วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

มีสิ่งหนึ่งที่คนจำนวนมากมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับ การใช้เทคนิคในการวิเคราะห์ กราฟ

มีสิ่งหนึ่งที่คนจำนวนมากมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับ การใช้เทคนิคในการวิเคราะห์กราฟหุ้น
   

มีของหลายอย่างที่ไม่ได้ถูกสร้างมาจากกฏ หรืออะไรที่เป็นสิ่งที่ถูกต้องแบบจริงๆ เราทำแค่ให้มันใกล้เคียงกับความถูกต้องที่สุด เช่นทฤษฏีสัมพันธภาพ ยังไม่ได้ถูกยอมรับว่าอธิบายความเป็นไปของเวลาได้ทั้งหมด แต่ความผิดพลาดของทฤษฏีเหล่านี้ มันถูกทำให้เล็กลงๆ จนคนเราเอาไปพัฒนานวัตกรรมต่างๆมากมายได้ เช่น ใช้ทฤษฏีนี้ในการจับเวลาของดาวเทียม เป็นต้น จะเห็นได้ว่าเราสร้างมันได้ไม่ใช่เพราะเรามีทฤษฏีที่ถูกต้อง แต่มันเป็นเพราะ การพยายามจำกัด ข้อผิดพลาดเหล่านั้นจนเราสามารถยอมรับอยู่ร่วมกับมันได้

ในการวิเคราะห์เทคนิคก็เหมือนกัน มันไม่มีเทคนิคไหนที่บริสุทธิ์ ถูกต้องจนเป็นกฏทั้งสิ้น มันไม่มีทางที่จะเป็นไปได้เลย ที่เราจะตีกราฟ แล้วได้แนวทางที่เป็นไปได้เพียงแนวทางเดียว (ถ้าไม่โกง หรือโคตรดวงดีจริงๆ)สังเกตุเวลาตีผมพยายามใส่ลูกศรทางที่เป็นไปได้ต่างๆ การที่มันมีแนวทางมากกว่าหนึ่งทางนั้นแหละเป็นตัวบอกว่ามันมีข้อผิดพลาด

ดังนั้นอย่าหลงทางในการตีกราฟ เราไม่ได้มองหาทิศทางที่ถูกต้อง ทิศทางเดียวแน่นอน การตีกราฟ คือการมองหาข้อผิดพลาดทั้งหมดที่เป็นไปได้ และพยายามทำให้ทิศทางทั้งหมดที่เป็นไปได้นั้น(ข้อผิดพลาดนั้นๆ) ลดจำนวนลง หรือ เล็กลงจนวิธีการเทรดของเรา สามารถใช้ได้กับข้อผิดพลาดนั้น

สองส่วนประกอบหลักในการสร้างนวัตกรรมการเทรด


1 ทิศทางหรือข้อผิดพลาดหลักๆที่เป็นไปไดที่เรารวบรวมได้จากการตีกราฟ
2 วิธีการจัดการลดข้อผิดพลาด นั้นๆ ด้วยวิธีการของใครของมัน

พัฒนา สองสิ่งนี้ให้ดี เราจะได้นวัตกรรม การเทรด ที่เหมาะสมกับเราเองแน่นอนครับ

เวลาที่เรายังไม่ได้ศึกษาเทคนิค การศึกษามัน จะสำคัญมากแทบจะที่สุด เพราะถ้าเราไม่สามารถรวบรวม ทิศทางที่จะเกิดจากกราฟได้ก็ไม่มีประโยชน์อะไรที่จะดูกราฟ

แต่หลังจากศึกษาได้เข้าใจแล้ว ความสำคัญและความได้เปรียบจะเท่ากับ 0 เพราะเราทำได้แค่เก็บข้อมูลซึ่งคนทั้งโลกเขาก็ทำกันได้เหมือนกัน หรือคล้ายคลึงกันมาก

ดังนั้น ตัวชี้วัดว่าเราจะชนะเกมส์หรือไม่ มันอยู่ที่ข้อสอง ที่ผมพิมไว้ข้างบน วิธีการจัดการกับข้อมูลทิศทางที่เรารวบรวมมาได้ และทำตามมันอย่างเคร่งครัด จะกลายมาเป็นตัวสำคัญแทน
ถ้ามัวแต่นั่งมองหาผลลัพธ์ที่ถูกต้อง เกรงว่าจะแก่ก่อนได้เจอ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น