จุดที่ว่านี้เองคือสิ่งที่เราเรียกว่า แนวต้าน แนวรับ และพฤติกรรมของราคาหุ้นที่มักจะวิ่งเข้าหาแนวต้าน แนวรับนี้เอง ที่ทำให้ Thai Trader คิดว่า มันมีแรงดึงดูดต่อกัน
การได้มาซึ่งแนวรับแนวต้านนั้น มีหลายวิธีและ Thai Trader เขียนให้ดูเสมอๆว่าเราได้มาอย่างไร ทั้งจากบทความ หรือเพื่อนๆสามารถแกะจากกราฟที่ผมตีด้วยเช่นกัน ตอนนี้เราคงจะไม่พูดถึงการหาแนวรับแนวต้าน เพื่อนๆสามารถหาอ่านได้ในบล๊อกนี้เลย
ในส่วนของราคาจะมีลักษณะดังนี้
- ถ้าราคาเป็นขาขึ้นราคานี้จะมีประจุเป็น +
- ถ้าราคาเป็นขาลงราคานี้ก็จะมีประจุเป็น -
ในส่วนของแนวรับแนวต้านจะมีลักษณะประจุแบบนี้ครับ
- แนวรับจะมีประจุเป็น -
- แนวต้านจะมีประจุเป็น +
เมื่อเราตีกราฟแล้วได้แนวรับแนวต้านเรียบร้อย สิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างราคาปัจจุบันและแนวรับแนวต้านจะเป็นแบบนี้ครับ
แนวรับอยู่ต่ำกว่าราคาปัจจุบัน และแน่นอนแนวต้านอยู่สูงกว่าราคาปัจจุบัน โดยที่พฤติกรรมของแนวรับแนวต้าน ที่เกิดกับราคาจะขึ้นกับเทรนด์ของราคาโดยที่จะแยกดังนี้
เมื่อเทรนด์ของราคาหุ้นเป็นขาขึ้น(มีประจุ+) แนวรับจะดูดราคาลงมา ให้ยืนอยู่ที่แนวรับ (แนวรับมีประจุ-) ประจุต่างกันจะดึงดูดกัน
ในส่วนของแนวต้าน(มีประจุเป็น +) ในขาขึ้นนี้จะเป็น + เจอ + ดังนั้นแนวต้านจะคอยดันราคาไม่ให้ผ่านไปง่ายๆ
และในส่วนของขาลงก็จะเป็นคล้ายๆกันโดยที่ แนวรับจะคอยดันราคาในขาลงไว้ไม่ให้หลุดไปง่ายๆ (เป็น - เจอ -) ส่วนแนวต้านจะคอยดึงดูดราคาให้กลับขึ้นไปเทสเสมอๆ
ราคามักจะไม่ลอยอยู่ระหว่าง แนวรับแนวต้าน นานๆ มันจะวิ่งไปหาแนวรับแนวต้านที่ใกล้ที่สุดก่อนเป็นอันดับแรกครับ
แล้วแนวรับแนวต้านที่เราตีไว้มีพลังในการดูดหรือผลักราคาหุ้นแค่ไหนเราจะดูยังไง จะอธิบายให้ในตอนนี้แหละครับ
ตอนนี้เบรกต้าน1440 จึงกลายเป็นแนวรับ
1530 เป็นต้านสำคัญสุดของการกลับตัวนี้ราคาตรงนี้อาจจะเป็นจุดเวฟ b ที่อาจจะกลับตัวเป็นเวฟ cตรงนี้ต้องจับตามากๆ 61.8% เป็นจุดต้องระวัง ถ้าไม่ผ่านตรงนี้ อาจจะลงไปถึง แนวรับแถวๆ1340-1350 ซึ่งก็คือส่วนที่เราถือว่าเป็นรับที่ดีจากรอบที่แล้วนั้นเอง
แนวรับอยู่ต่ำกว่าราคาปัจจุบัน และแน่นอนแนวต้านอยู่สูงกว่าราคาปัจจุบัน โดยที่พฤติกรรมของแนวรับแนวต้าน ที่เกิดกับราคาจะขึ้นกับเทรนด์ของราคาโดยที่จะแยกดังนี้
เมื่อเทรนด์ของราคาหุ้นเป็นขาขึ้น(มีประจุ+) แนวรับจะดูดราคาลงมา ให้ยืนอยู่ที่แนวรับ (แนวรับมีประจุ-) ประจุต่างกันจะดึงดูดกัน
ในส่วนของแนวต้าน(มีประจุเป็น +) ในขาขึ้นนี้จะเป็น + เจอ + ดังนั้นแนวต้านจะคอยดันราคาไม่ให้ผ่านไปง่ายๆ
และในส่วนของขาลงก็จะเป็นคล้ายๆกันโดยที่ แนวรับจะคอยดันราคาในขาลงไว้ไม่ให้หลุดไปง่ายๆ (เป็น - เจอ -) ส่วนแนวต้านจะคอยดึงดูดราคาให้กลับขึ้นไปเทสเสมอๆ
ราคามักจะไม่ลอยอยู่ระหว่าง แนวรับแนวต้าน นานๆ มันจะวิ่งไปหาแนวรับแนวต้านที่ใกล้ที่สุดก่อนเป็นอันดับแรกครับ
แล้วแนวรับแนวต้านที่เราตีไว้มีพลังในการดูดหรือผลักราคาหุ้นแค่ไหนเราจะดูยังไง จะอธิบายให้ในตอนนี้แหละครับ
พลังของแนวรับแนวต้านมีมากน้อยแค่ไหนให้ใช้วิชาที่เราได้ศึกษามาก่อนหน้านี้มาวิเคราะห์ครับ หลักๆจะเป็นดังนี้
- Elliott Wave เมื่อเวฟถึงจุดกลับตัวแล้วแนวรับเป็นเวฟอื่นแล้ว แนวรับหรือแนวต้านตอนนั้นจะมีแรงค่อนข้างมาก เช่น เมื่อนับเวฟขาขึ้นมาเจอเวฟ ที่ 3 แนวรับที่มีแรงมากที่สุดจะอยู่ที่ปลายยอดเวฟ 1 ตรงนี้มักไม่ค่อยหลุด จะถูกดูดมาตั้งหลักที่นี่เสมอ(ยกเว้นพลัง + ของขาขึ้นมีมากจริงๆ)
- การจับสัญญานของ เครื่องมือ oscillator ในส่วนนี้จะเป็นการจับสัญญาน convergence divergence ผมจะให้ความสำคัญกับส่วนนี้ที่สุด เพราะมันจะเป็น วิเคราะห์ อารมณ์ของคนในตลาดตอนนี้ได้ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็น อุปสงค์ อุปทาน มากขึ้นหรือน้อยลงแล้วหรือยัง คนเริ่มซื้อน้อยลง แสดงว่าแนวต้านนี้ จะมีแรงสูง คนขายมากขึ้น แนวรับใกล้ๆนี้ก็จะมีแรงน้อยลงเป็นต้น ตรงส่วนนี้ เมื่อใช้ร่วมกับ Elliott wave จะยิ่งทำให้เราวิเคราะห์ความแข็งอ่อนของแนวรับแนวต้านได้แม่นยำที่สุดครับ อันนี้ให้ ขีดเส้นใต้ไว้เลยว่า ถ้าคุณจะเป็นนักวิเคราะห์เทคนิค อย่ามองข้ามส่วนนี้เด็ดขาด จังหว่ะเข้าออกที่ถูกต้อง เกิดมาจาก หัวข้อนี้แหละ
- แนวรับซ้อนรับ แนวต้านซ้อนต้าน เหตุการณ์นี้จะเกิดเมื่อมีแนวรับแนวต้านที่มีนัยสำคัญสองอันขึ้นไป วางไว้ใกล้เคียงหรือเป็นจุดเดียวกัน เช่น แนวต้านจากเทรนด์ไลน์ ที่วางทับกันกับ เวฟ 5 จาก Elliot wave พอดี หรือ แนวรับจาก ema200 ที่วางทับกันกับ trend line และ Oscillator เกิดสัญญาน bullish divergence ร่วมด้วยอีก แบบนี้ก็แสดงว่าแนวรับนั้นโคตรแข็ง โคตรมีแรงผลักราคาสำหรับขาลงครับ
แล้วจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อแรงผลักแรงดูด จากแนวรับแนวต้านนั้นถูกเบรก คำตอบก็คือ เมื่อแนวรับหรือแนวต้านนั้นถูกเบรก ประจุของมันก็จะเปลี่ยนขั้วทันที เช่น ทีแรกแนวต้าน มีประจุเป็น + ในขาขึ้น เพราะงั้น แนวต้านนี้จะพยายามผลัก ราคาให้ลงไปหาแนวรับใช่ไหมครับ แต่เมื่อแนวต้านนี้ถูก เบรก มันก็จะกลับขั้ว จาก + เป็น - จากแนวต้านกลายเป็นแนวรับทันที
ถ้าก่อนนี้มันเป็นแนวต้านที่แข็งแกร่ง มันก็จะกลายเป็นแนวรับที่แข็งแกร่งเช่นเดียวกัน เช่น ราคาลงทำเวฟ 2 และมาเจอแนวต้านที่เป็นเวฟ 1 ซึ่งมี ema200 วางทับอยู่อีกชั้น แถมยังมีเทรนด์ไลน์ ของขาลงพาดเอาไว้อีกด้วย เราจะถือว่าตรงนี้เป็นต้านที่แข็ง เป็นต้านปลายเทรนด์ก่อนวิ่งเข้าสู่เวฟ 3 การเบรก ต้านนี้ ก็จะเป็นการ confirm ถึงการเปลี่ยนเทรนด์ ที่สำคัญ โดยปกติ Volume จะพุ่ง ทันที่ที่เบรกช่วยเป็นการ confirm ถึงการเปลี่ยนเทรนด์ และconfirm ว่า แนวต้านที่ถูกเบรกนี้ จะกลายเป็นแนวรับที่แข็งแกร่งด้วยครับ(ช่วงนี้มีแนวนี้ตรึมลองไปหาดูกันในกราฟของหุ้นรายตัวไปครับ)
หลักการสำคัญในการวิเคราะห์แนวรับแนวต้านหุ้นคือ
- เราต้องหาเทรนด์ของราคาหุ้นบนกราฟว่าเป็นขาขึ้นหรือขาลง (ส่วน side way เดี๋ยวจะว่าอีกที)
- แนวรับแนวต้านจะทำ action กับลักษณะของตลาดจากข้อแรก
- ดูแรงของแนวรับแนวต้านนั้นๆว่าแรงแค่ไหน
- ถ้าถูกเบรกไม่ว่ารับหรือต้านมันจะกลับขั้วทันที
- โวลุ่มจะช่วยบอกว่าแนวรับแนวต้านอันไหนมีแรงมากกว่ากัน
รูปนี้จะเป็นตัวอย่างการวิเคราะห์แนวรับแนวต้านของตลาดหุ้นไทยเรา set index ครับ
ตอนนี้เบรกต้าน1440 จึงกลายเป็นแนวรับ
แนวรับแถวๆ1340-1350 เป็นเวฟ3 เก่าเป็นแนวรับสำคัญมากเพราะเมื่อนับเวฟ ย่อยมันจะเป็นเวฟ 5 พอดี macdส่ง bullish divergence โวลุ่มก็เข้าถ้ามีการลงมาในช่วงเวฟc อีกรอบ ตรงนี้จุถือว่าเป็นแนวรับสำคัญครับ
1490 เป็นต้านต่อไปเป็นต้านซ้ำซ้อนนะมียอดเดิม 2 อันวางอยู่แถมใกล้ๆกันมีema200 พาดอยู่ เป็นเวฟ 4 เดิมด้วย ตรงนี้จึงเป็นต้านสำคัญของช่วงใกล้ๆนี้
1530 เป็นต้านสำคัญสุดของการกลับตัวนี้ราคาตรงนี้อาจจะเป็นจุดเวฟ b ที่อาจจะกลับตัวเป็นเวฟ cตรงนี้ต้องจับตามากๆ 61.8% เป็นจุดต้องระวัง ถ้าไม่ผ่านตรงนี้ อาจจะลงไปถึง แนวรับแถวๆ1340-1350 ซึ่งก็คือส่วนที่เราถือว่าเป็นรับที่ดีจากรอบที่แล้วนั้นเอง
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น