เวลา เราอ่านหนังสือการลงทุนในหุ้นแบบ Value Investor สิ่งที่เขากล่าวถึงบ่อยๆคือ การหามูลค่าที่แท้จริง (intrinsic value) พอเราลองหาตามที่เขาบอก คุณปวดหัวกันไหม ราคาที่ได้มา มักไม่ค่อยจะหาซื้อได้จริงเลย การแก้ปัญหาตรงนี้ขั้นต้น เรามักจะเพิ่มสิ่งที่เรียกว่าค่า premium ซึ่งจะเป็นการเพิ่มราคาให้ตามตลาดเช่น ถ้าตลาดปกติ หรือตลาดขาขึ่น เราก็เพิ่มราคาหุ้นตัวนั้นๆจาก มูลค่าที่แท้จริงที่เราหาได้ เช่น หุ้น A เราหามูลค่าที่แท้จริงที่เราหาได้คือ 5 บาท ช่วงปกติ สมมุตว่าราคามันอยู่ที่ 7 บาท 2 บาทคือค่า premium เป็นต้นเจ้าค่า premium นี่แหละตัวปัญหา เราจะรู้ได้ยังไงว่าควรให้ค่ามันที่เท่าไหร่ คิดมานานมากสิ่งที่ได้เรามักใช้ความรู้สึกของเราในการกำหนด ซึ่งความผิดพลาดมันมีสูงมากเพราะอารมณ์เราไม่เคยนิ่ง ยิ่งในสภาวะตลาดต่างๆ อารมณ์เรายิ่งพลุ้งพล่าน เชื่อถือได้ยากมาก
แล้วทำไมเราไม่ใช้ข้อมูลกราฟที่เรามีละ จาก การใช้เทคนิควิเคราะห์หุ้น กราฟคือข้อมูลโดยรวมที่ ปั่นทุกปัจจัยรวมกันให้เราพร้อมดืม ส่วนผสมต่างๆในตลาดไม่ว่าจะเป็น ราคาที่แท้จริง ราคาอารมณ์ ราคาข่าว มันสะท้อนออกมาเป็นราคาจริงที่พล๊อทบนกราฟแล้ว ข้อมูลดีๆแบบนี้จะให้อคติ ทำเราพลาดโอกาสไปทำไมกัน เราจะเป็น VI แต่เป็น VI ที่เป็นนักเรียนรู้ อคติ หรือคำพูดต่างๆของคนอื่นที่เราไม่ได้ไปพิสูจน์ด้วยตัวเองว่ามันดีหรือมั่ว เราก็ลบทิ้งไป แล้วเข้าไปดูมันกับตาตัวเองว่ามันดีจริงตามที่ว่าไหม ลองตามมาผมจะทำให้ดูว่าทำไม VI ถึงใช้เทคนิคได้ วอร์เรน บัฟเฟต ไม่ด่าท่านแน่นอน
กราฟหุ้นคืออะไร ตอบง่ายๆกำปั้นทุบจอ มันก็คือกลุ่มของราคาหุ้น ในช่วงเวลานั้นๆ แล้วมันบอกอะไรเราได้บ้าง
ใครจะลบทิ้งก็ลบ ผมไม่ลบคนนึงละมันมีวิธีอีกเยอะที่จะเข้าซื้อได้ในราคาที่ถูกเหมือนกัน จากหลักการตีTREND LINE เราจะลองนำกลับมาใช้ เพื่อแบ่งโซนราคาว่าหุ้นดีๆที่เราอยากได้แต่เข้าใจว่าแพงนั้น มีราคาที่เหมาะสมเข้าซื้อ หรือขายได้เมื่อไหร่ครับ ลองเข้ามาดูตัวอย่างกันครับ
HMPRO จากรูปตัวอย่าง แบ่งโซนให้เห็นชัดๆนะครับกรอบสีเขียว ถือว่าเป็นราคาปกติ ถ้าจะซื้อพยายามซื้อที่ขอบ HOME ZONE ด้านล่าง ถ้าจะขายในโซนนี้ก็คือขายในขอบบนของโซน ทีนี้ลองขึ้นไปดู
โซนสีเหลืองบนนะครับ โซนนี้ ถ้าราคาเข้าไปขอให้คิดไว้ว่ามันเป็นโซนที่ Greed คือคนแห่เข้ามากเกินเหตุเพื่อนอยู่ด้วยกันที่นี่เยอะเลยสบายใจเหมือนกับพากันไปสวนสนุกใครๆก็อยากไปเพราะคิดว่าหุ้นมันขึ้นแรงแห่กันเข้าแต่ที่จริงแล้ว จะหล่มตุบได้ทุกเมื่อ ถ้าเข้าไปในโซนนี่แล้วจะซื้อต้องระวังให้มากๆ แน่นอนเป็นเวลาขายที่ดี (VI แบบเก่าเขาก็เล็งขายที่นี่เหมือนกัน)ยิ่งขายใกล้ขอบบนของโซนได้ยิ่งดี โซนนี้มันจะอยู่ไม่นานหรอกสักพักทุกคนจะรู้ตัว แล้วก็แห่กันลงใครหลงทางอยู่ ก็ได้อยู่ดอยกันไป
สุดท้ายโซนล่างสุดสีแดงเป็นโซน Fear โซนนี้เป็นโซนใจเสีย เพื่อนจะมาด้วยน้อยเพราะพากันกลัว ถ้าเราจะซื้อพยายามซื้อที่ขอบล่างสุดของโซนถ้าเด้งแล้วถึงเข้าซื้อ ถ้าหุ้นที่เติบโต และราคาไม่พรวดแบบหวือหวามาก ตีแบบนี้ได้ ยิ่งใช้กับ TimeFrame week ขึ้นไปจะยิ่งเห็นภาพชัด เห็นว่าตัวเองอยู่โซนไหน
ข้อคิดซื้อที่ขอบล่างของโซน ถ้าหุ้นเปลี่ยนโซนลงก็คัท ถ้าหุ้นเปลี่ยนโซนขึ้นซื้อตาม แต่ละโซนมีลักษณะเฉพาะ เวลาราคาอยู่ที่โซนไหนก็ควรมีกลยุทธิ์เฉพาะสำหรับโซนนั้นๆ
สรุปเมื่อเปรียบเทียบกับ แนวทางที่ VI สายเก่าใช้กับการใช้เทคนิคร่วมแบบ VI สายใหม่
คลิกที่รูปเพื่อดูรูปขนาดใหญ่
แล้วทำไมเราไม่ใช้ข้อมูลกราฟที่เรามีละ จาก การใช้เทคนิควิเคราะห์หุ้น กราฟคือข้อมูลโดยรวมที่ ปั่นทุกปัจจัยรวมกันให้เราพร้อมดืม ส่วนผสมต่างๆในตลาดไม่ว่าจะเป็น ราคาที่แท้จริง ราคาอารมณ์ ราคาข่าว มันสะท้อนออกมาเป็นราคาจริงที่พล๊อทบนกราฟแล้ว ข้อมูลดีๆแบบนี้จะให้อคติ ทำเราพลาดโอกาสไปทำไมกัน เราจะเป็น VI แต่เป็น VI ที่เป็นนักเรียนรู้ อคติ หรือคำพูดต่างๆของคนอื่นที่เราไม่ได้ไปพิสูจน์ด้วยตัวเองว่ามันดีหรือมั่ว เราก็ลบทิ้งไป แล้วเข้าไปดูมันกับตาตัวเองว่ามันดีจริงตามที่ว่าไหม ลองตามมาผมจะทำให้ดูว่าทำไม VI ถึงใช้เทคนิคได้ วอร์เรน บัฟเฟต ไม่ด่าท่านแน่นอน
กราฟหุ้นคืออะไร ตอบง่ายๆกำปั้นทุบจอ มันก็คือกลุ่มของราคาหุ้น ในช่วงเวลานั้นๆ แล้วมันบอกอะไรเราได้บ้าง
- มันเอาอารมณ์ ความกลัว ความโลภ ข่าว ในแต่ละช่วงเวลามาปั่นรวมกัน ให้เราได้กินในคำเดียว เราไม่ต้องทำอะไรอีกแล้ว ดูราคาไม่ต้องสืบหาข่าว หรืออะไรก็สามารถอ่านใจของคนในตลาดในช่วงเวลานั้นๆได้
- กลุ่มราคาที่ได้ทำให้เรามองเห็นเทรนด์และทิศทางของตลาด มองเห็นว่าขณะนี้คนกลัว คนคลั่ง คนไม่แน่ใจ คนมั่นใจ เราสามารถตีความหมายได้จากกราฟ
- เมื่อเราอ่านใจคนจากตลาดได้แล้ว เราก็สามารถกำหนดกลยุทธ์ ของตัวเองได้อย่างถูกต้องมากขึ้น
ใครจะลบทิ้งก็ลบ ผมไม่ลบคนนึงละมันมีวิธีอีกเยอะที่จะเข้าซื้อได้ในราคาที่ถูกเหมือนกัน จากหลักการตีTREND LINE เราจะลองนำกลับมาใช้ เพื่อแบ่งโซนราคาว่าหุ้นดีๆที่เราอยากได้แต่เข้าใจว่าแพงนั้น มีราคาที่เหมาะสมเข้าซื้อ หรือขายได้เมื่อไหร่ครับ ลองเข้ามาดูตัวอย่างกันครับ
HMPRO จากรูปตัวอย่าง แบ่งโซนให้เห็นชัดๆนะครับกรอบสีเขียว ถือว่าเป็นราคาปกติ ถ้าจะซื้อพยายามซื้อที่ขอบ HOME ZONE ด้านล่าง ถ้าจะขายในโซนนี้ก็คือขายในขอบบนของโซน ทีนี้ลองขึ้นไปดู
โซนสีเหลืองบนนะครับ โซนนี้ ถ้าราคาเข้าไปขอให้คิดไว้ว่ามันเป็นโซนที่ Greed คือคนแห่เข้ามากเกินเหตุเพื่อนอยู่ด้วยกันที่นี่เยอะเลยสบายใจเหมือนกับพากันไปสวนสนุกใครๆก็อยากไปเพราะคิดว่าหุ้นมันขึ้นแรงแห่กันเข้าแต่ที่จริงแล้ว จะหล่มตุบได้ทุกเมื่อ ถ้าเข้าไปในโซนนี่แล้วจะซื้อต้องระวังให้มากๆ แน่นอนเป็นเวลาขายที่ดี (VI แบบเก่าเขาก็เล็งขายที่นี่เหมือนกัน)ยิ่งขายใกล้ขอบบนของโซนได้ยิ่งดี โซนนี้มันจะอยู่ไม่นานหรอกสักพักทุกคนจะรู้ตัว แล้วก็แห่กันลงใครหลงทางอยู่ ก็ได้อยู่ดอยกันไป
สุดท้ายโซนล่างสุดสีแดงเป็นโซน Fear โซนนี้เป็นโซนใจเสีย เพื่อนจะมาด้วยน้อยเพราะพากันกลัว ถ้าเราจะซื้อพยายามซื้อที่ขอบล่างสุดของโซนถ้าเด้งแล้วถึงเข้าซื้อ ถ้าหุ้นที่เติบโต และราคาไม่พรวดแบบหวือหวามาก ตีแบบนี้ได้ ยิ่งใช้กับ TimeFrame week ขึ้นไปจะยิ่งเห็นภาพชัด เห็นว่าตัวเองอยู่โซนไหน
ข้อคิดซื้อที่ขอบล่างของโซน ถ้าหุ้นเปลี่ยนโซนลงก็คัท ถ้าหุ้นเปลี่ยนโซนขึ้นซื้อตาม แต่ละโซนมีลักษณะเฉพาะ เวลาราคาอยู่ที่โซนไหนก็ควรมีกลยุทธิ์เฉพาะสำหรับโซนนั้นๆ
สรุปเมื่อเปรียบเทียบกับ แนวทางที่ VI สายเก่าใช้กับการใช้เทคนิคร่วมแบบ VI สายใหม่
- VI สายเก่าใช้การอ่านงบ หาแนวโน้มธุรกิจ แล้วคำนวนราคาที่แท้จริงออกมา เมื่อราคามีส่วนต่าง จากค่าส่วนลดระหว่างราคาปัจจุบันกับราคา ที่แท้จริงมากพอก็เข้าซื้อ VI สายใหม่ ใช้การดูงบการเงินคร่าวๆเมื่อเป็นกิจการที่เติบโตดีต่อเนื่องมีปันผลพอใจ ถึงราคาไม่ถูกเหมือนของสายเก่าแล้ว ก็มาตีเทรนด์ไลน์เพื่อหาราคาที่เหมาะสมเมื่อเทียบกับอดีต จากรูปตัวอย่าง 3 โซนที่เห็นโซนล่างสุดโซนแห่งความกลัว เป็นโซนที่เราจะเข้าซื้อเก็บที่โซนนี้ยิ่งอยู่ห่างจาก HOME ZONE มากเท่าไหร่ยิ่งมี ส่วนต่าง จากค่าส่วนลดระหว่างราคาปัจจุบันกับราคา ที่แท้จริง มากเท่านั้น
- VI สายเก่าขายหุ้นเมื่อราคาหุ้นขึ้นเลยไปจากราคาที่แท้จริงที่คำนวนได้มากแล้ว VI สายใหม่ ขายแบบกว้างๆคือเมื่อเข้าสู่ Greed Zone หรือแม้แต่ การซื้อขายทำกำไรในกรอบ ที่เราทำแบบนั้นได้ เพราะเราเห็นภาพที่ชัดเจน ของกลุ่มราคา
- เมื่อเวลาเปลี่ยนไป บริษัทยังเจริญเติบโตเหมือนเดิม ราคาที่แท้จริงของ VI สายใหม่จะถูกอัพเดตด้วยตัวเองจากกราฟอัตโนมัติ ส่วนVI สายเก่าจำเป็นต้องจับตา ปรับเปลี่ยนราคาของตัวเองตลอด ถ้าใครไม่ทำ สิ่งที่เรียกว่าขายหมู หรือ อยู่ดอย อาจจะเกิดขึ้นได้ เมื่อหุ้นเปลี่ยนเทรนด์ (ราคามันมาก่อนข่าวแน่นอนดั่งสุภาษิตไทยที่ว่า หน้าต่างมีหู ประตูมีช่อง ถ้าหวังธรรมาภิบาลจากเมืองไทย ให้ไปที่วัด 555)
คลิกที่รูปเพื่อดูรูปขนาดใหญ่