วันพุธที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2557

หลักการในการใช้ Elliott wave ร่วมกับ Momentum

สำหรับท่านที่ตามบล๊อกตามเพจมานาน พอจะนับเวฟดูแรงเป็น จะจับหลักการได้ประมานนี้
1 นับเวฟ ว่าตอนนี้อยู่ช่วงไหน Elliott wave ไม่ใช่สิ่งมั่ว ถ้าเรารู้ว่ามันคืออะไร เราจะมองภาพออกว่าเราอยู่ตรงปลายยอดดอย หรือเพิ่งเริ่มขึ้นรถ ไม่ใช่แค่เส้นที่ขีดไปมา เวฟมันคือธรรมชาติ ของจิตใจคนเลย
- ไม่แน่ใจจะขึ้น = เวฟ 1
- แน่ใจว่าจะไม่ลงไปต่ำกว่านั้น = เวฟ 2
- พอแน่ใจว่าจะไม่ลงต่ำกว่าเดิมแล้วก็ขึ้นแรง = เวฟ 3
- ขึ้นไปพักใหญ่แล้ว ก็ต้องเข้าสู่ความไม่แน่ใจว่าจะขึ้นอีกไหม = เวฟ 5
elliott wave = วัฏจักร ความกลัวและความมั่นใจ ของคน ธรรมชาติของสถานการณ์ในตลาดมีแค่นี้แหละ "คลุมเครือ->มั่นใจ->คลุมเครือ" วนกันไปเรื่อยๆ ไม่ว่าสายไหน ลงทุนจากอะไร มันหนีไม่พ้นวัฏจักรนี้ เช่น

สงสัยว่ากิจการจะดีมีกำไรเพิ่มในวันข้างหน้าเลยซื้อ พอซื้อแล้วมันดีจริงๆเลยมั่นใจที่จะถือ พอถือไปเรื่อยๆคุณก็ต้องมีจุดเช็คความมั่นใจที่จะถือเรื่อยๆ ผลประกอบการได้ตามที่คิดไหม อนาคตจะดีหรือเปล่า ถ้าผิดคาด ความคลุมเครือก็จะเกิดอีก ความอยากขายทิ้งก็เกิด ตรงนี้ผมเคยเขียนไว้ละเอียดแล้วลองหาอ่านดูในบล๊อกนะครับ มันเป็นเฟรมเวิร์ค ที่มีเงื่อนไขครอบคลุมมาก ในฐานะที่เป็นโปรแกรมเมอร์เก่าต้องบอกว่าผมหลงไหลมันเลย เราเอาไปแปลงไป extends ได้เยอะมาก

2 ดูโมเมนตั้ม หาจุดเข้าจุดออก เลือก indicator ที่ชอบสักตัว เอาไว้หาจุดจับตาการกลับตัวทั้งขาเข้าขาออก ตรงนี้ถ้ายังคิดไม่ออกจะเอาตัวไหนผมแนะนำ macd มันเข้าท่าและหาความหมาย ได้ง่ายมาก ผมเคยเขียนไว้แล้วว่าค่าของมันได้มายังไง และมันหมายถึงอะไร ลองไปหาอ่านในบล๊อกดูครับ

3 สุดท้ายวางเงื่อนไขในการเข้าหรือออก ถ้าสัญญานการกลับตัวเกิด วางเงื่อนไขว่าถ้าเบรกตรงนี้นะ เราจะขายทิ้ง หรือเราจะซื้อเข้า การวางเงื่อนไขนี้วางกับอะไร เคยยกตัวอย่างไว้แล้ว เช่น ema trendline หรืออะไรอย่างอื่นตามแต่จะชอบครับ พอเริ่มเห็นสัญญาน ก็ลากเส้นกำหนดเงื่อนไขเลย

พยายามคิดให้เป้นระบบ ออกแบบวิธีขั้นตอน ของตัวเองมา ตัวอย่างส่วนตัวของผมคือผม เขียนโปรแกรมมานานเลยติดนิสัย การมี flow ของงาน คือ ถ้าไปตรงนี้เจอแบบนี้ จะำทำไง yes ก็ไปขั้นต่อไป ถ้าได้สัญญาน no มาอาจจะ หยุด หรือ วนกลับไปเริ่มต้นกระบวนการใหม่ เป็นต้น ลองดูครับ ทำความเข้าใจและพยายามหาทางของตัวเอง

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น