วันเสาร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ลงทุนแบบ VI แต่ใช้เทคนิควิเคราะห์ทำยังไงลองมาดูกัน

เวลา เราอ่านหนังสือการลงทุนในหุ้นแบบ Value Investor สิ่งที่เขากล่าวถึงบ่อยๆคือ การหามูลค่าที่แท้จริง (intrinsic value) พอเราลองหาตามที่เขาบอก คุณปวดหัวกันไหม ราคาที่ได้มา มักไม่ค่อยจะหาซื้อได้จริงเลย การแก้ปัญหาตรงนี้ขั้นต้น เรามักจะเพิ่มสิ่งที่เรียกว่าค่า premium ซึ่งจะเป็นการเพิ่มราคาให้ตามตลาดเช่น ถ้าตลาดปกติ หรือตลาดขาขึ่น เราก็เพิ่มราคาหุ้นตัวนั้นๆจาก มูลค่าที่แท้จริงที่เราหาได้ เช่น หุ้น A เราหามูลค่าที่แท้จริงที่เราหาได้คือ 5 บาท ช่วงปกติ สมมุตว่าราคามันอยู่ที่ 7 บาท 2 บาทคือค่า premium เป็นต้นเจ้าค่า premium นี่แหละตัวปัญหา เราจะรู้ได้ยังไงว่าควรให้ค่ามันที่เท่าไหร่ คิดมานานมากสิ่งที่ได้เรามักใช้ความรู้สึกของเราในการกำหนด ซึ่งความผิดพลาดมันมีสูงมากเพราะอารมณ์เราไม่เคยนิ่ง ยิ่งในสภาวะตลาดต่างๆ อารมณ์เรายิ่งพลุ้งพล่าน เชื่อถือได้ยากมาก

แล้วทำไมเราไม่ใช้ข้อมูลกราฟที่เรามีละ จาก การใช้เทคนิควิเคราะห์หุ้น กราฟคือข้อมูลโดยรวมที่ ปั่นทุกปัจจัยรวมกันให้เราพร้อมดืม ส่วนผสมต่างๆในตลาดไม่ว่าจะเป็น ราคาที่แท้จริง ราคาอารมณ์ ราคาข่าว มันสะท้อนออกมาเป็นราคาจริงที่พล๊อทบนกราฟแล้ว ข้อมูลดีๆแบบนี้จะให้อคติ ทำเราพลาดโอกาสไปทำไมกัน เราจะเป็น VI แต่เป็น VI ที่เป็นนักเรียนรู้ อคติ หรือคำพูดต่างๆของคนอื่นที่เราไม่ได้ไปพิสูจน์ด้วยตัวเองว่ามันดีหรือมั่ว เราก็ลบทิ้งไป แล้วเข้าไปดูมันกับตาตัวเองว่ามันดีจริงตามที่ว่าไหม  ลองตามมาผมจะทำให้ดูว่าทำไม VI ถึงใช้เทคนิคได้ วอร์เรน บัฟเฟต ไม่ด่าท่านแน่นอน
กราฟหุ้นคืออะไร ตอบง่ายๆกำปั้นทุบจอ มันก็คือกลุ่มของราคาหุ้น ในช่วงเวลานั้นๆ แล้วมันบอกอะไรเราได้บ้าง
  1. มันเอาอารมณ์ ความกลัว ความโลภ ข่าว ในแต่ละช่วงเวลามาปั่นรวมกัน ให้เราได้กินในคำเดียว เราไม่ต้องทำอะไรอีกแล้ว ดูราคาไม่ต้องสืบหาข่าว หรืออะไรก็สามารถอ่านใจของคนในตลาดในช่วงเวลานั้นๆได้
  2. กลุ่มราคาที่ได้ทำให้เรามองเห็นเทรนด์และทิศทางของตลาด มองเห็นว่าขณะนี้คนกลัว คนคลั่ง คนไม่แน่ใจ คนมั่นใจ เราสามารถตีความหมายได้จากกราฟ
  3. เมื่อเราอ่านใจคนจากตลาดได้แล้ว เราก็สามารถกำหนดกลยุทธ์ ของตัวเองได้อย่างถูกต้องมากขึ้น
ทีนี้ลองมาดูตัวอย่างจากหุ้นจริง VI ชอบหุ้นตัวนี้นะครับ HMPRO เมื่อมองที่พื้นฐานคร่าวๆ นับเป็นหุ้นที่มีการเจริญเติบโตดีตัวหนึ่งมีกำไรปันผลเรื่อยๆ คนที่เข้าซื้อตั้งแต่ราคาถูกมาก ๆก็ลอยตัวแล้วและเรียกว่าตัวเองเป็น VI ของจริง แล้วเราๆท่านๆที่อยากเป็น VI เหมือนกันแต่เข้าไม่ทันแล้วควรต้องลบหุ้นตัวนี้ออกจากพอร์ทไหม เพราะราคามันไม่ต่ำเหมือนที่เซียนเขาเข้าแล้ว

ใครจะลบทิ้งก็ลบ ผมไม่ลบคนนึงละมันมีวิธีอีกเยอะที่จะเข้าซื้อได้ในราคาที่ถูกเหมือนกัน จากหลักการตีTREND LINE เราจะลองนำกลับมาใช้ เพื่อแบ่งโซนราคาว่าหุ้นดีๆที่เราอยากได้แต่เข้าใจว่าแพงนั้น มีราคาที่เหมาะสมเข้าซื้อ หรือขายได้เมื่อไหร่ครับ ลองเข้ามาดูตัวอย่างกันครับ

HMPRO จากรูปตัวอย่าง แบ่งโซนให้เห็นชัดๆนะครับกรอบสีเขียว ถือว่าเป็นราคาปกติ ถ้าจะซื้อพยายามซื้อที่ขอบ HOME ZONE ด้านล่าง ถ้าจะขายในโซนนี้ก็คือขายในขอบบนของโซน ทีนี้ลองขึ้นไปดู
โซนสีเหลืองบนนะครับ โซนนี้ ถ้าราคาเข้าไปขอให้คิดไว้ว่ามันเป็นโซนที่ Greed คือคนแห่เข้ามากเกินเหตุเพื่อนอยู่ด้วยกันที่นี่เยอะเลยสบายใจเหมือนกับพากันไปสวนสนุกใครๆก็อยากไปเพราะคิดว่าหุ้นมันขึ้นแรงแห่กันเข้าแต่ที่จริงแล้ว จะหล่มตุบได้ทุกเมื่อ ถ้าเข้าไปในโซนนี่แล้วจะซื้อต้องระวังให้มากๆ แน่นอนเป็นเวลาขายที่ดี (VI แบบเก่าเขาก็เล็งขายที่นี่เหมือนกัน)ยิ่งขายใกล้ขอบบนของโซนได้ยิ่งดี โซนนี้มันจะอยู่ไม่นานหรอกสักพักทุกคนจะรู้ตัว แล้วก็แห่กันลงใครหลงทางอยู่ ก็ได้อยู่ดอยกันไป
สุดท้ายโซนล่างสุดสีแดงเป็นโซน Fear โซนนี้เป็นโซนใจเสีย เพื่อนจะมาด้วยน้อยเพราะพากันกลัว ถ้าเราจะซื้อพยายามซื้อที่ขอบล่างสุดของโซนถ้าเด้งแล้วถึงเข้าซื้อ ถ้าหุ้นที่เติบโต และราคาไม่พรวดแบบหวือหวามาก ตีแบบนี้ได้ ยิ่งใช้กับ TimeFrame week ขึ้นไปจะยิ่งเห็นภาพชัด เห็นว่าตัวเองอยู่โซนไหน

ข้อคิดซื้อที่ขอบล่างของโซน ถ้าหุ้นเปลี่ยนโซนลงก็คัท ถ้าหุ้นเปลี่ยนโซนขึ้นซื้อตาม แต่ละโซนมีลักษณะเฉพาะ เวลาราคาอยู่ที่โซนไหนก็ควรมีกลยุทธิ์เฉพาะสำหรับโซนนั้นๆ

สรุปเมื่อเปรียบเทียบกับ แนวทางที่ VI สายเก่าใช้กับการใช้เทคนิคร่วมแบบ VI สายใหม่
  1. VI สายเก่าใช้การอ่านงบ หาแนวโน้มธุรกิจ แล้วคำนวนราคาที่แท้จริงออกมา เมื่อราคามีส่วนต่าง จากค่าส่วนลดระหว่างราคาปัจจุบันกับราคา ที่แท้จริงมากพอก็เข้าซื้อ VI สายใหม่ ใช้การดูงบการเงินคร่าวๆเมื่อเป็นกิจการที่เติบโตดีต่อเนื่องมีปันผลพอใจ ถึงราคาไม่ถูกเหมือนของสายเก่าแล้ว ก็มาตีเทรนด์ไลน์เพื่อหาราคาที่เหมาะสมเมื่อเทียบกับอดีต จากรูปตัวอย่าง 3 โซนที่เห็นโซนล่างสุดโซนแห่งความกลัว เป็นโซนที่เราจะเข้าซื้อเก็บที่โซนนี้ยิ่งอยู่ห่างจาก HOME ZONE มากเท่าไหร่ยิ่งมี ส่วนต่าง จากค่าส่วนลดระหว่างราคาปัจจุบันกับราคา ที่แท้จริง มากเท่านั้น
  2. VI สายเก่าขายหุ้นเมื่อราคาหุ้นขึ้นเลยไปจากราคาที่แท้จริงที่คำนวนได้มากแล้ว VI สายใหม่ ขายแบบกว้างๆคือเมื่อเข้าสู่ Greed Zone หรือแม้แต่ การซื้อขายทำกำไรในกรอบ ที่เราทำแบบนั้นได้ เพราะเราเห็นภาพที่ชัดเจน ของกลุ่มราคา
  3. เมื่อเวลาเปลี่ยนไป บริษัทยังเจริญเติบโตเหมือนเดิม ราคาที่แท้จริงของ VI สายใหม่จะถูกอัพเดตด้วยตัวเองจากกราฟอัตโนมัติ ส่วนVI สายเก่าจำเป็นต้องจับตา ปรับเปลี่ยนราคาของตัวเองตลอด ถ้าใครไม่ทำ สิ่งที่เรียกว่าขายหมู หรือ อยู่ดอย อาจจะเกิดขึ้นได้ เมื่อหุ้นเปลี่ยนเทรนด์ (ราคามันมาก่อนข่าวแน่นอนดั่งสุภาษิตไทยที่ว่า หน้าต่างมีหู ประตูมีช่อง ถ้าหวังธรรมาภิบาลจากเมืองไทย ให้ไปที่วัด 555)

คลิกที่รูปเพื่อดูรูปขนาดใหญ่

วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2555

แบ่งปันแนวทางการวิเคราะห์เทคนิค ลองมาดูจากตัวอย่าง ADVANC กันครับ

ก่อนอื่นต้องออกตัวก่อนว่าผมไม่ใช่เซียนนะครับ ไม่ได้มาบอกว่าหุ้นจะขึ้นเท่านั้นเท่านี่ หรือ จะทำนายแบบนั้นแบบนี้ ส่วนตัวไม่คิดว่าใครจะทำนายได้ ขอแบ่งปันเฉยๆเผื่อว่าจะมีประโยชน์กับนักลงทุนท่านอื่นบ้างครับ

ผมยกตัวอย่างเป็น หุ้น Advanc ลองมาดูกันครับ ว่าเราจะมาหาจุดเข้าซื้อ หรือ ขายออก แบบง่ายๆ กันได้ยังไง 

ผมบอกว่าใครก็ทำนายราคาหุ้นไม่ได้นั้นเป็นเรื่องจริง แต่ก็มีเรื่องจริงอีกเรื่องคือ เราสามารถคาดการณ์ได้ว่าราคาจะไปทิศทางไหน

หลักการง่ายๆ คราวก่อนเคยเขียนมาลงแล้วมีคนบ่นว่าเข้าใจยาก คราวนี้จะยกตัวอย่างให้ง่ายกว่าเดิมเข้าไปอีก คือ เอาแค่ การตีเทรนด์ไลน์ สองกรอบ กรอบแรกเป็นเทรนด์ไลน์ขาขึ้น จากในรูป ก็เป็นกรอบเส้นสีเขียวนั้นแหละครับ โดยเทรนด์ไลน์ขาขึ้นนี้ จะลากจากจุดที่มีนัยสำคัญ โดยดูจาก Indicator ประกอบ แนวต้านลากจากจุดที่มีนัยสำคัญ สูงไปสูง ส่วนแนวรับ ก็จากต่ำ ไปต่ำ สำหรับตัวอย่างนี้ ผมใช้การทำ parallel Line เลยโดยลากเส้นแนวรับ แล้วทำ parallel เป็นเส้นแนวต้าน เส้นนี้จะกำหนดกรอบ ให้เรารู้ว่า ถ้ายังอยู๋ในกรอบนี้ ถือว่าหุ้นยังอยู่ในขาขึ้น ทุกการ Break out มีนัยสำคัญทั้งสิ้นนะครับ

หลังจากที่ราคาหุ้น Advanc เบรกลงมาข้างล่างเส้นแนวรับสีเขียวของกรอบเทรนด์ขาขึ้น สิ่งที่ต้องทำก็คือ การหากรอบเทรนด์ ขาลงให้ได้เร็วที่สุด ตรงส่วนนี้อาจจะต้องใช้เวลาให้ราคา ฟอร์มตัวให้เห็นกรอบได้ชัดสักหน่อย กรอบพักตัวจากในรูปก็คือกรอบสีเหลืองนั้นเอง โดยผมเริ่มจากการลาก เทรนด์ไลน์แนวรับเหมือนเดิม หลังจากนั้นก็ ทำ parallel Line ขั้นไปเพื่อเป็นแนวต้าน หาจุดที่มีนัยสำคัญ เรื่องของจุดที่มีนัยสำคัญ นี่ถ้าอยากหารายละเอียดเพิ่ม เข้าไปติดตามในบล๊อกหรือในเฟสบุ๊คได้ครับ เดี๋ยวจะห้อยไว้ท้ายบทความ

ทีนี้เราจะได้กรอบ การเคลื่อนตัวของราคาแล้วเป็นสองกรอบ คือกรอบขาขึ้นสีเขียว และกรอบขาลงสีเหลือง เอาไว้ใช้หาจังหวะเข้าออกหุ้นแล้วครับ

สุดท้ายแล้ว หลังจากเราได้กรอบสองกรอบเราจะเอามาปรับใช้ในการซื้อขายยังไง ลองมาว่ากันง่ายๆครับ 

1 สำหรับขาเทคนิคที่เล่นสั้นมากๆ การซื้อขายจะซื้อเมื่อหุ้นเด้งที่กรอบหรือเส้นที่เราลากครับ ลงมาถึงเส้นล่างหรือแนวรับก็ซื้อ พอไปถึงแนวต้านก็ขาย ถ้าเบรกขึ้นไปก็ปล่อย Profit Run แต่ถ้าเกิดเบรกแนวรับลงมา ซึ่งก็คือเปลี่ยนเทรนด์เป็นขาลง อันนี้ก็รีบ Cut Lost ในแต่ละรอบอาจจะใช้เวลาสักอาทิตย์หนึ่ง พูดเหมือนง่าย แต่ไม่ง่ายนะครับ โอกาสผิดพลาดมีสูง โดยเฉพาะเมื่อหุ้นเข้าสู่กรอบขางลงหรือพักตัว ความน่ากลัวและกดดันจะเพิ่มไปเป็นสองเท่า ใครชอบแบบนี้พึงระวังไว้ให้มากครับ

2 สำหรับขาเทคนิคที่เล่นกลางๆ เวลาประมาน 1-3 เดือนแล้วแต่ว่าหุ้นอยู่ช่วงไหน(การดูว่าหุ้นอยู่ช่วงไหน ผมเคยเอามาโพสไว้แล้ว ถ้าหาไม่เจอตามไปดูในเฟสบุ๊คได้ครับ) สำหรับผมก็ชอบเล่นแบบนี้นะครับ เราอาจจะตั้งกฏไว้เลย ว่าเราจะซื้อ หรือขาย เมื่อ หุ้นเปลี่ยนเทรนด์ แค่นั้น เช่นขายทันทีเมื่อหลุดจากเทรนด์ขาขึ้น แล้วกลับเข้าซื้อ เมื่อหุ้นกลับออกมาจากเทรนด์ขาลงเข้าสู่เทรนด์ขาขึ้นอีกครับ จากตัวอย่าง จุดที่ผมใช้ลูกศรชี้บอกว่า BREAK OUT นั้นแหละครับ เราก็เริ่มเข้า  ระหว่างทางในเทรนด์ขาขึ้น ใครจะตกแต่งสวน ซื้อขายลดต้นทุนบ้าง ก็ดู ตามขอบเทรนด์ไลน์ เอา มันจะมีหลายๆครั้งที่ชัดเจนว่าจะเด้งไปมาครับ อันไหนไม่ชัดเจนเราก็ไม่ต้องแตะ รอขายเมื่อถึงเป้าใหญ่อีกที

เรื่องเป้าใหญ่เราจะมีวิธีการวางยังไง จะเป็นเรื่องเดียวกับการดูว่าตลาดหุ้นตอนนี้อยู่ที่ไหน และมีอารมยังไง ส่วนนี้ไว้ จะมาเขียนแบ่งปัน กันอีกที ใครชอบหรือคิดว่ามีประโยชน์อย่าลืมจิ้มกิ๊ฟให้กำลังใจกันบ้างนะครับ (เอาไปทำไรหว่า 555)

เทรนด์ไลน์ จะมีความแม่นยำมากเมื่อเราใช้ร่วมกับ การอ่านเวฟ และ Indi บางตัว ถ้าสนใจจะมาแบ่งปันเรื่อยๆนะครับ 

ส่วนนี่จะเป็น เฟสบุ๊คผม ที่ใช้แบ่งปันความรู้ทางเทคนิค ปกติเวลาเขียนบทความหรือ ตีตัวอย่างกราฟ ครับ Thai Trader

วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การออกแบบระบบเทรด พร้อมตัวอย่างให้เข้าใจง่ายๆจากเครื่องมือ Fibonaci Retracement RSI MACD และ TrendLine

การออกแบบระบบเทรด พร้อมตัวอย่างให้เข้าใจง่ายๆจากเครื่องมือ Fibonaci Retracement, RSI, MACD, และ TrendLine

หลังจากค้างไว้คราวก่อนจากเรื่อง ทำไมถึงต้องใช้เทคนิคในการช่วยซื้อขายหุ้น 1โพสนี้ จะเป็นการยกตัวอย่างการใช้เทคนิควิเคราะห์หุ้น รวมถึงการออกแบบการ Trade ของตัวเอง กราฟที่จะใช้ยกตัวอย่างนี้เป็นกราฟ จริง แต่ไม่ได้บอกว่าหุ้นจะขึ้นไปราคาเท่านั้นเท่านี้ นะครับ ไม่ชี้นำว่าหุ้นนี้ดีต้องเข้า ขอให้เป็นตัวอย่างเพื่อให้ไปปรับใช้กับการออกแบบ ระบบการ Trade ของตัวเอง ใครเข้าซื้อเพราะตัวอย่างกราฟ ขอให้เจ๊ง เอ้ยเอาละยังไม่ทัน ไรมีแช่ง 555 ขำๆเอาเป็นว่าถ้าจะเข้าขอให้เข้าเพราะตัวเองคิดว่าดี จะคิดว่าดีหรือไม่ยังไงลองอ่านต่อครับ

ตอนเย็นๆหลังตลาดปิด ผมมักเปิดกราฟดูหุ้น สแกนหาไปเรื่อยเปื่อย ส่วนมากจะหาหุ้นที่ตกโหดๆ มาก่อนแล้ว(ช่วงนี้ก็หายากเหลือเกิน หุ้นดีๆมันขึ้นไปกับ Set หมด) หรือไม่ก็ที่ไซด์เวย์มานานราคาไม่ไปไหน มีหุ้นตัวหนึ่งที่ผมเล็งไว้เป็นการส่วนตัวหลังจากมัวเมาไปกับเซทกระทิงเข้าได้มีโอกาศกลับเข้ามาดู กราฟ แล้วมันก็เป็นดังรูป (คลิ๊กที่รูปเพื่อขยายขนาด)
มันแอบขึ้นและลงแล้วตอนไหนไม่ยักกะเห็น แต่ตอนนี้มันเตะตาเราแล้ว ทำไมเตะตา ไว้เดี๋ยวมาดูกันอีกที ขออิงกลับไปที่พื้นฐานหุ้นก่อน(ถึงจะเน้นการใช้เทคนิค แต่ผมก็ไม่เข้ามั่วหุ้นทุกตัวนะครับ) พื้นฐานตัวนี้ ผมเอาคร่าวๆแค่นั้น เปิดเข้าไปที่ www.set.or.th แล้วพิมตัวย่อหุ้นดูรายละเอียดเลย นักลงทุนแบบ VI เขาจะต้องเจาะงบแบบลึกซึ้ง ส่วนผมไม่ได้ทำขนาดนั้นหลักๆที่ผมดู มีเท่านี้ครับ
  1. คลิกที่ Tab บริษัท/หลักทรัพย์ เพื่อดูว่าบริษัทนี้ ทำธุรกิจเกี่ยวกับอะไรทุนจดทะเบียนเท่าไหร่ ราคาพาร์ เท่าไหร่ หรือจะให้ดีคลิ๊กเข้าไปดูเว็บไซท์เขาสักหน่อย
  2. คลิกที่ Tab งบการเงิน/ผลประกอบการ ตาจะมองไปที่ตัวแรก รายได้รวม ตัวถัดมาคือ กำไรสุทธิ ตัวแรกพอมองผ่านปราดแล้ว ควรได้ตัวเลขในใจทันที ว่าโดยปกติบริษัทนี้จะได้กำไรเท่าไหร่ ลองคลิ๊กไปทำตามดูนะครับจะเห็นภาพ ถ้าบริษัทไหน กำไร ผันผวน มองปราดแล้วไม่ได้เลข ผมจะไม่ค่อยชอบ ถือว่ากิจการไม่นิ่ง ในส่วนของ กำไรสุทธิ ก็เช่นกัน ตัวนี้อาจจะไม่ได้เลขในใจ แต่ขออย่าเดี๋ยว ติดลบ เดี๋ยว บวก ผันผวนแบบนี้ผมก็ไม่ชอบเช่นกัน จะลบ ให้ลบๆไปจนเริ่มดีขึ้น จะบวกก็บวกให้ตลอด หลักๆผมจะดูสองตัวนี้แหละ ต่อไปจะเป็นส่วนเสริมตัวเลขยิ่งเยอะยิ่งดีคือ ROA และ ROE ผมไม่ได้ดู ส่วนผู้ถือหุ้นและ สินทรัพย์ทั้งหมดเพราะว่าสองตัวนี้จะบอกเราว่าสินทรัพย์ และ เงินส่วนผู้ถือหุ้น ถูกเอาไปใช้ทำกำไรให้เราได้ดีแค่ไหน บริษัทไหนใช้สินทรัพย์หาเงิน ROA ก็จะสูง เป็นต้น รายละเอียดลึกๆ ลองไป Search ใน GOOGLE ดูเอาเองว่ามันมีความหมายยังไงนะครับ สรุปสองตัวนี้ยิ่งสูง ผู้บริหารยิ่งเก่ง กิจการเข้าท่า สุดท้าย เงินปันผล ถ้ามีสม่ำเสมอยิ่งดี เพราะว่าเผื่อไว้กรณีเลวร้าย ถ้าเราติดหรือพลาด กับหุ้นตัวนี้ เงินปันผลอาจจะ พอเป็นยารักษาแผลได้บ้างครับ
  3. คลิกที่ Tab ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ เพื่อดู การถือหุ้นของผู้ถือหุ้นรายย่อย (% Free float) ส่วนนี้จะบอกเราว่ามีหุ้นกระจายอยู่ในตลาดมากแค่ไหน ยิ่งมีมากแสดงว่าสภาพคล่องในการซื้อขายจะสูง เราซื้อ หรือ ขายหุ้นได้เร็ว คนจะมาปั่นก็จะทำได้ยากขึ้น เพราะต้องใช้เงินเยอะขึ้น ส่วนรายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่ดูเก็บไว้ก็ดีเผื่อมีคนในแบล็คลิส ที่เราเคยรู้ว่าประวัติไม่ค่อยดี จะได้ระวังตัว 
จบขั้นตอนในการเลือกหุ้นง่ายๆที่นี่ นอกนั้นสิ่งที่มีผลกับราคาหุ้นจะไปว่ากันในกราฟแล้วครับ ติดตามต่อได้เลย

จากรูปกราฟที่เห็นข้างบน จะเห็นได้ว่าหุ้นที่ผมเล็งไว้ได้มีการไล่ราคาขึ้นมาและพักตัวในระยะสั้นๆ เตะตาตรงที่ว่าการพักตัวของหุ้นที่เห็นทำท่าจะไปสู่ Wave 3 ก่อนจะพูดถึง Wave 3 ผมลองมาดู Eliott Wave แบบคร่าวๆก่อนโดยไปอ่านบทความนี้ถ้าใครยังไม่รู้จักนะครับ ใช้ Elliott Wave วิเคราะห์หุ้น

เข้าใจหลักการของ Eliott Wave  แล้วทีนี้มาว่ากันทำไมถึงต้องเล็ง Wave 3 ถ้าเป็นไปได้เราก็คงอยากจะเข้าซื้อหุ้นตั้งแต่มันเริ่มขึ้นที่ Wave 1 แต่ในทางปฏิบัติ แล้ว เราจะสังเกตุ Wave 1 ได้ยาก ราคาพักตัว หรือ Side way มาสักพักจะแทบไม่สามารถจับจังหว่ะได้เลยว่าหุ้นจะขึ้นทำ Wave 1 เมื่อไหร่ สิ่งหนึ่งที่พอจะเป็นไปได้คือ การติดตาม Fund Flow ของตลาด

เช่นติดตาม ว่าหุ้นตัวไหนกลุ่มไหนกำลังถูกไล่ราคา เมื่อราคาขึ้นไปจนเริ่มมีการขาย เงินต้องไม่หยุดจริงไหมครับ มันต้องหาที่สิงสถิตที่ใหม่ หุ้น Side way ก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่เงินจะเข้า เป็นต้น รวมถึงแนวโน้มของกิจการ ข่าว การเปลี่ยนแปลงของธุรกิจบริษัทนั้นๆ ก็มีส่วนให้หุ้นเริ่มวิ่ง (จะไม่พูดถึงหุ้นที่ มีคนเข้ามาปั่นโดยไม่มีพิ้นฐานอะไร เกิดขึ้นบ่อย ถ้าผมงงว่ามันขึ้นได้ยังไง ก็จะไม่ไปแตะแน่นอน)

กลับเข้ามาที่หุ้นตัวอย่างตัวเดิม ให้ชื่อนามสมมุติว่า XYZ แล้วกันครับหลังจากที่ผมสงสัยว่า มันได้ทำ Wave 1 แล้ว จะมองเป้าหมาย Wave 3 หรือแม้แต่ Wave 5 ยังไง ทีนี้จะมาถึงคราวของพระเอกของเราก็คือ เครื่องมือ Fibonaci Retracement นั้นเองโดยเครื่องมือนี้จะมีในโปรแกรมดูกราฟหลักๆทั่วไปนะครับ ตัวอย่างเช่นผมใช้ eFin Smart Portal ก็จะมืเครื่องมือนี้วางให้ใช้อยู่ 

ในการลาก Fibonaci Retracement จะทำด้วยการ ลากจากจุด สูงสุด ไปยังต่ำสุด หรือกลับกัน โดยจุดนั้นๆ จะต้องเป็นจุดที่มีนัยสำคัญ จุดนั้นๆจะมีนัยสำคัญยังไง ลองมาดูกันต่อครับ

จากหัวข้อบทความ ยังเหลือ RSI และ MACD สองตัวนี้เป็นเครื่องมือที่จะช่วยเราชี้ให้ชัดว่าจุดไหนเป็น จุดสำคัญ ให้ดูจุดที่สำพันธ์กันของสอง Indicator นี้โดยจุดสูงสุด จรด จุดต่ำสุด เทียบกับราคา มีนัยสำคัญไหม จากรูปเราลาก จากจุดต่ำสุด ไปสู่จุดสูงสุด ดังที่เห็นอธิบายในรูป นี่คือการตั้งสมมุติฐาน ว่าตรงนี้เป็น Wave 1

หลังจาก ลาก Fibonaci Retracement เป็นที่เรียบร้อยมาดูกันว่ามันบอกอะไรกับเราได้บ้างครับ ผมกำหนดค่าให้ Fibonaci Retracement นี้มีตัวชี้เป็น บวก และ ลบ โดยมีค่าต่างๆแบบนี้นะครับ 161.8, 132.8, 100, 61.8, 32.8, 0, -32.8, -61.8, -132.8, -161.8, -261.8, -361.8 ค่าต่างๆเหล่านี้ ถ้าเป็นราคาปัจจุบันที่เราลาก จะเป็น 0-100 เท่านั้น ส่วนค่าค่าอื่นๆ จะเป็นการคาดการณ์ อนาคต กรณีที่ หุ้นขึ้นไป หรือลงไป แต่ละค่ามักจะมีนัยสำคัญ ในการพักตัว หรือการเป็นแนวรับ แนวต้านทั้งนั้นครับ

จากรูป เราจะได้สมมุติฐานว่า Wave 1,2 และ 3 จะเป็นรูปแบบไหนแล้วครับ ส่วนราคาเป้าหมายของยอด Wave 3 โดยปกติขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ที่เกิดกับหุ้นตัวนั้นๆ มีเรื่องดี มีอะไรเปลี่ยนแปลง มีเงินเข้ามาเยอะ จะสะท้อนออกมาในกราฟ โดยรวมผสม กับอารมณ์ และ ความรู้สึกของนักลงทุนที่มีต่อหุ้นตัวนั้นๆ ครับ โดยปกติ ยอดของคลื่น 3 มักจะไปจบที่ Fibo -32.8, -61.8%, -100% ถือเป็นกระทิงย่อมๆ -132.8, -161.8 ถือว่าเป็นกระทิงป่าปราดเปรียว มาบ่อยถ้าตลาดรวมเป็นขาขึ้นใหญ่ ตัวท้าย เป็นกระทิงเทพ -216.8%, -316.8% หรือมากกว่านั้น กระทิงเทพนี้มักมาก็ต่อเมื่อกิจการมีการเปลี่ยนแปลง ครั้งใหญ่ ต่อพื้นฐานกิจการ หรือที่เรียกกันว่า พื้นฐานเปลี่ยนแว้ววว นั้นเองครับ

ลองเข้าไปตีหุ้นดูหลายๆตัว จะเห็นได้ชัด ว่าทำไมกิจการนั้นๆ จึงขึ้นเอาขึ้นเอา แล้วจะขึ้นไปถึงไหนน้อ เมื่อก่อนต้องมั่วเล่นอย่างเดียว ตอนนี้จะเริ่มคลำทางเห็นแล้ว ว่ามันจะขึ้นไปถึงไหน ไปพักที่เท่าไหร่ เท่าไหร่ ถึงเรียกว่าขึ้นเวอร์ ลงเวอร์ ตลาดบ้าคลั่ง ตลาดเงียบเหงา และที่สำคัญที่สุด เราจะรู้ว่าเราอยู่ตรงจุดไหนของตลาด ต้องเตรียมตัวยังไงกับราคาที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
อันสุดท้ายที่ผมจะพูดถึงรอบนี้ คือการจำกัดกรอบการเคลื่อนไหว หลังจากที่เราได้ภาพกว้างๆ ซึ่งเป็นสมมุติฐานที่เราสร้างขึ้นตาม หลัก Elliott Wave ทีนี้มาจำกัดกรอบในการ Trade ของเรากันบ้างดีกว่า การจำกัดกรอบก็เหมือนกันเอาปืนประทับบ่า และเล็งไปที่เป้าหมาย ที่เราตั้งไว้ ถ้าเกิดว่าเล็งไปแล้วมันไม่ตรงมันไม่โดน เราจะยิงเม็ดเงินของเราออกไปทิ้งทำไมจริงไหมครับ เราก็ต้องรอแรงลม รอจังหวะให้เป้ากลับเข้ามาอยู่ใน ศูนย์เล็งของเราอีกครั้งเราจึงยิง พูดมายืดยาว สิ่งที่เราจะใช้ช่วยเล็งเป้าก็คือ Trend Line นั้นเอง ลองมาดูกันครับ

จากรูปข้างล่างนี้ ผมได้ลากเส้น Trend Line มา 3 เส้น เริ่มที่เส้น สี เขียว หลังจากนั้นผมก็ลากเส้นที่สอง หรือไม่เราอาจจะใช้เครื่องมือ Parallel Line ช่วยลากเหมือนในกรณีนี้ ผมทำออกมาอีกสองเส้น คือสีเหลือง และ สีแดงนำมาวางเป็นกรอบแนวรับ แนวต้านไว้ครับ ทีนี้จุดประสงค์สำคัญก็คือ การคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ตามความเป็นไปได้ต่างๆ และวางแผนรับมือกับมันครับ
หุ้น XYZ นี้ผมได้เข้าซื้อไปเมื่อราคา 5.5 บาท นับแท่งเทียนจากวันปัจจุบันย้อนหลังไป 3 แท่งวันนั้นคือวันที่เข้า ทีนี้สิ่งที่คาดการณ์ก็คือ หุ้นจะต้องขึ้นไปในกรอบ ตามลูกศร เส้นประสีขาว โดยจุด ขายทำกำไร จะเป็นที่ราคาที่มี นัยสำคัญต่างๆ โดยตัวนี้ผมตั้งใจไว้ว่าว่าราคา ที่ 6 บาทสำคัญเพราะเป็น Hight เดิม ลองดูภาพประกอบไปด้วยนะครับ และทั้งยังไปชนเทรนด์ไลน์ที่ตีไว้ หลังจากหุ้น XYZ วิ่งผมจึงได้ตั้งขายไว้ตั้งแต่กลางคืนเลยที่ราคา 5.95 บาท ไม่คิดจะต่อ เพราะอันนี้เป็นนิสัยส่วนตัวผม เวลานั่งเฝ้า หรือดูราคาแล้วตัดสินใจซื้อขายมักโดนตัวเลขในกระดาน ปั่นหัวเอา ขายก็กลัวถูก ซื้อก็กลัวแพง ในเมื่อเรามีระบบของเราแล้วก็ทำตามมัน ตั้งไปเลยเป็นต้น ถ้าเกิดว่ามันขึ้นต่อ และยังอยู่ในช่อง Trend Line หลังจากขายแล้ว ผมก็จะตามไปซื้อต่อ แต่จะขายทิ้งทันที ถ้าราคามันหลุด Trend Line ตามลูกศร เส้นประสีแดงยิ่งถ้าเบรกข้างบน ไปเข้าสู่ช่องระหว่าง Trend Line สีเหลือง กับเขียว ยิ่งซื้อยิ่ง Save ความเสี่ยงที่จะลงเร็วแบบไม่ทันตั้งตัวมีน้อยลง เพราะยังไงคนน่าจะมาวัดใจกันที่เส้นเทรนด์ไลน์ สีแดงก่อนครับ สิ่งที่เราต้องทำก็คือ ถ้ามันอยู่ในกรอบ Trend Line เงินเราก็จะยังอยู่ ส่วนถ้ามันเริ่มดื้อ หลุดกรอบ ออกไป ก็ตัดขายทิ้ง ไปดูหุ้นตัวอื่น ตัวนี้ผมได้ขายแล้ว ที่ราคา 5.95 แต่ไม่ตัดทิ้งนะครับ ยังตามเพราะราคามันยังอยู่ในกรอบ และพร้อมจะเข้าเมื่อ ราคาลงมาแตะเทรนด์ไลน์เส้นล่าง แล้วไม่หลุด ก็ไปด้วยกันต่อ ครับ
สรุปหัวข้อนี้ ดังนี้นะครับ
  1. พยายามเล็งหุ้นไว้ โดยใช้ข้อมูลพื่นฐานช่วย กิจการดีลงทุนมีกำลังใจ กำไรก็จะตามมาครับ
  2. ใช้ Fibonaci Retracement เช็ค Elliot Wave เพื่อดูว่าขณะนี้ราคาอยู่ที่ตรงไหนของตลาด ตลาดกำลังเริ่มวิ่ง หรือ จะวายแล้ว เช็คความเสี่ยงว่าตรงจุดนี้ถ้าเราเข้าซื้อ ความเสี่ยงเสียเงินมากสุด ต่อ กำไรมากที่สุด อยู่ที่เท่าไหร่ เช่นหุ้นตัวอย่าง XYZ ตัวนี้ผมวางว่าถ้าพลาด แบบไม่ทันขายจริงๆ ราคาจะลงไปอยู่ที่พื้นเดิมประมาน 4.3 บาท แต่กรณีที่วิ่งขึ้น ราคาอาจไปจบที่ 7-8 บาท ผมเข้าซื้อที่ 5.5 บาทเพราะฉะนั้น ผมมีสิทธิ์ขาดทุนได้ที่ 1.2 บาท และมีโอกาศกำไรได้ถึง 2.7-3.7 บาท เมื่อให้โอกาศขาดทุน คือ X โอกาศกำไรคือ Y นำ X/Y ถ้าได้ค่าน้อยกว่า 1 ก็ถือว่าโอเค กรณีผมตีไว้ที่ Y= 3  X/Y จะได้เท่ากับ 0.4 ยิ่งน้อย โอกาศกำไรเยอะยิ่งมาก ก็เลยถือว่าเป็นตัวที่น่าเสี่ยง
  3. ใช้ Trend Line เพื่อเล็งราคาว่าเปลี่ยน เทรนด์ จากขึ้นเป็นลงจากลงเป็นขึ้นหรือยัง สร้างระบบการเทรด ของเราที่ตรงนี้ โดยอย่าลืมดูตัวเองว่ามีนิสัยยังไงด้วยนะครับ 
สุดท้าย ใครเอาบทความนี้ไปเผยแพร่ โปรดให้เครดิต กลับมาที่ Page www.facebook.com/ThaiTraderPage หรือว่า thaitraderblog.blogspot.com ด้วย นะครับ จะได้มีกำลังใจเขียนบทความใหม่ๆออกมาเรื่อยๆ

และอย่าลืมติดตามความเคลื่อนไหวการตีกราฟ หรือการเขียนบทความได้ที่นี่ www.facebook.com/ThaiTraderPage

ถ้าใครได้ไอเดียจากบทความนี้แล้วนำไปปรับใช้ จนร่ำรวย ชีวิตมีความสุขขอให้ผลบุญนั้นไปถึง เพื่อนๆ คนรอบข้างอันเป็นที่รักของผมทุกคนด้วย ^^

การรู้จัก ศึกษาหาความรู้มีได้ทุกที่ ไม่จำเป็นต้องอยู่ในโรงเรียนเสมอไป รักสิ่งใด ตั้งใจทำตั้งใจศึกษาสิ่งนั้นให้ถึงที่สุดครับ


วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วิเคราะห์หุ้นจังหวะเข้าออก TVO ,HMPRO ,INTUCH, MFEC, BLA และ DEMCO

TVO ลงฮวบๆมาจากกราฟที่ตีคราวก่อนเด้งกลับขึ้นมาจนชนแนวต้านแรกแล้วครับ ต้านตรงที่เป็นจุดที่โดนกดโดยเส้น EMA 14,200 พร้อมทั้งเส้น fibo 61.8% กรณีที่ย่อลงมาแนวรับที่ประมาน 22-22.5 แนวต้าน 23.5 บาท ส่วนถ้าเบรกขึ้นไปตามลูกศรเขียวแล้วยืนได้ แนวรับเป็น 23.5 แนวต้านเป็นที่ 24 บาทครับ 28-11-2555
HMPRO แรงไม่ถึงกรอบบนรอบนี้ย่อเร็วเทรนวิ่งลงไปใกล้ 11 บาทเรื่อยๆ จุดนั้นเป็นแนวรับที่ดีน่าจะมีเด้งกว้างๆอีกรอบ พักตัวรอบนี้ สำหรับคนเล่นสั้นและกลางถ้าไม่เบรกเส้นเทรนไลน์ข้างบนขึ้นไปยังไงก็ยังไม่น่าเข้าตอนนี้ ถ้าจะเข้าต้องเร็ว เพราะกรอบมันแคบ ส่วนขายาวๆก็เก็บของตามอัธยาศัย สรุป เบรกบนค่อยตาม

 INTUCH เด้งตามเทรนด์พักตัว ไปมา แนวต้านรอบนี้ 64.8-65 บาท แนวรับ 60 เช่นเดิม ถ้าเบรก 60 ลงไป(เส้นแดงแนวนอน)ไปนอนรอเลยแถว 55 บาท เช่นเคยถ้าเข้าเล่นสั้นในกรอบเทรนด์ไลน์สีเหลืองต้องเร็ว จะให้ปลอดภัยที่สุด รอเบรกเทรนด์ไลน์บนก่อนค่อยเข้าครับ ดูหุ้นพักตัวไปแล้วหลายตัว ดูตัวที่วิ่งในเทรนด์ขาขึ้นกันบ้างครับ

 MFEC ทำสัญญานก่อตัวเวฟ 3 วิ่งในกรอบเทรนด์ขาขึ้นถ้าเบรก 6 บาทไปได้จะถือเป็นการคอนเฟิร์มเริ่มเวฟ 3 สำหรับขาเล่นสั้น เล็งขายแถวๆ 6 บาท เป็นแนวต้านแรก ส่วนแนวรับเล็งที่เส้นเหลืองปลายลูกศรเขียว หลุดเส้นนี้ก็ CUT ครับ ถ้าเบรกแนวต้าน 6 บาทขึ้นไปได้ค่อย เข้าตาม ระยะกลาง หรือยาวจะมีช่องเล่นอีกกว้างครับ

 BLA เป็น Side way down มาครบปีพอดี วันนี้อาศัยฤกษ์วันลอยกระเทงทำท่าเบรกเทรนด์ไลน์ ต้องรอดูว่าพรุ่งนี้จะโดนตบกลับมาไหม Volume คอนเฟิร์ม ราคาดีครับน่าลุ้นน่าจับตา แนวต้านคือราคาตอนนี้เลย แนวรับ แบ่งเป็นสองช่วง 43.75 แลั 40 บาทตามลำดับ ใครคิดจะถือยาวแต่เข้าไม่ทันแนะนำรอให้เบรกเส้นเหลืองบนก่อนเพื่อจำกัดความเสี่ยงครับ

 DEMCO กราฟสวยเหมือนกันครับ พรุ่งนี้ถ้าแท่งเทียนวางอยู่บนเส้นเหลือง ถือว่าเบรกสำเร็จ แนวรับ จะเปลี่ยนมาเป็น เส้นเทรนด์เหลือง แนวต้านยังเป็น 7.8-8 บาท MACD ใกล้พ้น 0 แล้วพรุ่งนี้ถ้าแท่งเทียนวางเหนือเส้นเหลืองน่าจะทำให้พ้นน้ำได้ โวลุ่มอย่างที่บอกครับ คอนเฟิร์ม ว่าคนเข้าซื้อเยอะขึ้น RSI ยังมีช่องให้วิ่งก่อนเข้าสู่ เขตซื้อเยอะเกินครับถ้าใครชอบใครเล็งก็นับเป็นเวลาที่ดี แต่ระยะสั้นอาจมีย่อตามแนวต้านที่บอกครับ 28-11-2555

ศึกษาแนวทางการวิเคราะห์กราฟเทคนิค พร้อมทั้งการตีกราฟหุ้นรายวัน ได้ที่นี่  facebook.com/ThaiTraderPage

วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เช็คอาการหุ้น KTC กันหน่อย ใครไม่อยากพลาดลองมาเช็คกันที่นี่ครับ

กราฟหุ้น KTC ใช้เวลา 11 เดือนขึ้นจากเวฟแรกที่ 10.75 บาท มาจนตอนนี้ แนวโน้มจะเป็นเวฟ 5 แล้ว ยอดสูงสุดที่ Fibo 361.8% ที่ราคาแถวๆ 32 บาท นับว่าเป็นหุ้นอีกตัวที่ขึ้นมาอย่างยาวนาน ไม่ธรรมดาเลยที่จะมีหุ้นสักตัวไล่ราคาจากเวฟ 1 สู่เวฟ 5 มีขนาดใหญ่ถึง 361.8% ขึ้นมานานขาลงย่อมลงแรงเป็นธรรมดา
เพราะ คนเล็งจุดออกมาพักใหญ่แล้ว จุดสูงสุดที่ผ่านมาโดนกดทั้งจาก เป้าหมายราคา Fibo ที่ใหญ่มากและเส้น Trend line เมื่อลองตีกรอบพักตัวล่วงหน้าจะได้ตามรูปครับ แนวต้านแรก 27.28 แนวรับ 22.74 โดยวิ่งไปในแนวTrend Line สีเหลืองกรอบชี้ลง ใครไม่เร็วพอเข้าไปตอนนี้ระวังมือขาดครับ ติดตามกราฟรายวัน พร้อมทั้ง วิธีการศึกษาการอ่านกราฟและนับWAVE ได้ที่นี่ครับ facebook.com/ThaiTraderPage

วันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วิเคราะห์หุ้น ADVANCE ระยะสั้น LH ใกล้เบรก Lannaจะไหลไปอีกไกลไหม Banpu จะขึ้นหรือยังมาดูกันเลย

ADVANCE แบบยาวตีไปแล้ววันก่อน วันนี้มาดูแบบเล่นสั้นกันบ้างครับ ตรงนี้เข้าใกล้แนวต้านอีกรอบที่ 200-203 พร้อมย่อลงมาได้ตลอดแนวต้านตัดกันเพียบ ถ้าย่อก็ตกลงมาอยู่ในกรอบเทรนพักตัวเหมือนเดิม แต่ถ้าเบรกขึ้นไปตามลูกศรเขียว ก็เตรียมตังค์กันไว้ครับ 23-11-2555 วิเคราะห์หุ้น ADVANCE ระยะสั้น LH ใกล้เบรก Lannaจะไหลไปอีกไกลไหม Banpu จะขึ้นหรือยังมาดูกันเลย
LH เตรียมเบรก เด้งไปเด้งมาถึงมุมแล้วครับ BB บีบตัว ลงเรื่อยๆ ถ้าเบรกลงแนวรับแรก 8.6 ถ้าเบรกขึ้นไป
แนวต้านก็ 10 บาทเต็มๆ แล้วอาจจะหมดรอบลงพรวดก็ได้(อันนี้ใช้วิจจารณญานเอาครับ) ยังไงก็ถือว่าเข้าใกล้ช่วงระวังแล้วกันครับ 23-11-2555
LANNA ไหลลงไปสู้ แนวรับที่ Fibo 32.8% ตรงนี้เป็นจุดความหวังที่จะเด้งที่สุด เพราะถ้าหลุดตรงนี้ มีสิทธิ์ที่จะเบรกเทรนด์ไลน์สีเหลืองล่างลง ซึ่งถ้าเป็นแบบนั้นมันจะไม่มองว่าเป็นการพักตัวแล้วครับ แต่ถ้ายังเอาอยู่ แนวโน้มเด้งไปมาในกรอบเทรนด์ไลน์สีเหลือง(พักตัว)ต่อไป จุดนี้ใครเข้าก็จงทำใจว่ามันจะยังผันผวนไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเบรก เทรนด์ไลน์สีเหลืองบนได้ครับ 23-11-2555
BANPU วันนี้มีเด้งมาหน่อย แต่ระยะกลาง ยังไงก็ยืนยันคำเดิมว่าจุดปลอดภัยที่สุดคือที่ 310 บาท 23-11-2555

วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ใช้ Elliott Wave วิเคราะห์แนวโน้มทิศทางหุ้นง่ายๆไม่ซีเรียส

ปกติผมไม่ค่อยจะตีกราฟที่ใช้ elliott wave วิเคราะห์เอามาโพสเท่าไหร่ เป็นเพราะว่ากลัวโดนด่า อ้าวเวงละ กลัวโดนด่าแล้วจะมาแนะนำให้ตรูใช้ไมว่ะเนี้ย เพื่อนๆคงคิดแบบนั้นใช่ไหม เอิ้กๆๆ
  ต้องบอกว่าที่ผมกลัวโดนด่า เพราะว่า elliott wave นั้นมักใช้เพื่อทำนายอนาคต การทำนายอนาคตนั้นแล ที่จะนำมาซึ่งคำด่า ถ้าพลาด อ้าวถ้าพลาด แล้วจะเอามาให้ตรูศึกษาทำไมฟร่ะ ตอบต่อไปอีกว่าในการเล่นหุ้นนั้น ความผิดพลาดนั้นเกิดตลอดเวลา นั้นนำมาซึ่งคำว่าการบริหารจัดการความเสี่ยง หรือที่ ฝรั่งเขาเรียกว่า Risk Management นั้นเอง รบร้อยครั้งไม่จำเป็นต้องชนะทั้งร้อยครััง ขอแค่จำกัดความเสียหายของศึกที่ปราชัย และเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ให้มากที่สุดจาก ชัยชนะแต่ละครั้ง แค่นั้นก็ทำให้เรายืนเด่นเป็นสง่าได้แว้ววจริงไหมครับ นั้นเป็นเหตุผลว่า ถ้าผมไม่มานั่งโพส กราฟโดยใช้ Elliott Wave ทำนาย แทนที่แค่ตีเส้น Trend Line หาแนวรับแนวต้านพื้นๆ ให้พอมีจุดเล็งราคาซื้อ ราคาขาย แบบที่ทำอยู่ตอนนี้ เพราะว่าเทรนด์ไลน์ มันแทบไม่ผิด เพราะมันเป็นการกำหนดเป้าหมาย คร่าวๆ แน่นอนเราสามารถยอมรับการเบรกได้ ซึ่งต่างจาก Elliott Wave ซึ่งมักจะเป็นการทำนายแนวโน้ม ในอนาคตล่วงหน้า ซึ่งเพราะมันยังมาไม่ถึง เลยทำให้ดูเหมือนจะเป็นการโม้ ซะมากกว่า

  แต่ต้องขอบอกไว้ตรงนี้ว่า Elliott Wave นั้นมีประโยชน์มาก แม้แต่ในกรณีที่มันทายผิด อ้าวเห้ยไอ้นี่ยิ่งพูดยิ่งงง ทายผิดจะมีประโยชน์ไงฟร่ะ ก็เพราะว่ามันทำให้เรามีจุดที่ระมัดระวังไงครับ ทำให้เรารูตัวว่าขณะนี้เรา ยืนอยู่ช่วงไหนของตลาด คนส่วนมากไม่รู้ตัวเลยว่าเราอยู่ตรงไหน เลยเกิดอาการ ชาวดอย กันจน "พูก ม่าย ชะ" กันหมดแล้ว

 Elliott Wave มาจากไหนมีความหมายในการวิเคราะห์ยังไง


Elliott Wave ไม่ได้มาจากจินตนาการที่ไร้เหตุผล นะครับ มันบ่งบอกอารมณ์ของตลาดได้อย่างดี เมื่อใช้ร่วมกับ Indicator ตัวอื่นๆด้วยแล้ว ยิ่งทำให้เรามองเห็นภาพได้ชัดเจน ว่าขณะนี้ คนในตลาด รู้สึกยังไง ใช้เงินไปกับหุ้นตัวนั้นๆถึงขั้นนี้เท่าไหร่แล้ว ราคาขณะนี้ยังมีดีมานด์ อยู่หรือไม่

ถึงเวลาเข้าเรื่อง Elliott Wave กันสักที ผมจะไม่พูดถึงประวัติของมันแล้วนะครับ ใครอยากรู้ไปหาอ่านเอาใน GOOGLE เยอะแยะ หลักการคร่าวๆ ของ Elliott Wave คือ หุ้นทุกตัวเมื่อมีขึ้นมันก็ต้องมีลงบ้าง (พักตัว หรือ Corection) เมื่อมันลงมันก็ต้องมีขึ้นบ้าง (Impulse) โดยพื้นฐาน เอาง่ายๆ Elliott Wave ก็คือคลื่น คลื่นในแบบของนาย อีเลียทนี้ จะมีลักษณะดังนี้ จากรูปด้านบน ลูกคลื่นขาขึ้น Impulse จะประกอบด้วย 5คลื่น คือ 1 2 3 4 5 หลังจากนั้นจะต้องพักตัวบ้าง คลื่นก็เหนื่อยก็หมดแรงเป็น เช่นเดียวกับ สภาพจิตใจของคนในตลาด ต้องมีคิดมีระแวงบ้างว่า มันขึ้นมาขนาดนี้แล้ว ถ้าลงนี่ตรูซวยแน่ เมื่อถึงยอดคลื่น 5 กำลังซื้อ ก็จะเริ่มน้อยลง เมื่อเทียบกับคลื่น 3 (รายละเอียดว่าดูยังไงว่ามันน้อยคนเริ่มไม่มั่นใจ เอาไว้มาว่ากันอีกทีรอบหน้า) พอคนเริ่มไม่มั่นใจก็ขายสิครับ ขายนี้ถ้าเป็นการพักตัว หรือ Corection ก็จะประกอบไปด้วยคลื่นอีก 3 คลื่น คือ A B C ตามรูปครับ ในกรณีที่กิจการของหุ้นที่เราดู ปกติดี เติบโตไปตามที่ควรจะเป็น จังหวะการขาย ABC นี้ จะถือเป็นการพักตัว คือลงไม่มากเมื่อเทียบกับ ช่วงที่มันขึ้นมาทั้งหมด เราสามารถทำนายว่ามันจะลงไปถึงไหนได้ โดยการใช้ Trend line ร่วมกับ Fibo Ret รายละเอียด แน่นอนเอาไว้รอบหน้าวันนี้มารู้จักคร่าวๆก่อน

เมื่อเราจับสัญญานได้ว่า ณ ตอนนี้ ราคาหุ้นมันขึ้นมาถึงยอดที่ 5 สภาพจิตใจ เพื่อนๆคนอื่นๆ ในตลาด กำลัง หวั่นไหว หรือ เริงร่าสุดขีด(กรณี เม่า) เราจำเป็นต้องเฝ้าระวัง หรือแม้แต่ขายเพื่อ ประกันกำไรบางส่วน ออกไป ในกรณีกลับกัน ถ้าตอนนี้หุ้นกำลังตกมาหนัก แล้วเราจับสัญญานได้ว่า ยอดคลื่น และIndicator มันไม่ไปด้วยกัน แล้ว เราก็จะได้เตรียมพร้อมในการเข้าซื้อทำรอบใหม่ ไม่ให้เสียโอกาศนั้นเอง และนี่แหละคือ ส่วนหนึ่งของการจัดการความเสี่ยง เมื่อเราเห็นว่าโอกาศและ จำนวนช่องในการทำกำไร สวยเราสามารถ พิจรณาได้ว่า มันคุ้มค่าที่จะเสี่ยงไหม ถ้าเราเข้าซื้อหุ้นหรือขายมั่วๆโดยไม่มีเป้าเลย โอกาส อยู่รอด มันก็มีน้อย เขาว่า "รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะ สักเจ็ดสิบครั้งก็รวยแล้ว"

ครั้งต่อไปจะเป็นการ อธิบาย Elliott Wave จากตัวอย่างในรูปด้านบน ว่ามีวิธีการดูอย่างไร ใช้ร่วมกับระบบการเทรดของเราเองยังไง ไว้ติดตามนะครับ

ทำไมถึงต้องใช้เทคนิคในการช่วยซื้อขายหุ้น 1

   ทำไมถึงต้องเรียนรู้การดูกราฟว้าาา ในการลงทุน คำถามที่นักลงทุนมือใหม่มักสงสัยกันและหลายๆแห่งหลายๆครั้งถึงกับเถียงกันไม่จบ บางท่านที่เรียกตัวเองว่า เป็น VI (Value Investors) จะบอกว่าเรื่องเทคนิคเป็นเรื่องเชื่อไม่ได้ โอ้ยใครมันจะไปทำนายอนาคตได้ ทายอนาคตได้ไม่ต้องเล่นหุ้นแล้ว ไปซื้อหวยรวยเร็วกว่าชัวร์ ต้องนี่สิของจริง พื้นฐานบริษัท สำคัญที่สุด ราคาจะสะท้อนมาจากการเงินและการเติบโตของบริษัทแล้วทั้งหมดนั้นก็จะรวมตัวกัน บู้มมมม!!!  ได้ผลลัพธ์เป็นเป้าหมายที่นักลงทุนต้องการเอง เฟ้ยย
   ส่วนนี้คงไม่มีท่านใดติดใจสงสัยเป็นแน่แท้ สุดท้ายแล้ว ผลประกอบการ การเติบโตของบริษัท รวมถึง การจ่ายเงินปันผล ซึ่งเป็นเป้าหมาย(ขั้นต้น)ของนักลงทุน ล้วนแล้วแต่มีส่วนช่วยกันสะท้อนราคาที่แท้จริงในที่สุด ข้าพเจ้าเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง
   แต่ทว่า (ทะ ว่า ผมก็ ว่าด้วย ) ในการลงทุนนักลงทุนบางท่านไม่ได้หวังเพียงแต่ว่า บริษัทจะจ่ายเงินปันผลให้เราเท่าไหร่ บริษัทจะเติบโตยิ่งใหญ่ขยายสาขาไปแอฟริกาด้วยหรือไม่ เพียงเท่านั้น แน่นอนผมไม่เถียงเลยว่าบริษัทขายข้าวจี่ ที่มีสาขาที่ประเทศ บูกิน่าฟาโซ จะไม่สำคัญเตะตาผมหรือเพื่อนๆ ผมสนใจแน่นอน แต่สิ่งที่มากกว่านั้น ถ้าราคาหุ้นของไอ้เจ้า บริษัทข้าวจี่ นี้มันวิ่งไปไม่น้อยแล้วนี่สิ ผมอยากเข้าแต่ค่าพรีเมี่ยมที่ตลาดให้กับบริษัทนี้มันดันสูงปรี๊ดแล้ว เราจะทำยังไงกันดีละครับ มันยากที่จะลงทุนหุ้นข้าวจี่แล้วเราต้องนั่งมอง น้ำลายไหลดูต่อไปอย่างเดียวแล้วใช่ไหม ใช่มันยาก แต่ยังมีโอกาศ !

   สมมุติว่าราคาหุ้นบริษัทข้าวจี่ มีราคา 1 บาทเมื่อตอนที่ตั้งร้านอยู่หน้าปากซอยลาดพร้าว 55 ผมและเพื่อนๆก็ยังไม่คิดว่ามันจะเติบโตไปได้สักเท่าไหร่เลยไม่มีใครแลหุ้นตัวนี้เลย ผ่านไปสักพักบริษัทเกิดขยายไปทั่วประเทศ ราคาหุ้นพุ่งขึ้นมาอยู่ที่ 10 บาท ในเวลาห้าปี โอ้จ๊อดด VI เริ่มพูดถึงฉันเก็บตัวนี้มาตั้งแต่ 2-3 บาทแล้วกำไร 4-5 เด้งแล้วเฟ้ย

   ถึงจุดนี้ราคาของหุ้นบริษัทข้าวจี่ ประเทศไทย ได้สะท้อนมูลค่ามาแล้วที่ 10 บาทหลายท่านบอกว่าค่าพรีเมี่ยมของตัวนี้ไม่น้อยแล้ว เข้าไปซื้ออีกลำบาก คุณควรหันไปมองหุ้นตัวอื่นเพราะเข้าไม่ทันวีไอ เขาแล้ว เพื่อนๆว่าผมควรจะอดข้าวจี่หันหน้าหนีไปมองที่อื่นจริงเหรอ ทิ้งโอกาศโกอินเตอร์ เอาข้าวจี่ไปขายให้ชาว บูกิน่าฟาโซงั้นสิ ไม่เลย โถ่เอ้ย จะทำต้นทุนราคาให้ต่ำกว่า VI ไอ้ดู

อีกห้าปีหลังจากนั้น วันที่ บริษัทข้าวจี่ มหาชน ได้โกอินเตอร์ไปแอฟฟริกา บนเรือลำนั้นต้องมีฉันไปด้วย ไม่ใช่แค่แอบๆไป แต่จะชูคอบอกทุกคนที่ล่องนาวาด้วยกันว่า ต้นทุน ข้า ก็ 2-3 บาทเหมือนกันเฟ้ยย

จะไม่ยอมเสียโอกาศโกอินเตอร์ แล้วจะทำยังไงให้ได้ต้นทุนติดบ่าไปกับเขา เริ่มใช้เทคนิคตอนไหนยังไง ติดตามตอนต่อไป ตอนหน้าจะมาพูดบอกลูกเรือทัวร์ บูกินาฟาโซทุกท่าน ว่าเทคนิคทำให้คนมาช้า เนียนๆเรียกตัวเองว่า VI ได้ยังไง เอิ้กๆ