เห้ยไม่ใช่ละ คุณต้องได้ประโยชน์ดิ
มาดูเซทละเอียดๆกันหน่อยว่าจะกลับตัวหรือยัง พยายามเขียนให้ละเอียดอาจจะยาวหน่อยแต่ถ้าอ่านแล้วคิดตามรับรองได้ประโยชน์ ในการศึกษาด้วยแน่นอน
ไล่ตั้งแต่ แต่แถวๆ 1650 ตรงนั้นเป็นยอด ที่เราพูดถึงกันบ่อยแล้วในกราฟก่อนๆนะครับ ต่อไปจะเป็นส่วนเวฟ ขาลง
- ที่ 1 ตรงเลขนี้ก็คือเวฟ 1 ของขาลงนั้นเองเราเริ่มลาก fibo ที่นี่เพื่อคาดการณ์ ขนาดของเวฟ 2,3,4,5 ที่นี่
- ที่ 2 หรืออาจจะ b เป็นการเด้งไป 61.8% ของ 1 ตามตำราเป๊ะแล้วลงต่อ ส่วนนั้นทำไมถึงอาจจะ b เพราะเราตั้งสมมุติฐานได้ว่าอาจจะเป็นการพักแบบ abc สั้น ถ้าตรง 2 เป็น b แล้ว c มักจะจบแถวๆ 32.8 หรือ 61.8%
- ที่ i เราตั้งสมมุตติฐานได้ว่า เป็นเวฟแรกของเวฟ 3 ใหญ่ เราจะลาก fibo ที่ i เพื่อหาขนาดของ ii iii iv v ซึ่งเป็นเวฟ ย่อยของ เวฟ 3 ใหญ่ โดยขนาดที่วัดนี้ใช้ร่วมกับการวัดที่ 1 ถ้ามันใกล้เคียงกันที่ไหนที่นั้นจะเป็นแนวรับที่สำคัญนั้นเอง
- ที่ iii หรือ3 หรือc จุดนี้มีขนาด132.8% ของเวฟ ย่อย i และ 100% ของ เวฟ 1 มันใกล้เคียงกันถือเป็นหนึ่งในแนวรับที่ดี ซึ่งพอมันเด้ง สมมุติฐาน iii 3 c จึงเกิด แล้วทีนี้เมื่อเวลาจริงมาถึงทั้ง 3 ทางเลือกจะถูกตัดออกทีละข้อดังนี้ครับ จากนี้ไปถึง 4 ถ้ามีย่อลงมาอีก ทำนิวโลว์ c จะโดนตัดออกเป็นอันดับแรก นั้นหมายถึงว่ายังใช้จุดนี้ตัดสินไม่ได้ว่าเป็นเวฟ c สุดท้าย สิ่งที่จะเกิดคือ c ที่ต่ำกว่านี้ หรือเวฟ iv เกิดขึ้น และกำลังจะมีเวฟ v ตามมาซึ่ง v นี้ก็จะเป็นเวฟ 3 ไปด้วย
ความหมายก็คือเวฟ 3 ใหญ่ยังไม่จบนั้นเอง
- ที่ 4 ถ้าไปที่ 4 แล้วเบรกออกจากเทรนด์ไลน์ไปเลย จะตีได้ว่า ที่จุดที่เราคาดว่าจะเป็น c นั้นเป็นจริง และขาลงจบที่นั้นต่อไปนี้กลับเข้าสู่ขาขึ้นอีกครั้งนั้นเอง
แต่ถ้าราคาขึ้นไปจากตอนนี้จนถึง 4 แล้วลงอีก จะตีได้ว่า เวฟ 3 จบแล้ว แถวๆ 1524 การย่อลงครั้งนี้คือย่อไปเวฟ 5
เมื่อ timeframe หลักๆ คอนเฟิร์มว่า มันเป็นไดเวอร์เจนซ์อยู่ จึงให้น้ำหนักว่าจะเป็นการกลับตัวระยะสั้น เพื่อไปเทส iv หรือ 4 มากกว่าเพื่อน
โดยที่ เมื่อไปถึง 4 แล้วลงต่อแสดงว่า กำลังจะไปเวฟ 5 มีความเป็นไปได้ที่จะไปอย่างน้อยก็ที่เวฟ 3 นั้นเอง แล้วเมื่อลงไปต่ำกว่าเวฟ 3 แล้ว เราก็จะเริ่มเช็คสัญญานกันอีกรอบ ว่ามันมีไดเวอร์เจนซ์ ที่ตรงไหน โดยไล่แนวต้านตาม fibo หลักบวกกับ หาเวฟ ย่อยของเวฟ 5 เหมือนกับที่เราทำกับเวฟ 3 ที่ผ่านมานั้นเอง
จุดที่สำคัญไล่ไปจนถึง 161.8% ซึ่งเป็นท่องคลื่น 4 ของรอบใหญ่ก่อนหน้านี้ตรงนั้นถ้าลงไปถึงต้องจับตาสัญญานให้ดี
สรุปสำหรับเซท ถ้าจากกราฟเพียวๆไม่นับข่าวนับอะไร พวกนั้นเป็นปัจจัยส่วนตัวของใครของมัน กราฟยังไม่มีอะไรบอกว่ากลับเป็นขาขึ้น(แต่เทรนด์ใหญ่สุดนั้นเป็นขาขึ้นแน่นอนอยู๋แล้ว) ส่วนถ้ารีบาวด์สั้นนั้นแม่นแล้วสัญญานบอกมาจากไทมเฟรมที่น้อยกว่า 30 นาทีลงไป
สรุปส่วนเก็บตกความรู้ เวลานับเวฟต้องใช้สัญญานประกอบ ใครถนัดอะไรก็ใช้อันนั้น แต่จะใช้อะไรขอให้รู้ว่า สิ่งที่เราใช้อยู่มันสร้างมาจากอะไร ถ้ายังไม่รู้เซิจกูเกิลดูมีเยอะแยะ เมื่อรู้แล้ว เราจะรู้เองโดยอัตโนมัติว่า เราควรใช้timeframe ไหนในการจับสัญญานสำหรับเหตุการณ์นั้นๆ ต่อไปก็จะไม่มีคำถามอีกแล้วว่า ต้องใช้ไทม์เฟรมไหนในการเทรด
ในส่วนของกราฟราคา แนะนำให้ใช้ไทม์เฟรมที่ดูเวฟย่อยได้เข้าใจพอเหมาะที่สุด พอเหมาะคือแค่ไหน ก็คือ ถ้าคุณดูแล้วเห็นเทรนด์ที่เป็นเวฟย่อยในเวฟใหญ่ได้โดยที่ไม่ปวดหัวกับความรกของมัน ไทม์เฟรมนั้นเหมาะสมสำหรับใช้ดูราคาไล่เวฟแล้ว (คนละเรื่องกับใช้ไทม์เฟรมไหนในการจับสัญญานนะ)
คนส่วนมากมักเข้าใจว่าเทคนิคจะบอกว่าราคาจะขึ้นแล้ว จะลงแล้วราคาจะไปนั้นจะไปนี้ คนส่วนมากก็เลยไม่คิดว่าเทคนิคคอลมันมีเหตุผลพอที่จะใช้ในการซื้อขาย นั้นผิดถนัด ผมไม่ได้บอกว่าผิดที่ไม่คิดว่ามันมีเหตุผลนะ
เพราะว่าถ้าคิดว่าเทคนิคมันบอกว่าราคาจะขึ้นจะลงไปนั้นไปนี้ อันนี้ผมก็เชื่อเหมือนกันว่ามันไม่มีเหตุผล ใครทายแม่นปานนั้นก็อยากเห็นตัวจ๊ะๆ เหมือนกัน
แต่ที่จริงแล้ว เทคนิคเป็นการรวมชุดความน่าจะเป็นต่างๆที่เกิดขึ้น เมื่อเรารวบรวมความน่าจะเป็นที่จะเกิดขึ้นมาแล้ว สัญญานจะเป็นตัวให้น้ำหนักว่าทางไหนน่าสนที่สุด และเมื่อเวลาผ่านไปเหตุการณ์จริงต่างๆปรากฏ ขึ้นมา ความน่าจะเป็นที่ผิดทางต่างๆก็จะถูกตัดออกไปเรื่อยๆ ทางที่ถูกต้องก็จะปรากฏชัดขึ้นเรื่อยๆเช่นกัน
ใครจับตรงนี้ไปใช้บริหารความเสี่ยงของตัวเองได้ แค่นี้ก็อยู่รอดปลอดภัยแล้วครับ ตัดทางเลือกที่ผิดออกไป(คัทลอส) เดินไปตามทางที่ถูกเฉลยออกมาเรื่อยๆ(Let profit run) นั้นเอง
การนับเวฟ จะช่วยให้เราอยู่กับทางที่ถูก มากกว่า อยู๋กับทางที่ผิด ถ้าทำไปสักผัก แล้วเห็นว่าเราคัทบอยเหลือเกิน ก็ต้องรีบเช็คแล้วว่า เราเข้าใจตรงไหนผิดกัน
โชคดีมีเงินใช้ครับ
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น