วันเสาร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2556

เรื่องแนวทางการวิเคราะห์หุ้น คุณมองหาอะไรในตลาดหลักทรัพย์ และใช้เครื่องมือหรือวิธีการถูกแล้วหรือยังมาดูกัน

ยาวอยู่ แต่นี้เป็นเรื่องที่ผมจั่วหัวเมื่อหลายวันก่อน เกี่ยวกับ "วิธีการวิเคราะห์หุ้น" แต่ค้างไว้ไม่ได้มาต่อวันนี้มาต่อ พร้อมกับเพิ่มเติมเรื่องให้เข้ากับสถานการณ์ ขึ้นครับ

1 องค์ประกอบที่ทำให้ราคาขึ้น มันไม่มีอะไรซับซ้อน มันขึ้นเพราะมีคนเสนอซื้อในราคาที่สูงกว่าราคาก่อนหน้านี้ มันก็ขึ้น ไอ้การเสนอซื้อในราคาที่สูงขึ้นเรื่อยๆนี้แหละ มันเก็บมาเป็นค่าเฉลี่ยได้ ไอ้ค่าเฉลี่ยของความอยากซื้อนี้แหละเราเอามาสังเกตุได้ว่า ราคามันใกล้จะกลับตัวหรือยัง

ถ้าช่วงยี่สิบวันก่อน มีการเสนอซื้อ สูงและเร็วมากเลย เมื่อเทียบกับ ช่วง 10 วันที่ผ่านมานี้ ซึ่งคนเสนอซื้อในราคาที่สูงขึ้น ลดต่ำลงมาก แบบนี้แหละเขาเรียกว่ากำลังตก โมเมนตั้มลดลง หรือ bearish divergence หรือหมีมา
   

คนอยากซื้อในราคาที่สูงขึ้นน้อยลงมันก็ใกล้กลับตัวแล้วหล่ะใช่ไหม เอาง่ายๆ หุ้นมันจะขึ้นไปถึงไหน มันก็ไปจนกว่าจะไม่มีคน "อยาก" ซื้อในราคาที่แพงกว่านั้นนั้นแหละ
-------------------------------------------------------------
2 องค์ประกอบที่ทำให้ราคาลง มันก็ตรงกันข้ามกับข้อ 1 ราคามันลงเพราะดันมีคนอยากที่จะขายในราคาที่ต่ำกว่าราคาก่อนหน้านี้ ยิ่งเสนอราคาขายต่ำลงเรื่อยๆ มันก็ยิ่งลงเรื่อยๆ

แล้วก็เหมือนเดิมไอ้ความอยากขายในราคาที่ต่ำลงนี้แหละมันเก็บมาเป็นค่าเฉลี่ยได้ หลักการเดียวกันกับข้อ 1 ถ้ายี่สิบวันก่อน "ค่าเฉลี่ยของความอยากขายในราคาที่ต่ำลง" น้อยกว่า ของเมื่อ 5 วัน 10 วันที่ผ่านมานี้ แบบนี้เราก็ใช้สามัญสำนึก พิจรณาได้ว่าความอยากที่จะขายมันลดลง มันลดลงหมายความว่ามันหมดไปไหม "มันไม่ยังหมด" นั้นคือราคายังลงได้อีก แต่ว่าความอยากขายในราคาที่ต่ำลงมันน้อยลงเรื่อยๆแล้ว
-------------------------------------------------------------
นี้คือสิ่งที่ธรรมดาสามัญสุดๆ ในการหาการกลับตัว หา divergence มันไม่มีอะไรพิศดาร เหลือเชื่อ สักนิด มันคือค่าเฉลี่ยพื้นๆนี้เอง คุณสามารถ เอาวิธีนี้ไปใช้ได้กับแม้กระทั่ง ไปนั่งอยู่หน้าตลาดสด แล้วจดจำนวนรถขนผักชีที่ไปส่งในตลาด ในแต่ละวัน เสร็จแล้วเอามาหาค่าเฉลี่ย แล้วลองเทียบกันดูว่าเดือนนี้ กับเดือนที่แล้ว ความต้องการผักชี ในตลาดสดแถวบ้าน เพิ่มมากขึ้นหรือลดลงหรือยัง

ประเด็นรองที่จะพูดถึงคือ
ถ้าเรานั่งมองราคาหุ้น พอราคามันลงมาต่ำแล้วเราเข้าเก็บพร้อมกับพูดว่า "นี้มันหุ้นพื้นฐานดี" มันก็เป็นวิธีการที่ถูกต้องเลย ที่จะเก็บหุ้นพื้นฐานดีในราคาที่เราคิดว่ามันคุ้ม เว้นแต่ว่าถ้าคุณจะไม่เครียดเมื่อหุ้นลงไปต่อทีหลังนะ

ถ้าคุณเครียด มันเพราะว่า คุณนั่งมองความอยากของตลาด แล้วก็บอกว่าโอ้เย้ ซื้อมันเลย เพราะหุ้นตัวนี้มันจะเพิ่มมูลค่า

มันเหมือนกับ คุณอยากเอาเป็ดไปตุ๋นบำรุงกำลัง แต่นั่งจ้องไก่อยู่เพราะว่ามันถูกดี สุดท้ายคุณเลยพูดขึ้นว่าโอเค ซื้อหมูดีกว่า พอกลับถึงบ้าน คุณจะเซ็งเพราะว่า นี่กรูซื้อหมูมาทำไม

เหตุ และการกระทำ มันคนละเรื่องกัน ผลลัพธ์สุดท้ายมันเลยไม่ตรงใจคุณ คุณเลยเครียดไง เพราะคุณคาดอย่างหนึ่งกระทำอย่างหนึ่ง

1 ความอยากทำให้ราคาหุ้นวิ่ง ยังไม่เคยเห็นหุ้นที่คนเสนอซื้อ 2 บาท แล้วราคามันลงไป 1 บาท ในเวลาเดียวกัน

2 พื้นฐานดีผลประกอบการเยี่ยม ทำให้ ผลตอบแทนต่อหุ้นเพิ่ม เงินของคุณที่จ่ายไปมีพลังในการหาเงินเพิ่มขึ้น เขาเรียกว่า มูลค่าไม่ใช่ราคา เรียกบ้านๆว่า เงินจบโท ทำงานเหมือนกับเงินจบตรี แต่ได้เงินเยอะกว่า 555

3 ผลตอบแทนต่อหุ้นเพิ่ม ไม่ได้ทำให้ราคาหุ้นเพิ่มในทุกครั้ง และถ้าผลตอบแทนลดลงก็ไม่ใช่ทุกครั้งที่ทำราคาหุ้นตก

คิดให้ดีว่าคุณกำลังมองหาอะไร แล้วใช้วิธีที่ถูก ในการจะกระทำอะไรลงไปครับ

- นั่งมองราคาก็น่าจะจับตาความอยาก ซึ่งมีวิธีง่ายๆอย่างที่บอกไปแล้ว

- ถ้านั่งมองหุ้นพื้่นฐานดี มูลค่าเพิ่มเรื่อยๆ ราคาลงถูกๆก็ไม่เกี่ยวอะไรด้วยเลย ราคาหุ้นขึ้นลง ไม่ได้ทำให้ หุ้นของคุณเพิ่มผลตอบแทนต่อหุ้นให้เลย

- สุดท้ายไม่มีเหตุผลอะไรคัดค้านเลย ถ้าคุณ จะอยากได้หุ้นพื้นฐานดี กิจการมีอนาคต ผลตอบแทนของผู้ถือหุ้นเพิ่มเรื่อยๆ แต่ ในราคาที่ "คนไม่อยากขายในราคาที่ต่ำลงอีกแล้ว"

จริงไหม

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น