วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Elliott Wave ตอนที่ 2 ใช้ Fibonacci Retracement ร่วมในการนับเวฟ

รอบนี้เราจะมาดูวิธีการนับเวฟ โดยใช้เครื่องมือ Fibonacci Retracement ในการจับหาและวัดขนาดเวฟ ถัดไป ความเดิมจากบทความก่อนหน้านี้ ถ้าใครยังไม่ได้อ่าน เป็นการพูดถึง หลักการ พื้นฐาน Elliott Wave  ลองคลิกตามไปดูก่อนนะครับ

ก่อนอื่นขอพูดถึง ตัวเลข Fibonacci ตัวเลขนี้คืออะไร คือลำดับของตัวเลข ที่ผลบวกของสองตัวเลขก่อนหน้าคือตัวเลขในลำดับถัดไป เช่น 1 1 2 3 5 8 13 21 .... ตัวเลขนี้มักปรากฏ อยู่ในสัดส่วนของสิ่งต่างๆรอบตัวเราตามธรรมชาติ น่าจะเคยได้ยินกัน เรื่อง ก้นหอย เกลียงเมล็ดดอกทานตะวัน อันนั้นค่อยไปหาดูกันเอาเองนะครับ แต่ให้ลองจับประเด็นว่า เลข Fibonacci นี้มันมีหลายเหตุการณ์ที่สัมพันธ์กับธรรมชาติ ตัวนี้เดี๋ยวผมจะพูดถึงอีกที เพราะมันค่อนข้างที่จะตีความได้ว่ามันก็มีความสำพันธ์ กับอารมณ์ของ คนเราเช่นกัน
   
จากโพสพื้นฐาน Elliott Wave ก่อนหน้านี้ ตัวอย่างเลข Fibonacci ที่ผมยกตัวอย่าง มักจะเป็น 
ส่วนที่ 1 0.618 ตัวเลขนี้มันคืออะไรของ Fibonacci  ถ้าเราลองเอาตัวเลขของสองตัวถัดกัน ตั้งแต่ตัวที่ 4 ขึ้นไป มาหารกัน มักจะได้ 0.6 กว่าๆ เช่น 3/5= 0.6  5/8=0.625 13/21=0.619 ไปเรื่อยๆ จึงปรับใก้ตัวเลข 0.618 เป็นตัวเลขที่มีนัยสำคัญที่ใช้กัน 
ส่วนที่ 2 ตัวเลข 1.618 เป็นอีกตัวที่มักใช้กันตัวเลขที่มายังไง ตอบมาจากการนำเอาตัวเลขFibonacci ตัวหลังหารตัวเลขFibonacci ก่อนหน้า เช่น 34/21= 1.619 ตัวเลขมันจะใกล้เคียงนี้เรื่อยๆครับ จิ้มเครื่องคิดเลขดูเล่นๆนะครับ 
ส่วนที่ 3 เลข 0.382 มาจาก เลข Fibonacci 13 21 34 55 89 จะมาจาก 13/34  21/55  34/89 ไปเรื่อยๆ

ส่วนที่ 4 เลข 2.618 ก็กลับกันจากส่วนที่ 2 34/13  55/21  89/34 ไปเรื่อยๆ 
 เลขพวกนี้มันมีอัตราส่วนที่มหัศจรรย์ จริงๆ มันแฝงอยู่ในทุกอย่างในธรรมชาติ บางคนเขาเรียกว่าสัดส่วนทอง หรือ golden ratio ส่วนตัวเลขอื่นๆเช่น 50 100 ก็เป็นตัวเลขที่เราตั้งขึ้นมาซึ่ง มันมักมีนัยสำคัญ ในการจับราคานะครับ แล้วจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม มันทำท่าเหมือนกับว่าเลข Fibonacci มันจำแฝงอยู่ในอารมณ์ กลัว อารมณ์โลภ ของคนเราด้วย แฝงอยู่ยังไง เพื่อให้เห็นภาพ เดี๋ยวถึงตอนตีกราฟ ผมจะชี้ให้ดู ตอนนี้ถือว่ารู้จักที่มาที่ไปของชุดตัวเลข Fibonacci นี้กันแล้วนะครับ
ทีนี้กลับเข้ามาในส่วนการวิเคราะห์กราฟราคาหุ้น หรือสินค้าอื่นๆที่เราจะพูดถึงกันอีกครั้งครับ ได้มีการสร้าง เครื่องมือตัวหนึ่งมาช่วยในใช้ Fibonacci ในการนับเวฟราคา เครื่องมือนั้นใครสร้างผมจำไม่ได้จริงๆเราไม่ได้จำไปออกสอบ ถ้าใครอยากรู้ก็ search Google เอานำครับ เครื่องมือนี้มีชื่อว่า Fibonacci Retracement

บทต่อไปเรามาเปิดกราฟจริงลองคำนวนนับเวฟกันดูครับ


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น