วันอังคารที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2556

มาวิเคราะห์หุ้น SSC พร้อมทั้งกรณีศึกษาทางเทคนิค ให้ทุกคนลองฝึกลองเรียนไปตามกันครับ

SSC‬ เอาไว้ไปเป็นกรณีศึกษานะครับ เรื่องการลาก Fibo เพื่อวัดขนาดเวฟ ด้วย เพราะตัวนี้จากเดิมที่ผ่านมากราฟค่อนข้างเป๊ะ

เริ่มกันที่ที่ขาขึ้นก่อนนะครับ เวฟ 1 ของขาขึ้นซ้ายสุดเลย ราคาเริ่มเวฟ 1 คือแถวๆ 48.4 และไปทำยอดเวฟ 1 ที่ 144 บาท พอเราเห็นแบบนี้ปุ๊บ ลาก fibo เลย เราจะลากตามขนาดของเวฟ 1 เพื่อที่จะวัดเวฟ ต่อๆไป โดยจะมีเงื่อนไขหลักๆดังนี้

   
1 ในส่วนเวฟ 2 ถ้าจะให้สวย ย่อลงมาสัก 61.8% ไม่หลุดตรงนี้แล้วขึ้น ถือว่าสวย(อาจจะย่อลงมาน้อยกว่าหรือมากกว่า 61.8% ก็ได้)

2 ถ้าเวฟ 2 หลุด 61.8%ลงมา ต้องดูต่อว่าอย่าหลุดทำ new low ถ้าหลุดทำ new low สมมุติฐานว่าตรงนี้คือเวฟ 1 ของขาขึ้นก็ตกไป เพราะนี้คือส่วนหนึ่งของขาลงใหญ่รอบที่แล้ว เราก็เริ่มจับตาเวฟ 1 ใหม่

3 ในส่วนของเวฟ 3 เมื่อเบรกขึ้นไปแบบนี้ถือว่าไม่เยอะ มีขนาดยาวกว่าเวฟ 1 เล็กน้อย ถ้าเจอแบบนี้ มีสิทธิที่เวฟ 5 จะยาวสุดในรอบ

4 ในส่วนเวฟ 4 มักจะไม่ลงต่ำกว่าเวฟ 1 ลงไปแตะแล้วเด้งเลย ให้สังเกตไว้ถ้าราคาหุ้นตัวไหนก็ตามจบเวฟ 3 อาจจะลงเวฟ 4 ไม่มากก็ได้ แต่ถ้าลงมาก ให้ไปจับตาที่ยอดเวฟ 1 เลย ถ้าลงมาแตะแล้วเด้งเร็วก็เป็นจุดเข้าที่ดี ถ้าลงแตะแล้วหลุด แสดงว่ามีเรื่องมีข่าวบางอย่างที่ไม่ดีเตรียมจะมา

5 ในส่วนเวฟ 5 ของรอบก่อนหน้ามีขนาด 161.8% ของเวฟ 1 พอดีเป๊ะ เรียกว่า แตะปุ๊บก็กระโดดลงเลย เรียกว่าจบรอบ ฟ้าผ่า

ต่อไปมาดูในช่วงขาลงบ้าง ณ ตอนนี้มี รวมรอบขาลงหลักเป็นเวฟ abc (หวังว่ามันจะไม่เปลี่ยนเป็น 1-5 นะครับเพราะถ้าแบบนั้นยาว)
1 ในส่วนเวฟ a มีเวฟย่อยเป็น 1-5 ลงมาแตะแถวๆปลายยอดคลื่น 3 (ของขาขึ้น)ก็เด้ง แบบนี้มักเกิดในกรณี คลื่น 3 ไม่ยาวมาก ถ้าคลื่น 3 ยาวๆ มักลงไปแตะแถวๆ คลื่น 4 ถึงเด้ง

2 ในส่วนเวฟ b เมื่อจบ a แล้ว จะเห็นว่า b เด้งขึ้นมาเป็นขนาด 61.8% ของเวฟ a พอดี ตรงนี้จะเห็นชัดๆ ดูจาก fibo สีชมพูนะครับ ทันทีที่หุ้นราคาตกลงมาจากจุดที่ เป็นแนวต้านสำคัญ เราจะเริ่มตั้งสมมุติฐานว่า นี้คือเวฟ 1 หรือ a ของขาลง ถ้าลงมาแล้วเด้งกลับไม่เกิน 61.8% ของเวฟ 1 หรือ a ที่ว่านี้ มันก็คือยอดคลื่นของเวฟ 2 หรือ b นั้นเองครับ

ถ้าใครติดหุ้นอยู่ เวฟ 2 หรือ b ที่เด้งขึ้นมานี้คือจุดที่ควรจะออก ถ้าแน่ใจว่าแหกไม่ได้แล้วอย่าดันทุรัง เพราะมันมีสิทธิ์ ลงอย่างน้อยก็เท่ากับเวฟ 1 หรือ a ครับ ขายแล้วไปรอตรงนั้นดีกว่าถือฝืนไปแน่นอน เพราะถ้าโชคไม่ดี มันลงทำ C ต่ำ กว่า หรือเลวร้ายสุดๆ มันลงไปเป็น 1-5 ใหญ่ๆอีกรอบ หน้าแห้งติดดอยเป็นปีๆแน่

3 หลังจากเด้งขึ้นมา เป็น b นั้นแล้วไม่ผ่าน ก็ตามหลักทั่วไปคือลงทำเวฟ c เป็นอย่างน้อย เวฟ c ตอนนี้ ที่เห็นคือจะมีคลื่นย่อยอีก 1-5 เราต้องวัดตรงนี้ว่าเวฟ 5 ควรจบที่ไหน โดยทำเหมือนทุกครั้ง ลาก fibo ที่เวฟ 1 ของเวฟ c นี้ครับในรูปกราฟ ผมใช้ fiboเส้นสีน้ำเงินนะ

4 เราจะเห็นว่าราคาตอนนี้ อยู่ใกล้ๆ 161.8% ของเวฟ 1 ดูเส้น fibo สีน้ำเงินนะครับ โดยที่ ไอ้ตรง 161.8% ที่ว่านี้ มันดันใกล้เคียงกับ 61.8% ของเวฟ a อีกด้วย นั้นหมายถึง ตรงนี้เป็นแนวรับที่ดี ที่ได้ลุ้น เพราะว่า มันเหมาะที่จะจบทั้งเวฟ c และ เวฟ 5 ย่อยของเวฟ c ด้วย เพราะงั้น สิ่งที่เราควรทำคือ จับตาที่ราคาแถวๆ 97-101 แถวๆนั้นไว้ ถ้าราคาเข้าใกล้แล้วเริ่มมีโวลุ่ม แสดงว่าจะมีเด้ง พูดว่ามีเด้ง ไม่ได้พูดว่ากลับเป็นขาขึ้นเพราะอะไร มาดูต่อข้อ 5

5 ถ้าราคาไปตรงแนวรับสำคัญที่ว่าในข้อ 4 แล้วเด้งจริง และเราเข้าแล้ว(ถ้าไม่เด้งก็ไม่ต้องเข้านะครับ เพราะไม่มีกฏอะไรที่บอกว่า แนวรับสำคัญจะเอาอยู่แน่นอน มันเป็นแค่จุดที่ คนจะจ้องเป็นพิเศษ) นี้ไม่ใช่ถือว่าเป็นการจบขาลงนะครับ

อย่าลืมว่าเราตั้งสมมุติฐานไว้ว่า เวฟ a อาจจะเป็นเวฟ 1 เวฟ b อาจจะกลายเป็นเวฟ 2 และ c ตอนนี้อาจจะกลายเป็นเวฟ 3 นั้นแสดงว่าไอ้ที่เด้งขึ้นไป อาจจะเป็นการเด้งของขาขึ้นจริงๆ หรืออาจจะเป็นการเด้งไปทำเวฟ 4 แล้วตกกลับมาอีกเพื่อเป็นเวฟ 5

6 จุดวัดว่ามันจะตกกลับมาอีกไหม จะมีแนวต้านสำคัญอยู่ที่ยอดของเวฟ a แถวๆ 177 บาท ถ้าเราเข้าแล้วราคาขึ้นไปถึงตรงนี้ให้ระวังมากๆ ถ้าไม่ผ่าน มันจะลงเวฟ 5 แต่ถ้าผ่านก็ไปหาไฮเดิมกันต่อไปในระยะยาวครับ

7 เมื่อราคาไปถึงแนวรับแนวต้านสำคัญให้ไปดูกำลังมันประกอบทั้งจากโวลุ่มหรือ พวก oscillator ว่ามันหมดแรงหรือมีแรงอยู่ไหมประกอบนะครับ


สำหรับที่ติดค้างน้องที่ถาม เรื่อง การลาก fibo ให้ดูตรงนี้ประกอบ ไปอ่านเรื่อง elliott wave ในบล๊อกเพิ่มก็ได้จะได้เห็นภาพขึ้น การลาก fibo นั้น หลักการเอาไว้ใช้วัดขนาดเวฟ ซึ่งเราจะได้เห็นว่าเราอยู่ตรงไหนของรอบแล้ว ถึงจุดที่ต้องระวังหรือยัง

นี้คือเรื่องสำคัญ การลากมั่วๆ จากสูงไปต่ำเลย ก็อาจจะได้ผลเหมือนกัน แต่นั้นคือบังเอิญ เพราะ เลขอัตตราส่วนฟิโบนัคซี่ ที่เราเอามาใช้ เมื่อบวกต่อกันมันก็ได้เลขเดิมๆนี้แหละ เราลากมั่วๆ แล้วเราก็อาจจะเห็นว่ามาชนตรงนี้แล้วเด้งจริงๆเว้ยเห้ยพอดี

แต่มันมีประโยชน์มากกว่าถ้าเรารู้ว่า เส้นตรงนี้ไม่ค่อยสำคัญ ถ้ามาถึงตรงนี้ให้ระวังมากๆ เราจะรู้ความสำคัญของแนวรับแนวต้านของ fibo จากการนับเวฟ ได้ดีกว่าการลากมั่วๆ

ข้อสำคัญ การนับเวฟ และลาก fibo อย่าไปคิดว่าถึงตรงนี้แล้วลงแน่นอน หรือลงถึงตรงนี้แล้วขึ้นแน่นอน ให้ดูกำลัง(momentum)ประกอบ

เวฟ เป็นการบอก ว่าตอนนี้ให้เราจับตา ระวัง เราจะจับตาอะไรก็ไปดูกำลังของมันนั้นเอง ถ้ากำลังวิ่งสวนทางกับราคาแล้วก็เซฟๆ หรือเก็บๆตามแต่โอกาสครับ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น