วันเสาร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ลงทุนแบบ VI แต่ใช้เทคนิควิเคราะห์ทำยังไงลองมาดูกัน

เวลา เราอ่านหนังสือการลงทุนในหุ้นแบบ Value Investor สิ่งที่เขากล่าวถึงบ่อยๆคือ การหามูลค่าที่แท้จริง (intrinsic value) พอเราลองหาตามที่เขาบอก คุณปวดหัวกันไหม ราคาที่ได้มา มักไม่ค่อยจะหาซื้อได้จริงเลย การแก้ปัญหาตรงนี้ขั้นต้น เรามักจะเพิ่มสิ่งที่เรียกว่าค่า premium ซึ่งจะเป็นการเพิ่มราคาให้ตามตลาดเช่น ถ้าตลาดปกติ หรือตลาดขาขึ่น เราก็เพิ่มราคาหุ้นตัวนั้นๆจาก มูลค่าที่แท้จริงที่เราหาได้ เช่น หุ้น A เราหามูลค่าที่แท้จริงที่เราหาได้คือ 5 บาท ช่วงปกติ สมมุตว่าราคามันอยู่ที่ 7 บาท 2 บาทคือค่า premium เป็นต้นเจ้าค่า premium นี่แหละตัวปัญหา เราจะรู้ได้ยังไงว่าควรให้ค่ามันที่เท่าไหร่ คิดมานานมากสิ่งที่ได้เรามักใช้ความรู้สึกของเราในการกำหนด ซึ่งความผิดพลาดมันมีสูงมากเพราะอารมณ์เราไม่เคยนิ่ง ยิ่งในสภาวะตลาดต่างๆ อารมณ์เรายิ่งพลุ้งพล่าน เชื่อถือได้ยากมาก

แล้วทำไมเราไม่ใช้ข้อมูลกราฟที่เรามีละ จาก การใช้เทคนิควิเคราะห์หุ้น กราฟคือข้อมูลโดยรวมที่ ปั่นทุกปัจจัยรวมกันให้เราพร้อมดืม ส่วนผสมต่างๆในตลาดไม่ว่าจะเป็น ราคาที่แท้จริง ราคาอารมณ์ ราคาข่าว มันสะท้อนออกมาเป็นราคาจริงที่พล๊อทบนกราฟแล้ว ข้อมูลดีๆแบบนี้จะให้อคติ ทำเราพลาดโอกาสไปทำไมกัน เราจะเป็น VI แต่เป็น VI ที่เป็นนักเรียนรู้ อคติ หรือคำพูดต่างๆของคนอื่นที่เราไม่ได้ไปพิสูจน์ด้วยตัวเองว่ามันดีหรือมั่ว เราก็ลบทิ้งไป แล้วเข้าไปดูมันกับตาตัวเองว่ามันดีจริงตามที่ว่าไหม  ลองตามมาผมจะทำให้ดูว่าทำไม VI ถึงใช้เทคนิคได้ วอร์เรน บัฟเฟต ไม่ด่าท่านแน่นอน
กราฟหุ้นคืออะไร ตอบง่ายๆกำปั้นทุบจอ มันก็คือกลุ่มของราคาหุ้น ในช่วงเวลานั้นๆ แล้วมันบอกอะไรเราได้บ้าง
  1. มันเอาอารมณ์ ความกลัว ความโลภ ข่าว ในแต่ละช่วงเวลามาปั่นรวมกัน ให้เราได้กินในคำเดียว เราไม่ต้องทำอะไรอีกแล้ว ดูราคาไม่ต้องสืบหาข่าว หรืออะไรก็สามารถอ่านใจของคนในตลาดในช่วงเวลานั้นๆได้
  2. กลุ่มราคาที่ได้ทำให้เรามองเห็นเทรนด์และทิศทางของตลาด มองเห็นว่าขณะนี้คนกลัว คนคลั่ง คนไม่แน่ใจ คนมั่นใจ เราสามารถตีความหมายได้จากกราฟ
  3. เมื่อเราอ่านใจคนจากตลาดได้แล้ว เราก็สามารถกำหนดกลยุทธ์ ของตัวเองได้อย่างถูกต้องมากขึ้น
ทีนี้ลองมาดูตัวอย่างจากหุ้นจริง VI ชอบหุ้นตัวนี้นะครับ HMPRO เมื่อมองที่พื้นฐานคร่าวๆ นับเป็นหุ้นที่มีการเจริญเติบโตดีตัวหนึ่งมีกำไรปันผลเรื่อยๆ คนที่เข้าซื้อตั้งแต่ราคาถูกมาก ๆก็ลอยตัวแล้วและเรียกว่าตัวเองเป็น VI ของจริง แล้วเราๆท่านๆที่อยากเป็น VI เหมือนกันแต่เข้าไม่ทันแล้วควรต้องลบหุ้นตัวนี้ออกจากพอร์ทไหม เพราะราคามันไม่ต่ำเหมือนที่เซียนเขาเข้าแล้ว

ใครจะลบทิ้งก็ลบ ผมไม่ลบคนนึงละมันมีวิธีอีกเยอะที่จะเข้าซื้อได้ในราคาที่ถูกเหมือนกัน จากหลักการตีTREND LINE เราจะลองนำกลับมาใช้ เพื่อแบ่งโซนราคาว่าหุ้นดีๆที่เราอยากได้แต่เข้าใจว่าแพงนั้น มีราคาที่เหมาะสมเข้าซื้อ หรือขายได้เมื่อไหร่ครับ ลองเข้ามาดูตัวอย่างกันครับ

HMPRO จากรูปตัวอย่าง แบ่งโซนให้เห็นชัดๆนะครับกรอบสีเขียว ถือว่าเป็นราคาปกติ ถ้าจะซื้อพยายามซื้อที่ขอบ HOME ZONE ด้านล่าง ถ้าจะขายในโซนนี้ก็คือขายในขอบบนของโซน ทีนี้ลองขึ้นไปดู
โซนสีเหลืองบนนะครับ โซนนี้ ถ้าราคาเข้าไปขอให้คิดไว้ว่ามันเป็นโซนที่ Greed คือคนแห่เข้ามากเกินเหตุเพื่อนอยู่ด้วยกันที่นี่เยอะเลยสบายใจเหมือนกับพากันไปสวนสนุกใครๆก็อยากไปเพราะคิดว่าหุ้นมันขึ้นแรงแห่กันเข้าแต่ที่จริงแล้ว จะหล่มตุบได้ทุกเมื่อ ถ้าเข้าไปในโซนนี่แล้วจะซื้อต้องระวังให้มากๆ แน่นอนเป็นเวลาขายที่ดี (VI แบบเก่าเขาก็เล็งขายที่นี่เหมือนกัน)ยิ่งขายใกล้ขอบบนของโซนได้ยิ่งดี โซนนี้มันจะอยู่ไม่นานหรอกสักพักทุกคนจะรู้ตัว แล้วก็แห่กันลงใครหลงทางอยู่ ก็ได้อยู่ดอยกันไป
สุดท้ายโซนล่างสุดสีแดงเป็นโซน Fear โซนนี้เป็นโซนใจเสีย เพื่อนจะมาด้วยน้อยเพราะพากันกลัว ถ้าเราจะซื้อพยายามซื้อที่ขอบล่างสุดของโซนถ้าเด้งแล้วถึงเข้าซื้อ ถ้าหุ้นที่เติบโต และราคาไม่พรวดแบบหวือหวามาก ตีแบบนี้ได้ ยิ่งใช้กับ TimeFrame week ขึ้นไปจะยิ่งเห็นภาพชัด เห็นว่าตัวเองอยู่โซนไหน

ข้อคิดซื้อที่ขอบล่างของโซน ถ้าหุ้นเปลี่ยนโซนลงก็คัท ถ้าหุ้นเปลี่ยนโซนขึ้นซื้อตาม แต่ละโซนมีลักษณะเฉพาะ เวลาราคาอยู่ที่โซนไหนก็ควรมีกลยุทธิ์เฉพาะสำหรับโซนนั้นๆ

สรุปเมื่อเปรียบเทียบกับ แนวทางที่ VI สายเก่าใช้กับการใช้เทคนิคร่วมแบบ VI สายใหม่
  1. VI สายเก่าใช้การอ่านงบ หาแนวโน้มธุรกิจ แล้วคำนวนราคาที่แท้จริงออกมา เมื่อราคามีส่วนต่าง จากค่าส่วนลดระหว่างราคาปัจจุบันกับราคา ที่แท้จริงมากพอก็เข้าซื้อ VI สายใหม่ ใช้การดูงบการเงินคร่าวๆเมื่อเป็นกิจการที่เติบโตดีต่อเนื่องมีปันผลพอใจ ถึงราคาไม่ถูกเหมือนของสายเก่าแล้ว ก็มาตีเทรนด์ไลน์เพื่อหาราคาที่เหมาะสมเมื่อเทียบกับอดีต จากรูปตัวอย่าง 3 โซนที่เห็นโซนล่างสุดโซนแห่งความกลัว เป็นโซนที่เราจะเข้าซื้อเก็บที่โซนนี้ยิ่งอยู่ห่างจาก HOME ZONE มากเท่าไหร่ยิ่งมี ส่วนต่าง จากค่าส่วนลดระหว่างราคาปัจจุบันกับราคา ที่แท้จริง มากเท่านั้น
  2. VI สายเก่าขายหุ้นเมื่อราคาหุ้นขึ้นเลยไปจากราคาที่แท้จริงที่คำนวนได้มากแล้ว VI สายใหม่ ขายแบบกว้างๆคือเมื่อเข้าสู่ Greed Zone หรือแม้แต่ การซื้อขายทำกำไรในกรอบ ที่เราทำแบบนั้นได้ เพราะเราเห็นภาพที่ชัดเจน ของกลุ่มราคา
  3. เมื่อเวลาเปลี่ยนไป บริษัทยังเจริญเติบโตเหมือนเดิม ราคาที่แท้จริงของ VI สายใหม่จะถูกอัพเดตด้วยตัวเองจากกราฟอัตโนมัติ ส่วนVI สายเก่าจำเป็นต้องจับตา ปรับเปลี่ยนราคาของตัวเองตลอด ถ้าใครไม่ทำ สิ่งที่เรียกว่าขายหมู หรือ อยู่ดอย อาจจะเกิดขึ้นได้ เมื่อหุ้นเปลี่ยนเทรนด์ (ราคามันมาก่อนข่าวแน่นอนดั่งสุภาษิตไทยที่ว่า หน้าต่างมีหู ประตูมีช่อง ถ้าหวังธรรมาภิบาลจากเมืองไทย ให้ไปที่วัด 555)

คลิกที่รูปเพื่อดูรูปขนาดใหญ่

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น