อยากให้มาร่วมฝึกอ่านแรงอ่านโมเมนตั้มกัน ใครว่างๆสนใจลองดู advanc เล่นๆระยะสั้นเพื่อศึกษาเรียนรู้กันดูแล้วคิดยังไง พิมพ์คอมเม้นต์มาได้(ซึ่งส่วนมากไม่ค่อยกล้าพิมพ์ 555) ไว้เดี๋ยวผมจะมาแนะนำวิธีดูแรงว่าน่ารักน่าลุ้นยังไง อีกทีครับ
มาลองศึกษาวิธีการดูแรงไปด้วยกันจากหุ้นตัวอย่าง advanc ที่บอกไว้เมื่อตอนเย็นนะครับ
สำหรับคนที่จับรอบสั้นนะครับ เราจะเล็งอะไรตรงไหนและตอนไหนลองดูอันนี้เป็นแนว แล้วเอาไปปรับใช้ดูครับ
ตัวเลขกำกับในกราฟไม่ใช่เวฟนะครับ เป็นเลขกำกับขั้นตอน
หมายเลข 1 เมื่อราคารีบาวด์แล้วไม่ทำนิวไฮ อันนี้เราก็ตั้งสมมุติฐานเป็นจุดเริ่มของขาลง(เวฟ 1) ตรงนี้สิ่งแรกที่ทำคือลากฟิโบคร่อมเวฟ 1 เลยเพื่อที่เราจะวัดหาขนาดของเวฟ 3,5 การใช้ฟิโบนี้เป็นการวัดเพื่อหาจุดทดสอบแนวต้านแนวรับ ตรงนี้ไปศึกษาเพิ่มได้ในบล๊อกนะครับ ว่าจุดไหนมีนัยสำคัญยังไง ตามจุดต่างๆของฟิโบ เราจะไปเช็คโมเมนตั้มกันที่จุดนั้นว่ามีสัญญานกลับตัวหรือยังครับ
หมายเลข 2 จะเป็นเทรนด์ไลน์ ในขาลงนี้มันมักจะมีเทรนด์ไลน์อย่างน้อยเส้นหนึ่ง หรือมากกว่า ที่เป็นแนวต้านของเทรนด์ ตัวเส้นเทรนด์ไลน์นี้ผมชอบใช้เป็นเงื่อนไขในการเข้า(หรือออกในขาลง) เมื่อเกิดสัญญานกลับตัว(ไดเวอร์เจนซ์) สังเกตดูนะครับ การลากเทรนด์ไลน์แนวต้านทำยังไง (ท่านอื่นอาจจะถนัดใช้ ema ก็ได้ไม่มีปัญหา)
หมายเลข 3 ตรงนี้จะเป็นส่วนของการเช็คโมเมนตั้มแล้วครับ พูดง่ายๆ ใครถนัดใช้ indicator ตัวไหนก็ใช้ตามสะดวก ผมชอบ macd ก็ใช้ตามตัวอย่าง ตรงนี้เราจะหาจุดที่แสดงสัญญานกลับตัว(ไดเวอร์เจนซ์) ถ้าไม่รู้ว่าหายังไง ดูในบทความเก่าในบล๊อกก็ได้ครับ ราคานิวโลว์ อินดิเคเตอร์ไม่นิวโลว์ด้วย อะไรประมานนั้น
หมายเลข 4 ตรงนี้เรามักใช้ร่วมกันกับทั้ง 3 อันแรก คือ การดูโวลุ่ม ผมจะยกตัวอย่างแบบนี้นะครับ ในจุดที่3 เมื่อเกิดสัญญานกลับตัว (ไดเวอร์เจนซ์) โดยปกติโวลุ่มมักน้อยเพราะคนจะรอดูมากกว่าว่า มันจะหลุดต่ำลงไปอีกไหม ถ้าออกข้างไปเรื่อย จนไปชนกับเทรนด์ไลน์ของ หมายเลข 2 แล้วเบรกขึ้นได้ ตรงนี้ให้ดูโวลุ่มเลย ถ้าเบรกจริงโวลุ่มพุ่งแน่ ตรงนี้ก็ถือว่าเป็นจังหว่ะเข้าที่ดีอีกจังหว่ะหนึ่ง ถ้าเบรกแบบที่ว่าก็แบ่งไม้เข้าตามแผนที่วางไว้
หรือ ถ้าชนเทรนด์ไลน์(หรือไม่ชนก็ได้) แล้วราคาลงต่อ เราก็เลื่อนไปรอดูแนวรับถัดไปของ fibo จากหมายเลข 1 เมื่อรอดูตรงนั้นแล้วเช็คโมเมนตั้ม ที่หมายเลข 3 แล้วยังมีสัญญานกลับตัวอยู่ ตรงนี้มันก็เป็นจังหว่ะที่ดีมากๆๆๆ ที่เราจะแบ่งไม้เข้าเก็บตามแผนที่วางไว้ จำไว้ ราคามันกดกันได้ แต่โมเมนตั้มมันไม่หลอกกัน ราคาลงแต่โมเมนตั้มไม่ลงนี้ชอบมาก ถ้าเจอแบบนี้ผมมักจะตื่นเต้นจนมือสั่น 5555
ตรงนี้ลองไปฝึกใช้ฝึกสังเกตกันดู สำหรับคนที่เล่นรอบเร็ว(1-4 เดือนแล้วแต่หุ้น) ฝึกกับหุ้นตัวอื่นๆด้วย ฝึกมากๆตีกราฟทุกวันแล้วคุณจะได้ทาง
เหมือนกันกับหัดปั่นจักรยานแหละครับ นั่งดูนั่งคิดมันไม่เป็นนะ มันต้องลองปั่น สุดท้ายพอเคยหัวเข่าถลอกแล้วมันจะรู้เองว่าต้องทำยังไงระวังอะไรโดยอัตโมมัติ
พอได้หลักการวางเงื่อนไขเพื่อ เข้า ออก คัทลอส แล้ว ต่อไปวิธีการบริหารหน้าตักจะมาเอง คุณจะรู้ได้ว่าคุณรับความเสี่ยงจากจุดนี้ได้แค่ไหน คุณควรจะแบ่งไม้เข้าออกยังไง มันจะทำให้เกิดระบบ
พอเกิดระบบแล้วขั้นต่อไปก็จะเป็นการปิดข้อเสียของระบบละครับอันนั้นค่อยว่ากันอีกที วันนี้ลองศึกษาแบบนี้กันดูครับผม
แล้วก็หยอดไว้เล็กน้อยสำหรับการวางเงื่อนไขเริ่มต้นขาขึ้น ทำเหมือนขั้นตอนแรกของขาลง ถ้าราคาย่อแต่ไม่ทำนิวโลว์ เราก็ลากฟิโบคล่อมจุดที่คาดว่าจะเป็นเวฟ 1 ของขาขึ้นไว้ ยิ่งถ้าราคาย่อลงมาแล้วไม่หลุด 61.8% มันก็ยิ่งได้ลุ้น ณ จุดนี้ถ้าทำนิวโลว์ก็ดูโมเมนตั้ม ถ้าเบรกเส้นเทรนด์ไลน์สีขาวในกราฟ ก็ดูโวลุ่มประกอบ
ถ้าคุณคล่องตรงนี้และไม่ได้บริหารพอร์ทพันล้านหมื่นล้าน คุณจะอยู่รอดในตลาดได้สบายๆ ตลาดหุ้นไทยเราง่ายกว่าที่คุณคิด
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น