได้มองหาทิศทางที่ถูกต้อง ทิศทางเดียวแน่นอน การตีกราฟ คือการมองหาข้อผิดพลาดทั้งหมดที่เป็นไปได้ และพยายามทำให้ทิศทางทั้งหมดที่เป็นไปได้นั้น(ข้อผิดพลาดนั้นๆ) ลดจำนวนลง หรือ เล็กลงจนวิธีการเทรดของเรา สามารถใช้ได้กับข้อผิดพลาดนั้น

สองส่วนประกอบหลักในการสร้างนวัตกรรมการเทรด


1 ทิศทางหรือข้อผิดพลาดหลักๆที่เป็นไปไดที่เรารวบรวมได้จากการตีกราฟ
2 วิธีการจัดการลดข้อผิดพลาด นั้นๆ ด้วยวิธีการของใครของมัน

พัฒนา สองสิ่งนี้ให้ดี เราจะได้นวัตกรรม การเทรด ที่เหมาะสมกับเราเองแน่นอนครับ

เวลาที่เรายังไม่ได้ศึกษาเทคนิค การศึกษามัน จะสำคัญมากแทบจะที่สุด เพราะถ้าเราไม่สามารถรวบรวม ทิศทางที่จะเกิดจากกราฟได้ก็ไม่มีประโยชน์อะไรที่จะดูกราฟ

แต่หลังจากศึกษาได้เข้าใจแล้ว ความสำคัญและความได้เปรียบจะเท่ากับ 0 เพราะเราทำได้แค่เก็บข้อมูลซึ่งคนทั้งโลกเขาก็ทำกันได้เหมือนกัน หรือคล้ายคลึงกันมาก

ดังนั้น ตัวชี้วัดว่าเราจะชนะเกมส์หรือไม่ มันอยู่ที่ข้อสอง ที่ผมพิมไว้ข้างบน วิธีการจัดการกับข้อมูลทิศทางที่เรารวบรวมมาได้ และทำตามมันอย่างเคร่งครัด จะกลายมาเป็นตัวสำคัญแทน
ถ้ามัวแต่นั่งมองหาผลลัพธ์ที่ถูกต้อง เกรงว่าจะแก่ก่อนได้เจอ

Elliott Wave ตอนที่ 3 ฝึกนับเวฟจากกราฟจริงกันเลยที่นี่

เราผ่านการทำความรู้จัก พื้นฐาน Elliott Wave ซึ่งเป็นการพูดถึงคอนเซปคร่าวๆของ Elliott Wave และนอกจากนี้ เรายังได้รู้จักตัวเลช Fibonacci มากันแล้วจากโพส ใช้ Fibonacci Retracement ถ้าใครยังไม่ได้อ่านก็ย้อนกลับไปอ่านกันได้ครับ เพราะตอนนี้ เราจะเริ่มนับเวฟจริงกันแล้ว

ก่อนอื่นคงต้องบอกก่อนว่าหุ้นที่จะเอาเป็นตัวอย่างผมคงไม่เซนเซอร์ ตัวหุ้นอะไรให้ยุ่งยาก เพื่อนๆจะได้เปิดดูไปและทำไปด้วยกันได้ เพราะการนับเวฟนี้ต้องฝึกต้องทำบ่อยๆ ถึงจะเข้าใจและชำนาญนะครับ และสิ่งที่ผมมักเน้นตลอดคือ การวิเคราะห์กราฟราคาหุ้นไม่ใช่เป็นการดูเพื่อฟันธงว่า ราคาจะขึ้นหรือลง ดูจากบทความนี้แล้วห้ามเอาไปเป็นหลักในการซื้อขายเด็ดขาด มันคือข้อมูลของกราฟ ที่ช่วยให้เราวางแผนการเทรด และเรียนรู้ เท่านั้น ข้อมูลเหล่านี้ ต้องเอาไปผ่านกระบวนการ ของระบบการเทรด ของตัวเอง ก่อนแล้วถึง ค่อยเคาะซื้อ หรือขาย นะครับ จำไว้ กราฟไม่เคยบอกว่าราคาจะขึ้น ลง แบบชัวร์ๆ มันแค่บอกทิศทางที่เป็นไปได้ เมื่อเราได้ทิศทางเหล่านั้นแล้ว ก็จับข้อมูลที่ได้โยนเข้าระบบที่เราออกแบบไว้ ถึงซื้อขาย อย่ามองหาสิ่งที่ไม่มี ในกราฟครับ

   
เมื่อเข้าใจข้อตกลงกันแล้วเราก็มาว่ากัน ผมลองเลือกหุ้นที่มันดูเห็นภาพง่ายๆก่อนนะครับ ลองเปิดกราฟของ GRAMMY ขึ้นมาเลย เลือก TIME FRAME 120 นาที เจาะดูราคาช่วงตั้งแต่วันที่ 1 กพ 2555 ถึง 28 กพ 2555  จะได้ดังรูป

เราจะเห็นว่าราคาเริ่มขึ้นมาตั้งแต่วันสิ้้นเดือนของเดือน มค จากราคา 17.8 มาเป็น 20.5 ก่อนปิดตลาด วันที่ 5 แล้วหลังจากนั้นราคาก็ย่อลงมาเรื่อยๆตามลำดับ จนลงไปต่ำสุดแถวๆ 19.4 บาท ในช่วงจังหวะที่หุ้นเริ่มขึ้น รอบแรกนี้แหละ เป็นจังหวะสังเกตุเวฟแรก เมื่อเราลองสังเกตุ INDICATOR ที่เราใช้ ดูด้วยก็จะเห็นว่ามันเป็นไปในทิศทางเดียวกับราคา

เรื่องของ INDICATOR ผมคงพูดละเอียดในโอกาสหน้า ส่วนนี้ใครจะใช้อะไรก็ได้ตามแต่ถนัด บางคนใช้สองสามอัน ก็สุดแล้วแต่ ส่วนผม ผมชอบ RSI ที่สุด มันไม่ช้าไม่เร็วเกินไป เข้าใจง่าย ดู overbought และ oversold ได้ง่ายๆ ผมจึงใช้แต่อันนี้อันเดียว ตัวอื่นๆ ไม่ค่อยได้ใช้ บางคนอาจจะใช้ MACD เพิ่ม แต่ผมว่าผมมีวิธี มองเทรนด์ ได้ง่ายๆและได้ผล ด้วยการลากเส้น TRENDS LINE แล้ว ส่วนนี้เคยพูดไปบ้างแล้วในบทความ  ใช้เทคนิควิเคราะห์ทำยังไงลองมาดูกัน รายละเอียดมากกว่านั้นมีโอกาสจะเขียนอธิบายอีกรอบ หรือใครไม่อยากรอ ลองไปดูกราฟที่ผมเคยตีผ่านๆมาแล้วก็ได้ครับ

เมื่อเราจับจุดที่สันนิษฐานว่าจะเป็น WAVE 1 ได้แล้ว ทีนี้เราก็มาใช้เครื่องมือ Fibonacci Retracement วัดหาเป้าหมายของเวฟ 2 3 4 5 กันเลยครับ หลักการมีง่ายๆคือ ลากจากราคาต่ำสุด หรือจุดเริ่มต้นของ WAVE 1 ไปยังจุดสูงสุด หรือยอดคลื่น ของ WAVE 1 ตามรูปเลยครับ


หลังจากลากแล้วเราจะได้เส้น FIBO ที่ลากจากจุดต่ำสุดคือ 100 สูงสุดคือ 0 เส้นที่เกินจากนั้นไปข้างบน จะเป็นจุดที่เราคาดคะเน ราคาของ WAVE ต่อๆไปนะครับ

จากโพสโน้น ตรง กฏพื้นฐานของ Elliott Wave ผมจะมี ขนาดของ WAVE ต่างๆ ในอุดมคติ ของ  Elliott Wave ไว้ให้ ลอง กลับไปดู ต้องบอกว่าอุดมคติ เพราะในชีวิตจริงมันมักจะไม่ตายตัว เราต้องอาศัยประสพการณ์ของเราเองกับหุ้นตัวนั้นๆ ช่วยบอก แต่โดยส่วนมาก ในสถาณการณ์ปกติจะเป็นดังนี้
  1. เมื่อจบเวฟ 1 เวฟ 2 มักจะลง เป็นขนาด 32.8% 50% หรือ 61.8% ของขนาดของเวฟ 1 ขนาดหากันยังไง ก็ให้เอาราคาที่จบเวฟ 1 ลบด้วยราคาที่เริ่มต้นเวฟ นั้นแหละครับ อันนี้ไม่ต้องจำ เดี๋ยวพอถึง ห้วข้อการใช้เครื่องมือ Fibonacci Retracement ในการวัดขนาดเวฟ ก็จะง่ายๆเอง 
  2. เวฟ 3 มักจะมีขนาด 61.8% หรือ 161.8% ของขนาดเวฟ 1 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ว่าตลาดขึ้นแรงแค่ไหน โดยเอาเป้าราคาเวฟ 3 ที่ได้เริ่มนับตรงจุดที่เวฟ 2
  3. เวฟ 4 มักจะย่อลงมาไม่เกินยอดของเวฟ 1 ยกเว้นใน future มักจะให้ลงเยอะกว่าได้ครับ
  4. เวฟ 5 มักมีขนาด 323.6% ของเวฟ 1โดยให้เริ่มนับที่จุดสิ้นสุดเวฟ 1 หรือจุดเริ่มต้นของเวฟ 1 ก็ได้แล้วแต่สภาพความร้อนแรกงของตลาด
  5. เวฟ c มักสิ้นสุดแถวๆเวฟ 4 เวฟ a หลายๆครั้งมักใช้เวฟ 3 เป็นแนวรับ(กรณี เกิดเวฟ 5 ที่แรงน้อย double top เป็นต้น) เวฟ b อาจจะมีขนาดเท่ากับ wave a หรือ น้อยกว่าก็ได้
  6. เวฟ a b c อาจจะมีลักษณะเป็น Flats หรือ zig-zag ก็ได้ ความแตกต่างของสองตัวนี้หลักๆคือ flat มีเวฟ c ขนาดเท่าๆกับเวฟ b ส่วน zig-zag เวฟ c ยาวกว่า รายละเอียดลึกกว่านี้เดี๋ยวว่ากันโอกาสหน้าครับ
 ทีนี้จากกราฟ GRAMMY เราจะได้สิ่งที่เกิดขึ้นจริงเป็นดังนี้

จะเห็นได้ว่า จุดมันไม่เป๊ะ ตาม กฏในอุดมคติเท่าไหร่ แต่สิ่งหนึ่งที่ค่อนข้างจะเป๊ะ คือ จุดจบเวฟ 2 และ จุดจบเวฟ 4 เฉพาะ ในตลาดหุ้นค่อนข้างจะเป็นไปตามนั้นครับ ส่วนถ้าใน FUTURE มันค่อนข้างที่จะแกว่งแรง อาจจะเลยกว่าที่พูดไว้ก็เป็นได้

ส่วนในWAVE 3 5 ตรงนี้ถ้าเป็น ตลาดหุ้น มักจะมีส่วนของพื้นฐานเข้ามาเกี่ยวข้อง ถ้ามีข่าวดีเกิดขึ้น เวฟ 3 หรือ 5 อาจจะยาวมากกว่าปกติ  ซึ่งโดยปกติ ถ้าเวฟ 3 ยาวเกิน 100% ขึ้นไป เวฟ 5 มักจะไม่ยาวมาก หรือบางที กลายเป็น จุดเดียวกับเวฟ 3 เลยก็มี อันนี้เราต้องดูสถานการณ์อื่นๆประกอบไปด้วย

ในการเอาไปใช้นั้น เราก็จะเอาไปใช้ในการคาดคะเนราคา ของเวฟ ถัดไปนั้นเอง เช่น ถ้าเวฟ 1 จบเราคาดคะเนหาเวฟ 2 เมื่อเวฟ 2 จบแล้วเริ่มเวฟ 3 อาจจะเป็นจุดที่เราต้องเข้าไปซื้อ  เมื่อไปถึงเป้าหมายที่คิดไว้ในส่วนของเวฟ 3 เราก็อาจจะขาย หรือไม่ก็ได้ (ถ้าเวฟ 4 ลงไม่ลึกก็ไม่จำเป็นต้องขายให้เสียโอกาส)  และก็ทำแบบเดิมกับเวฟ 5 ต่อไปครับ

วันนี้ผมจะขอจบเรื่องนับเวฟนี้เท่านี้ก่อน
แต่ว่า มันมีเรื่องที่ค้างต้องพูดถึงเพิ่มเติมไปอีกหลายบทความแน่นอนสำหรับ เรื่องนี้
คิดว่าจะต้องมี ตอน 3.1 3.2 3.3 แน่ๆ เรายังไม่ได้พูดถึง เวฟย่อย ของเวฟ ใหญ่ และ เวฟพักตัว หลังจากจบเวฟ 5 และยังรวมไปถึงส่วนที่ไม่มีใครพูดถึงเลย Elliott Wave กับอารมณ์ของตลาด ส่วนนั้น คงต้องแยกออกไปอีกตอนเพื่อไม่ให้งง

สุดท้าย ฝากไว้ ตัวเลข มหัศจรรย์ 0.618 1.618 2.618 ... จำมันไว้ มันจะมีประโยชน์กับเราอีกมาก






Elliott Wave ตอนที่ 2 ใช้ Fibonacci Retracement ร่วมในการนับเวฟ

รอบนี้เราจะมาดูวิธีการนับเวฟ โดยใช้เครื่องมือ Fibonacci Retracement ในการจับหาและวัดขนาดเวฟ ถัดไป ความเดิมจากบทความก่อนหน้านี้ ถ้าใครยังไม่ได้อ่าน เป็นการพูดถึง หลักการ พื้นฐาน Elliott Wave  ลองคลิกตามไปดูก่อนนะครับ

ก่อนอื่นขอพูดถึง ตัวเลข Fibonacci ตัวเลขนี้คืออะไร คือลำดับของตัวเลข ที่ผลบวกของสองตัวเลขก่อนหน้าคือตัวเลขในลำดับถัดไป เช่น 1 1 2 3 5 8 13 21 .... ตัวเลขนี้มักปรากฏ อยู่ในสัดส่วนของสิ่งต่างๆรอบตัวเราตามธรรมชาติ น่าจะเคยได้ยินกัน เรื่อง ก้นหอย เกลียงเมล็ดดอกทานตะวัน อันนั้นค่อยไปหาดูกันเอาเองนะครับ แต่ให้ลองจับประเด็นว่า เลข Fibonacci นี้มันมีหลายเหตุการณ์ที่สัมพันธ์กับธรรมชาติ ตัวนี้เดี๋ยวผมจะพูดถึงอีกที เพราะมันค่อนข้างที่จะตีความได้ว่ามันก็มีความสำพันธ์ กับอารมณ์ของ คนเราเช่นกัน
   
จากโพสพื้นฐาน Elliott Wave ก่อนหน้านี้ ตัวอย่างเลข Fibonacci ที่ผมยกตัวอย่าง มักจะเป็น 
ส่วนที่ 1 0.618 ตัวเลขนี้มันคืออะไรของ Fibonacci  ถ้าเราลองเอาตัวเลขของสองตัวถัดกัน ตั้งแต่ตัวที่ 4 ขึ้นไป มาหารกัน มักจะได้ 0.6 กว่าๆ เช่น 3/5= 0.6  5/8=0.625 13/21=0.619 ไปเรื่อยๆ จึงปรับใก้ตัวเลข 0.618 เป็นตัวเลขที่มีนัยสำคัญที่ใช้กัน 
ส่วนที่ 2 ตัวเลข 1.618 เป็นอีกตัวที่มักใช้กันตัวเลขที่มายังไง ตอบมาจากการนำเอาตัวเลขFibonacci ตัวหลังหารตัวเลขFibonacci ก่อนหน้า เช่น 34/21= 1.619 ตัวเลขมันจะใกล้เคียงนี้เรื่อยๆครับ จิ้มเครื่องคิดเลขดูเล่นๆนะครับ 
ส่วนที่ 3 เลข 0.382 มาจาก เลข Fibonacci 13 21 34 55 89 จะมาจาก 13/34  21/55  34/89 ไปเรื่อยๆ

ส่วนที่ 4 เลข 2.618 ก็กลับกันจากส่วนที่ 2 34/13  55/21  89/34 ไปเรื่อยๆ 
 เลขพวกนี้มันมีอัตราส่วนที่มหัศจรรย์ จริงๆ มันแฝงอยู่ในทุกอย่างในธรรมชาติ บางคนเขาเรียกว่าสัดส่วนทอง หรือ golden ratio ส่วนตัวเลขอื่นๆเช่น 50 100 ก็เป็นตัวเลขที่เราตั้งขึ้นมาซึ่ง มันมักมีนัยสำคัญ ในการจับราคานะครับ แล้วจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม มันทำท่าเหมือนกับว่าเลข Fibonacci มันจำแฝงอยู่ในอารมณ์ กลัว อารมณ์โลภ ของคนเราด้วย แฝงอยู่ยังไง เพื่อให้เห็นภาพ เดี๋ยวถึงตอนตีกราฟ ผมจะชี้ให้ดู ตอนนี้ถือว่ารู้จักที่มาที่ไปของชุดตัวเลข Fibonacci นี้กันแล้วนะครับ
ทีนี้กลับเข้ามาในส่วนการวิเคราะห์กราฟราคาหุ้น หรือสินค้าอื่นๆที่เราจะพูดถึงกันอีกครั้งครับ ได้มีการสร้าง เครื่องมือตัวหนึ่งมาช่วยในใช้ Fibonacci ในการนับเวฟราคา เครื่องมือนั้นใครสร้างผมจำไม่ได้จริงๆเราไม่ได้จำไปออกสอบ ถ้าใครอยากรู้ก็ search Google เอานำครับ เครื่องมือนี้มีชื่อว่า Fibonacci Retracement

บทต่อไปเรามาเปิดกราฟจริงลองคำนวนนับเวฟกันดูครับ


วิเคราะห์เทคนิคหุ้น ราคาเป้าหมายแนวรับแนวต้าน หุ้น QH

QH แนวรับ 3.85 แนวต้าน 4 บาท ถ้าหลุดแนวรับ รับต่อไปคือ 3.75 27-2-13
   
QH แบบระยะสั้นนะครับแนวรับ 3.38 แนวต้าน 3.5 ถ้าหลุดรับ รับต่อไปที่ 3.25 เบรกต้านได้ต้านต่อไปคือ 3.6 19-2-13
QH กราฟแบบ DAY มันเบรกทุกอย่างไปแล้ว แบบ WEEK ก็ไม่ต่างกัน แต่ถ่อยออกมาหน่อยก็พอเห็นภาพขึ้น แนวรับแนวต้านไล้ตามเส้น FIBO เส้นประขวางนั้นนะครับ ส่วนแนวรับสำคัญคือแถวๆ 2.82 ตรงนั้นเป็น Hight เดิมในกราฟWEEK 19-1-13
ส่วน QH ขึ้นมาพร้อมๆกับ RML มาก่อตามต้านอยู่ครับ จ้าน 2.4 ถ้ายืนได้ค่อยมาตีเทรนด์ไลนใหม่ แนวรับ 2.28 ครับ 9-1-13
QH ตัวนี้แนะนำไปเมื่อวันศุกร์เริ่มเดินมาที่ต้านแรกแล้วนะครับ 2.23 ถัดไปไปวัดกันที่จุดสำคัญ 2.33 ถ้าเบรกตรงนี้ได้ยาวไปยาวไป 1-2-13
QH ราคาตอนนี้คือแนวรับที่ห้ามหลุดนะครับ ถ้าหลุดก็ลงมาเจอที่ 2.04 แนวต้านคือที่ 2.25 และไล่ไปตามกรอบสีเหลืองบนครับ 24-12-12
QH วิ่งกรอบขาขึ้นต้องไม่หลุดเส้นเหลืองล่างนะครับถ้าหลุดก็ดูไม่ดีแล้ว ตอนนี้ราคา2.16 ยังถือเป็นแนวต้านหลักถ้าเบรกขึ้นไปได้มีช่องอีกเยอะ ส่วนแนวรับแรก ก็เส้นเหลืองล่างครับ 14-12-12






วิเคราะห์เทคนิคหุ้น ราคาเป้าหมายแนวรับแนวต้าน หุ้น RML

RML แนวรับ 2.28 แนวต้าน 2.38 ถ้าเบรกได้ต้านต่อไป 2.5 2.58 ตามลำดับ ไม่ควรเบรกเส้นสีเขียวประ ลง ถ้าเบรกลงถือว่ายังลงไม่จบครับรอบ 20-2-13
   
RML แนวต้าน 2.3 แนวรับแรกคือเส้นเหลืองล่าง รับต่อไป 2.2 ถ้าเบรกต้านได้ต้านต่อไปคื เส้นเหลืองบน และ 2.4 ตามลำดับเบรกตรงนี้ได้เข้าขาขึ้นอีกรอบ เบรก 2.2 ลง ก็แย่เลยครับ 17-2-13
RML ว่ากันตามกราฟก่อนนะครับส่วนข่าวขายหุ้นเปลี่ยน ผบห คงต้องพิจรณากันเอาเองครับ แนวรับ 2.22 แนวต้าน 2.43 2.61 2.77 อันหลังเป็นจุดขอบของเทรนด์พอดี ส่วนถ้าเบรกแนวรับตอนนี้ลงรับต่อมาคือ 2 บาท ถ้าหลุดตรงนี้ไม่ค่อยดี 3-2-13
RML แนวรับ 2.32 ถ้าเด้งก็ได้ไปเทส 2.57 อีกรอบแต่ถ้าเบรกลง EMA 50 ไปรับแถวๆ 2.07บาท 17-1-13
RML ตัวนี้ ผมปรับเทรนด์ไลน์ตามหลายรอบแล้ว ถ้าเบรกตอนนี้อีกรอบ ก็เลิกใช้เทรนด์ไลน์อิง Fibo ไปเลย ตัวนี้ขึ้นมาโหด จนโดนคำเตือนว่า "หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายผิดไปจากสภาพปกติของตลาด"ต้องวางเงินสดนั้นเอง เอาเป็นว่าต้านต่อไป 2.57 2.81 ตามลำดับ แนวรับ 2.32 ครับ 9-1-13
 RML แนวต้านแรกคือแถวๆเส้นประสีเหลืองนะครับถ้าเบรกไปได้ไป
ต้านที่ 2.3-2.4 แถวๆเส้นเหลืองปลายศรเขียว ส่วนแนวรับแรกเส้นเหลือปลายศรเหลืองตามลำดับ 2-1-13
RML ใกล้มุมๆลุ้นๆเบรกขึ้นสักทีรอมานานไปละแนวต้านหลังจากเบรกขึ้น 2 บาท แนวรับถ้าเบรกลง 1.82 บาทครับ 26-12-12
RML ใกล้แนวรับแล้วครับ 1.87-1.9 ราคาหปัจจุบัน คือแนวรับ ถ้าเด้งได้ตามศรเขียว แล้วออกไปจากกรอบขาลงสีฟ้าได้ ก็จะเยี่ยมเลย แนวต้านแรกจะเป็น 1.97 ต้านต่อไป 2.05 ตามลำดับ ส่วนกรณีเบรก แนวรับกรอบขาขึ้นลงมาตามศรสีแดง แนวรับแรก 1.8 ครับ 14-12-12
RML เบรกแนวต้านจากที่ตีไปก่อนหน้านี้ขึ้นไป เป้าหมายต้านต่อไปเส้นเหลืองอย่างที่บอกกราฟที่แล้ว แนวรับ เส้นชมภู 1.94-2 บาท 6-11-2555
RML ทำนิวไฮเช้านี้แนวต้านต่อไปเส้นเหลืองบนแนวรับเป็นไฮเดิมต้องดูว่าจะยืนได้ไหม RSI เริ่มตันแล้วอาจย่อเพื่อหาช่องบ้าง แต่ถ้ายืนไม่อยู่ก็เส้นรับที่เหลืองล่างเลย 24-10-2555
 







วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

วิเคราะห์เทคนิคหุ้น ราคาเป้าหมายแนวรับแนวต้าน หุ้น BLAND

 BLAND ถ้านับเวฟ เรายังไม่ตัดสินว่าจุดสูงสุดของเวฟ 5 รอบนี้ควรอยู่ที่ไหน จุด สังเกตมี 2.15 ราคาตอนนี้ 2.35 และ 2.62 ตามลำดับซึ่งก็ถือเป็นแนวต้
านไปในตัว ส่วนแนวรับ ขั้นแรก อย่าหลุดเทรนด์ไลน์ สีฟ้า ประ ถ้าหลุด รับต่อมาคือ 1.92 26-2-13


   

BLAND แบบสั้นนะครับ แบบยาวดูหน่อยดูกราฟเก่าได้ แนวรับ 2 บาทแนวต้านคือเส้นสีฟ้าที่กดอยู่นั้นแหละครับ ถ้าเบรกได้ 2.13 และ hi เดิมเป็นต้านต่อไป ถ้าเบรกลง แนวรับคือ 1.95 ห้ามหลุดครับ 21-2-13


BLAND แนวรับ 1.92 แนวต้าน 2.2 ถ้าเบรกแนวรับลงรับต่อมาคือ 1.7 ครับ 14-2-13

BLAND สรุปนอเทสที่ hi เดิม แถวๆ 1.85 ถ้าผ่านได้เป้าต่อไปคือ 2.17ถ้าย่อต้องไม่เบรกเส้นเหลืองทึบลงมา ครับ ตัวนี้แนะนำให้คลิ๊กกลับไปดูรูปก่อนหน้านี้ประกอบ เพื่อดูว่าเราต้องระวังแค่ไหนตอนนี้เราอยู่ตรงไหนครับ 2-2-13


BLAND อัพเดตนะครับ ไล่เทสไปทีละขึ้นนะครับ แนวต้านต่อไป 1.65 รับก็ไล่ตาม FIBO เลยครับเส้น Trend line จะบอกให้รู้ว่าอยู่ช่วงกรอบไหน ต้องระวังมากแค่ไหนวิธีจะดูว่าอันไหนเสี่ยงมากแล้วก็ไล่ดูราคาในอดีตเลยครับว่ากราฟราคามันอยู่ในช่องเทรนด์ไลน์ไหนนานเท่าไหร่ ถ้าราคาเข้าไปช่องนั้นๆจะได้ระมัดระวังกันอย่างที่เห็นนี้มีสามช่อง ช่องที่ราคาอยู่นานจนอาจถือได้ว่าเป็นราคาปกติของมันคือช่อง 1,2 ช่อง 3 อยู่ไม่นานเท่าไหร่ ยิ่งช่อง 4 อยู่แวบๆเองทำไมอยู่แวบๆก็เพราะในช่อง 4 มันขึ้นมาเยอะแล้วคนเริ่มกลัว เลยขายๆอะไรแบบนั้น ลองดูนะครับ ถ้างงพรุ่งนี้ว่ากันอีกที วันนี้ง่วงมึนละ ฮ่าๆ 15-1-13


BLAND แนวต้านคือ 1.42 - 1.45 แถวๆไฮเดิม แนวรับคือ 1.32 ครับ ถ้าเบรกต้านไปได้ 1.5 เป็นต้านต่อไปครับ 13-1-13




BLAND จะไปทางไหนวันนี้ลองเช็คดูที่นี่บัดนี้ชนแนวต้านแล้ว ที่เส้นเหลืองบน แนวโน้มออกได้ทั้งสองทาง แต่ถ้าให้ทางลงมากกว่าสำหรับคนมีอยู่น่าจะเซฟกว่า ส่วนคนที่ยังไม่มีรอดูว่าจะสามารถ คอนเฟิร์มเบรกต้านได้ไหม ถ้าเบรกได้ค่อยตามจ้า 24-10-2555









วิเคราะห์เทคนิคหุ้น ราคาเป้าหมายแนวรับแนวต้าน หุ้น DEMCO


DEMCO แนวรับ 13.6 ที่ราคาตอนนี้แหละครับ ลุ้นว่าจะยืนอยู่ไหม แนวต้าน 14.15 ส่วนถ้ายืนไม่อยู่ รับต่อไปคือ 12.95 ถ้าตามเทคนิคต้องระวังหน่อย ลองเอาไปปรับใช้กับข้อมูลพื
้นฐานเอานะครับ 21-2-13

   
DEMCO แนวต้าน 11.6 แนวรับ 11 (ต้านเดิมคราวก่อน)และ 10.8 ตามลำดับ ถ้าเบรกต้านได้ ต้านต่อไปคือ 12.7 บาท 18-2-13

DEMCO ตัวนี้เงียบแฮะ ไม่มีคนถามถึง สงสัยเก็บอุ๊บตั้งแต่แปดบาทกันไปละ 555 แนวต้าน 10.3 แนวรับ 9.4 หรือเส้นประสีเหลืองล่าง ถ้าเบรกต้านได้ 11 บาทเป็นเป้าต่อไป เข้าสู่ช่วงที่ต้องระวังดีๆแล้วครับ 14-2-13
DEMCOตัวแม่แนวต้าน 9.6 แนวรับแรก 8.9 ดูประกอบกับตัวลูกถัดไปนะครับ 22-1-13
DEMCO แนวต้าน แรก 9.1 แนวรับแรก 8.6 บาท จุดรับต้านแต่ละจุดตามลูกศร ถ้าเบรก 9.5 ได้ช่องยาวสุดครับ 16-1-13
DEMCO ถ้าจะขายน่าจะขายตั้งแต่ตอน มันแตะแปดบาทแล้วไม่ผ่านนะครับ (คลิกกลับไปดูกราฟก่อนหน้าประกรอบ) ตอนนี้มันมาแตะแนวรับแล้ว ถ้าเด้งน่าเข้าตาม แต่ถ้าหลุดลงมาตามศรแดงทิ้งให้ไว้ เพราะแบบนั้นจะมีโอกาสลงอีกเยอะครับแนวรับที่ราคาปัจจุบัน แนวต้านแรกที่ราคา 7.7 บาทต้านถัดไป 8.15 บาทครับ 24-12-12
DEMCO อย่าหลุดเทรนสีเขียวนั้นลงมาก็ยังถือเป็นขาขึ้น ที่แปดบาทเป็นแนวต้านสำคัญ สำคัญยังไง
ยอดอันก่อนที่แตะแปดบาทแล้วไม่ผ่าน อันที่ 2 เส้นเทรนด์ไลน์ก็ไปตัดตรงนั้นพอดีช่วยกดถือว่าเข้มยิ่งไปอีก อันที่ 3 เส้น Fibo -132.8 ก็ตัดตรงแปดบาทพอดี มันเลยหนาแน่นพอที่จะย่อในทางตรงกันข้าม(ไว้ใช้ในกรณีหุ้นตัวอื่นๆด้วย) ถ้ามันเบรกที่ตรงแปดบาท ที่มีแนวต้านมาทับกันเยอะขนาดนี้ ก็จะขึ้นแรงเหมือนกันเพราะถือว่า ความมั่นใจในราคานั้นสูงครับ 12-12-12

DEMCO จากกราฟคราวก่อนที่ตีไว้ บอกว่าเบรกกรอบพักตัวมาแล้ว(คลิ๊กดูรูปก่อนหน้าประกอบ) ก็ขยับขึ้นมาเรื่อยๆ ตอนนี้ใกล้ถึงแนวต้านที่ประมาน 8 บาท ถ้าขึ้นไปยืนเหนือตรงนั้นก็คือกลับเข้าสู่กรอบขาขึ้นแบบดูดีนะครับ ถ้าแรงไม่พอ ก็โดนตบกลับลงมาตามลูกศรขาว
สรุป ถ้าใครยังไม่มี ก็เล็งไว้ถ้ายืนเหนือ 8 บาทได้ก็แจ่ม ส่วนใครที่มีอยู่แล้วก็จับตาที่แปดบาท ถ้าไปไม่รอดอาจจะเซฟกำไรที่นี่ 12-10-2555
DEMCO ถ้าจบได้ที่นี่ก็ดูดีครับ MACD โผล่พ้นน้ำตามที่บอกไว้ราคาอยู่เเหนือเทรนด์ไลน์ แต่โดนกดหน่อยเพราะวิ่งทะลุออกไปนอกเส้น BB ลุ้นช่วยกันครับ ^^
DEMCO กราฟสวยเหมือนกันครับ พรุ่งนี้ถ้าแท่งเทียนวางอยู่บนเส้นเหลือง ถือว่าเบรกสำเร็จ แนวรับ จะเปลี่ยนมาเป็น เส้นเทรนด์เหลือง แนวต้านยังเป็น 7.8-8 บาท MACD ใกล้พ้น 0 แล้วพรุ่งนี้ถ้าแท่งเทียนวางเหนือเส้นเหลืองน่าจะทำให้พ้นน้ำได้ โวลุ่มอย่างที่บอกครับ คอนเฟิร์ม ว่าคนเข้าซื้อเยอะขึ้น RSI ยังมีช่องให้วิ่งก่อนเข้าสู่ เขตซื้อเยอะเกินครับถ้าใครชอบใครเล็งก็นับเป็นเวลาที่ดี แต่ระยะสั้นอาจมีย่อตามแนวต้านที่บอกครับ 28-11-2555
DEMCO อีกทีที่ลองคลิกย้อนกลับไปดูกราฟเดิมที่ตีไว้วิ่งชนแนวต้านแล้วย่อลงมาเด้งที่ Fibo 23.6 และคงไปวัดกันอีกทีที่ 8.3 ว่าจะเบรกหรือย่อลงมาอีกที 
ใครซื้อที่แนวรับที่ตีไว้คราวก่อน กำไรไปไม่น้อยแล้ว เตรียมระวังช่วง hi เดิมไว้ดีๆ 16-10-2555
DEMCO ชนแนวต้านใหญ่ที่ศรแดง ใครเข้าตรงนั้นไม่ต้องบอกว่าดอยแค่ไหน แนวรับที่ Fibo 23.6 ตรงปลายลูกศรสีเขียว ต้องลุ้นว่าเอาอยู่หรือไม่ หลังจากขึ้นไปเยอะ 
ปล อันนี้ไม่ได้เช็คข่าวนะครับ ดูข่าวประกอบด้วยเด้อ 5-10-2555
Demco ถ้าจะถือยาวตอนนี้เสี่ยงหน่อยครับ ทางเทคนิคถ้าไม่เบรกเส้นสีเขียวขึ้นไปตามลูกศรเขียวก็ดูไม่ค่อยดี ยิ่งถ้าหลุดเบรกเส้นแดงลง ก็จะเป็นเวฟขาลงเต็มที่ สรุปทางเทคนิค ตอนนี้เป็นช่วงวัดใจว่าจะขึ้นต่อหรือลง หุ้นจะวิ่งในกรอบเส้นแนวรับสีแดง ไปถึงเส้นเขียว ถ้าเบรกขึ้นไปถือเป็นขาขึ้นต่อ ถ้าเบรกสีแดงลงมา เข้าตำราอีเลียท ลงไปรอรับ 5.6 
Demco รายได้สองไตรมาสเท่าของปีก่อนทั้งปี แต่ราคาก็สะท้อนออกมาเป็นสองเท่าแล้ว ไม่รู้ว่าถ้า 3g เสร็จจะได้ไปทำเสาทำไรให้เขาไหมถ้าได้คงจะแจ่มนะครับ ส่วนตัวคิดว่าระยะใกล้ๆ นี้รอมันเบรกก่อนค่อยตามลงก็ไปรอเก็บ การถือยาวหุ้นตอนแตะๆพันสามตอนนี้ค่อนข้างเสี่ยงหน่อย ถ้าปรับฐานหนักเราจะดอยนาน 1-11-2555