วันพุธที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2557

เรื่องความเข้าใจของคนที่มีต่อสิ่งที่เรียกว่า "ข้อมูล"

วันนี้ขอข้ามเรื่อง เกี่ยวกับความสัมพันธ์ ระหว่างค่าเงินบาทกับตลาดหุ้นไปก่อนนะครับ พอดีช่วงนี้เห็นบางสิ่งในสังคมแล้วมันน่าเขียนมากกว่า มันสำคัญนะ ถ้าว่างไม่ได้ทำไร น่าจะอ่านนิดถึงจะ ยาว แต่ก็มีอะไรที่เป็นประโยชน์ กับตัวคุณโดยตรง ไม่ว่าคุณจะเล่นหุ้น หรือไม่ เรื่องนี้มันเป็นผลในวงกว้าง ในตอนนี้ครับ

เรื่องความเข้าใจของคนที่มีต่อสิ่งที่เรียกว่า "ข้อมูล"

"ข้อมูล" เป็น output ที่มาจากกระบวนการอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ว่ากระบวนการนั้น จะมีเหตุผลรองรับหรือไม่ ก็ตาม มันก็จะให้ผล ออกมาเป็น "ข้อมูล" ให้เราได้รับรู้กัน

ในส่วนของเราๆ ท่านๆ เรารับรู้ "ข้อมูล" เข้ามาในแง่ของความเป็น "input" เรารับเข้ามาเพื่อที่ ตัวเราจะได้ใช้กระบวนการที่เกิดจาก "ความรู้-ประสบการณ์" และ "ความรัก-ความเกลียด" ของเราเพื่อนที่จะ สร้าง "output" ออกมาอีกทอดหนึ่ง "output" จากรอบนี้ แหละที่เป็นสิ่งที่เรียกว่า "นวัตกรรม" เป็นสิ่งที่ขับเคลื่อนตัวเรา สังคม และโลกของเรา

"ข้อมูล" มีขอบเขตของความเป็น "ข้อเท็จจริง" อยู่ครับ เราเรียกขอบเขตนี้ว่า "เอกภพสัมพัทธ์ (Relative Universe)" คำๆนี้ครู คณิตเราพูดถึงบ่อยๆ(แต่มักไม่ค่อยพูดถึงความหมายของมันจริงจัง) เอกภพสัมพัทธ์ (Relative Universe) มันคือ ขอบเขตจำกัดที่เราจะสังเกตุ เช่น

-เราจะวัดอุนหภูมิ ในห้อง และวัดได้ 27 องศาเซลเซียส ข้อมูลที่ว่าอุณหภูมิตอนนี้ คือ 27 องศา นั้นเป็นจริงแต่ในห้องนี้เท่านั้น ข้างนอกห้องอีกเรื่องหนึ่ง

- เราอาจจะสังเกตุได้ว่าโลกแบนจริง ถ้าเราอยู่ติดผิวโลก แต่ถ้าเราขยาย เอกภพสัมพัทธ์ (Relative Universe) นี้ออกไปโดยไปยืนสังเกตุที่ดวงจันทร์ ความจริงที่ว่าโลกแบนก็ผิด เพราะเราจะได้ ข้อมูลใหม่ ว่าโลกกลม

- เราวัดมุมของ สามเหลี่ยม รวมกันแล้วได้ 180 สิ่งนี้คนทั่วไปคิดว่ามันเป็นสัจนิรัดร์ แล้ว มันเป็นสิ่งที่จริงแท้แน่นอนในทุกๆที่ แต่ ไอสไตน์ บอกว่าผิดแล้วเว้ย ถ้าเราไปวัดมุมของสามเหลี่ยม นี้ใกล้ๆกับวัตุถุมวล มากๆ อวกาศ แถวๆนั้นจะบิดงอ ทำให้รูปทรงและมุมของสามเหลี่ยมนั้น ผิดเพี้ยน และ สามเหลี่ยมนี้ก็จะไม่ได้มีมุมข้างในรวมได้ 180 อีกต่อไป และจินตนาการข้อนี้ของไอสไตน์ ก็ได้รับการพิสูจน์แล้ว ด้วยการสังเกตการเดินทางเป็นเส้นโค้งของแสงของดวงดาวเมื่อแสงมันเดินทางเฉียดวัตถุมวลมาก

จะเห็นได้ว่ามันไม่มีข้อมูลไหนที่เป็นจริง ในทุกๆ เอกภพสัมพัทธ์ (Relative Universe) ในขณะนี้ (นักวิทยศาสตร์พยายามหานะว่ามันจะมีสูตรที่จริง และอธิบายทุกอย่างในทุกๆที่ทุกเวลาได้ แต่ยังหาไม่เจอ) ดังนั้นจึงมีเหตุผลน้อย ที่เราจะสรุปว่า "ข้อมูล" มันคือ "ข้อเท็จจริง" ในทุกๆที่ทุกๆเวลาได้

ผมเขียนมายาวโดยอ้างไปโน้นไปนี้ ก็เพื่อที่จะท้าวความให้เห็นว่าต้นกำเนิดของข้อมูล เนี้ยมันคืออะไร แล้วตัวข้อมูลนี้มันมีคุณสมบัติเป็นยังไง แล้วมีข้อจำกัดยังไงด้วย

ผมเห็น มานานแล้ว และยิ่งตอนนี้ด้วยแล้วยิ่งเห็นชัด ว่าคนเราเข้าใจผิด มักคิดว่า"ข้อมูล" กับ "ข้อเท็จจริง" คือสิ่งเดียวกัน และจะต้องเป็นข้อเท็จจริงในทุกๆที่ ทุกๆ เอกภพสัมพัทธ์ ด้วย

-----------------------------------------------------------

แนวคิดเกี่ยวกับ "ธรรมชาติของข้อมูล" นี้มันฝังลึกเลยในเพจ Thai Trader ถ้าติดตามมานาน จะเห็นว่า ผมไม่เคยฟันธงอะไรเลย ไม่เคยบอกว่าหุ้นนี้จะขึ้น จะลง บอกเพียงแต่ว่ามี "ข้อมูล" จากกราฟแบบนี้นะ ทิศทางต่อไปมี สมมุติฐานอะไรบ้าง

การที่มีสมสมุติฐานหลายๆทาง นี้แหละ เป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นว่า "ข้อมูล" และ "ข้อเท็จจริง" มันคนละอันกัน OUTPUT ที่มีโอกาสเกิดมันมีหลายอย่าง สิ่งที่เราต้องทำคือหาทางรับมือกับ OUTPUT นั้นๆ

คนส่วนหนึ่งเชื่อว่า "ข้อมูล" คือ 'ข้อเท็จจริง" จึงทำให้เกิดเหตุการณ์ ฟันธง -> หน้าแหก กันเป็นประจำ เช่น เหตุการณ์หลายๆเหตุการณ์ทางการเมืองที่เราเห็นในหน้าเฟซบุ๊คทุกวันนี้

คนที่เหมาเอาว่า "ข้อมูล" คือ 'ข้อเท็จจริง" มักจะมีอาการหลังจากนั้นคือ "เงิบ"

- คนบ้าหวยได้ข้อมูลมาว่า มีการล๊อคเลขเด็ด "00" เลยทุ่มซื้อไม่อั้นเพราะคิดว่า "ข้อมูล" คือ 'ข้อเท็จจริง" สุดท้ายก็ "เงิบ" โดนแดก คือคำยอดฮิต

- นักลงทุนได้ยินคนพูดว่าหุ้นตัวนี้ดี ตัวนั้นกำลังจะพุ่ง เพราะคิดว่า "ข้อมูล" คือ 'ข้อเท็จจริง" สุดท้ายก็ "เงิบ" ติดดอย คือคำยอดฮิต

- คนดังๆในสังคม นักร้อง นักแต่งเพลง คนอยากเป็นสส และคนทั่วไป แชร์ข้อมูลผ่านเฟซบุ๊คโดยไม่ได้ผ่านการคิดวิเคราะห์ก่อน เพราะคิดว่า "ข้อมูล" คือ 'ข้อเท็จจริง" สุดท้ายก็ "เงิบ" ไม่มีวัวปน คือคำยอดฮิต

นี้คือตัวอย่าง ความเงิบ ของการคิดว่า "ข้อมูล" คือ 'ข้อเท็จจริง"

ข้อมูลที่เป็น OUTPUT จากกระบวนการต่างๆ มันมีข้อจำกัด ข้อมูลหนึ่งอาจจะเป็นจริง ในขอบเขตจำกัดตามที่ยกตัวอย่างไปแล้ว แต่ในขอบเขตอื่นมันไม่ถูกยอมรับว่าเป็นจริงได้

ถ้าคนเรายอมรับตรงนี้ เหตุการณ์วุ่นวายในบ้านเมืองมันคงเบาบางขึ้น การยอมรับว่า ในโต๊ะ(เอกภพสัมพัทธ์) ของกลุ่มการเมือง ฝ่าย A กับ ฝ่าย B นั้นข้อมูลเดียวกัน แต่ ข้อเท็จจริงจำเพาะนั้นมันต่างกันได้ ฝ่าย A อาจจะคิดว่าทำแบบนี้ถูก แต่ในขณะเดียวกัน ฝ่าย B อาจจะคิดว่าแบบนั้นผิด เพราะมันคนละที่ คนละแนวคิด

แค่ยอมรับว่าโลกนี้มัน ไม่มีข้อเท็จจริงในทุกๆที่ทุกเหตุการณ์ ทุกเวลา เราก็สามารถ ที่จะหาจุดร่วม สงวนจุดต่างได้ แล้ว เพราะเราเข้าใจความเป็นไปของโลกนี้

ถ้าเรายังคิดกันเองว่า ข้อมูลกูคือข้อเท็จจริง มึงอ่ะไม่ดี
อีกฝ่ายหนึ่งก็คิด เหมือนกันว่า ข้อมูลกูถูก มึงอ่ะแหละไม่ดี

แบบนี้ก็เกิดสงครามครับ และ สงครามไม่มีวันจบด้วย เพราะต้นเหตุมันมาจากสิ่งที่ไม่เป็นธรรมชาติ มาจากเรื่องที่ไม่เป็นเหตุเป็นผล(ธรรมชาติของข้อมูล)
------------------------------------------------------------
วิชา ปรัชญา ไม่ใช่การพูดเรื่องอะไรเพ้อเจ้อที่เข้าใจยาก มันเป็นการหาความหมาย ของสิ่งต่างๆ (ดังที่ผม ยกตัวอย่างการหาความหมายของคำว่า "ข้อมูล")วิทยศาสตร์ มีต้นกำเนิดอย่างแยกไม่ออก จากวิชา ปรัชญา (ตรรกะการหาข้อเท็จจริง)

การศึกษาของสังคมไทยเราไม่ได้สร้างตัวมาจาก ปรัชญาแบบของฝรั่ง(ซึ่งผมก็ไม่เห็นด้วยนะถ้าจะเอาแต่ปรัชญา หาความหมายมาเป็นแกนหลักของสังคม) คนไทยเราเน้นเรื่องการใช้หัวใจ เป็นคนดีในแบบที่ไม่เข้าใจเหตุผล และท่องสิ่งต่างๆในแบบที่ไม่เข้าใจเหตุผล ให้ความเคารพกับธรรมชาติรอบตัวในแบบที่ไม่เข้าใจเหตุผล ทุกอย่างเกือบดี เว้นแต่ว่าเราขาดหายไปจริงๆ เรื่องการหาความหมาย

เราใช้ "หัวใจนำสมอง" ซึ่งมองดูเหมือนจะโรแมนติค ดี แต่อย่าลืมว่า หัวใจไม่ได้ ผลิตแต่ความรักออกมานะครับ ความเกลียดก็มาจากหัวใจเช่นกัน

บ้านเราถ้าอยากเรียนปรัชญา ต้องไปเลือกเรียนเอาตอนมหาลัย คนสอบเข้าเป็นแสน จะเรียนวิชานี้กันสักกี่สิบกี่ร้อยไม่รู้

ในส่วนของการศึกษาขั้นพื้นฐานนั้นแทบไม่มีวิชาปรัชญาเลย อัดแต่อะไรไม่รู้ลงไป คณิตเอย ฟิสิกส์ เคมี เอย ตีความยังไม่เป็น เรียนไปก็ปรับใช้ไม่ได้

โรงเรียนไหนมีสอนภาษาอื่นอีกสามสี่ห้าภาษา นี้ถือว่าเทพ เก็บค่าสอนแพงได้พ่อแม่อยากให้ลูกเรียนภาษาเยอะๆ จะถือว่านั้นเป็นการเพิ่มโอกาส ให้ลูกในอนคต จะเรียนไปทำไมในเมื่อแค่ตีความสิ่งง่ายๆไม่ซับซ้อนยังทำไม่เป็นครับ

สุดท้ายเด็กๆพวกนี้ก็จะจบออกมาเป็น คนที่รู้วิธี แต่ไม่รู้ความหมาย เพราะเราไม่มีพื้นฐานในการตีความ จากวิชา 'ปรัชญา" หรือเปล่า

ถ้าไม่อยากให้ลูกหลานตัวเอง เป็น
"คนพูดภาษาจีน อังกฤษ ญี่ปุ่นได้ แต่ถูกหลอก"
"คนที่จบ ด๊อคเตอร์ เขียน โปรเฟสเซอร์นำหน้าชื่อ แต่ถูกหลอก"

ก่อนไปจ่ายค่าเทอมแพงๆให้กับโรงเรียนที่สอนสามสี่ภาษา ให้ถามเขาด้วย ว่าเขา มีวิชา ปรัชญา แทรกในคอร์สเรียนบ้างไหม อย่างน้อยเด็กจะได้มีวิธีคิดว่าเขาเรียนสิ่งต่างๆไปทำไม

------------------------------------------------------------

ผมพูดในตอนต้นๆว่า เราใช้ "ความรู้-ประสบการณ์" และ "ความรัก-ความเกลียด" เพื่อจาระไน ข้อมูล ที่ได้รับมา ออกมาเป็น "สิ่งที่เราควรทำ"

ถ้าเปรียบกันง่ายๆก็คือ
ความรู้-ประสบการณ์ = สมอง ->ฉลาด
ความรัก-ความเกลียด = หัวใจ ->อ่อนไหวโรแมนติค

ในกระบวนการคิดอย่าให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งหายไป หรือมีมากเกินไป

1 ถ้าคุณใช้แต่สมอง วิเคราะห์ คุณอาจจะกลายเป็นคนไร้ห้วใจ คนทื่อๆ ที่ไม่มีใครอยากอยู่ใกล้

2 ถ้าคุณใช้แต่หัวใจ ในการวิเคราะห์ คุณอาจจะกลายเป็นคนไร้เหตุผล ใครพูดอะไรก็ไม่ยอมรับฟัง เอาแต่ใจตัวเอง รักหรือเกลียดเขาโดยไม่มีเหตุผล

คนทั้ง 2 ประเภทนี้เป็นคนน่ารังเกียจ ไร้เสน่ห์ ไม่มีใครอยากอยู่ใกล้ ถ้าอยากเป็นคน สมาร์ท ที่ใครๆก็อยากอยู่ใกล้ ให้เป็นคนประเภทที่ 3

3 ใช้สมอง + หัวใจ รักใคร คิดอะไร ทำอะไร พูดอะไร ให้มีเหตุผลพูดแล้วน่าเชื่อเพราะมีอะไรรองรับ ในขณะเดียวกัน ให้คิดถึงจิตใจคนอื่น เอาใจเขามาใส่ใจเรา อ่อนโยน ถ้าเป็นแบบนี้คุณจะเป็นคน สมาร์ท เจ้าสเน่ห์ (ซึ่งผมอาจจะเขียนคำนี้ไม่ถูก 55)ใครก็อยากอยู่ใกล้

สุดท้าย ก็ต้องบอกว่าบทความนี้ที่ผมเขียน มันคือข้อมูล ถ้าคุณอ่านมาถึงตรงนี้ ก็ขึ้นอยู่กับตัวคุณจะตีความมันเอาเอง คุณจะได้อะไรเพิ่ม หรือเห็นว่ามันเป็นแค่ขยะ ผมก็ดีใจที่คุณอ่านมาถึงตรงนี้ และเชื่อว่า มันจะไม่เสียเวลาเปล่า ในสังคมที่ ข้อมูลถูกสร้างได้ง่ายมาก และคนจงใจทำข้อมูลเพื่อประโยชน์ส่วนตัว การใช้แต่หัวใจในแบบที่เราเคยชินมาตั้งแต่โบรณ ถือว่าอันตรายมากครับ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น